Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/426
Title: | FINANCIAL FEASIBILITY ANALYSIS OF USING SOLAR
ENERGY RICE MILL FOR PADDY RICE PROCESSING
OF FARMERS GROUP IN KHUNKHONG
SUB-DISTRICT, HANGDONG DISTRICT,
CHIANG MAI PROVINCE การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินของโรงสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับการแปรรูปข้าวเปลือกของกลุ่มเกษตรกรตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ |
Authors: | Nongyao Tejamai นงเยาว์ เต๋จ๊ะใหม่ Thatphong Awirothananon ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์ Maejo University. Business Administration |
Keywords: | โรงสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้า ข้าวเปลือก ความคุ้มค่าทางการเงิน solar energy rice milling elertic energy paddy rice financial feasibility |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The objective of this research was analyzed energy consumption and financial feasibility solar rice milling system at Khun Khong sub district, Hang Dong, Chiang Mai. The rice mill was used solar energy with electrical system of Provincial Electricity Authority. The solar plant was of 11 kW. The integrated solar rice paddy mill for the community has three machine; including rice dryer, rice mill and rice packing. The rice paddy mill has 2 conditions; the off-season rice and in-season rice. The analysis of average solar radiation during the off-season rice was of 624.98 W/m2. It can produce electrical maximum was of 72.87 kWh. While the average solar radiation was of 576.20 W/m2 can produce electrical maximum was of 70.31 kWh. The analyzing production capacity of machine in the rice mill during the off-season rice at 62 days of the rice dryer, the rice mill and the rice packing machine has a production capacity were of 121,520 122,512 and 42,160 kg, respectively. It used electricity were of 1,385.82, 3,700.16 and 446.4 kWh, respectively. While in-season rice at 96 days. The rice dryer, the rice mill and the rice packing machine has a production capacity were of 188,160 189,696 and 65,280 kg, respectively. It used electricity were of 2,145.792, 5,729.28, and 691.2 kWh, respectively. An analysis of the financial value of rice paddy mill processing had net income to farmers 1,251,860 baht/year, yielding a net return of 3,908,969 baht, the internal rate of return was 21%. The payback period was of 3.41 years. The using solar power have integrated rice paddy mill processing is worth the investment. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์การใช้พลังงานและความคุ้มค่าทางการเงินการแปรรูปข้าวของระบบสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน ในเขตพื้นที่ ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้พลงงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลักร่วมกับพลังงานไฟฟ้าแของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขนาด 11 kW มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่ เครื่องอบข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุข้าว การทดสอบการแปรรูปข้าวเปลือกของเกษตรกรได้ดำเนินการ 2 เงื่อนไข คือ การแปรรูปข้าวเปลือกในช่วงฤดูปลูกข้าวนาปรัง และการแปรรูปข้าวเปลือกในช่วงฤดูปลูกข้าวนาปี การวัดค่าการใช้พลังงานเริ่มตั้งแต่การวัดความข้มแสงอาทิตย์ ปริมาณไฟฟ้าที่ได้ การใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องอบข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุข้าวผลจากการวิเคราะห์พลังงานที่นำไปสู่การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินได้แก่ ค่าความเข้มรังสีอาทิตย์ช่วงฤดูปลูกข้าวนาปรังจะมีค่าความเข้มรังสีอาทิตย์เฉลี่ย 624.98 วัตต์ต่อตารางเมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 72.87 หน่วย ในขณะที่ช่วงฤดูปลูกข้าวนาปีจะมีค่าความเข้มรังสีเฉลี่ยเพียง 576.20 วัตต์ต่อตารางเมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 70.31 หน่วย เมื่อวิเคราะห์การใช้งานโรงสีข้าวแบบครบวงจรในช่วงฤดูปลูกข้าวนาปรังที่ระยะเวลาการผลิตได้ 62 วัน เครื่องอบข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุข้าวมีกำลังการผลิตตลอดฤดูกาล คือ 121,520 122,512 และ 42,160 กิโลกรัม ตามลำดับ มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องอบข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุข้าว คือ 1,386 3,700 และ 447 หน่วย ตามลำดับ ในขณะที่ช่วงฤดูปลูกข้าวนาปีมีระยะเวลาในการผลิต 96 วัน เครื่องอบข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุข้าวมีกำลังการผลิต คือ 188,160 189,696 และ 65,280 กิโลกรัม ตามลำดับ มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องอบข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุข้าว คือ 2,145 5,729 และ 691หน่วย ตามลำดับ การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางด้านการเงินของการแปรรูปข้าวเปลือกตลอดทั้งปีมีรายได้สุทธิของเกษตรกร 1,251,860 บาทต่อปี ให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 3,908,969 บาท อัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับร้อยละ 21 และระยะเวลาคืนทุน 3.41 ซึ่งการใช้งานโรงสีข้าวพลังงานอาทิตย์แบบครบวงจรสำหรับการแปรรูปข้าวเปลือกมีความคุ้มค่าแก่การลงทุน |
Description: | Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration)) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/426 |
Appears in Collections: | Business Administration |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6106401010.pdf | 6.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.