Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2181
Title: | การควบคุมกษัยการของดินในแปลงปลูกพืชผักบนที่สูง โดยแถบตะไคร้และเศษพืช |
Other Titles: | Soil erosion control in vegetable growing area on step land by Lemon grass strips with stubble |
Authors: | นคร สืบแสน |
Keywords: | สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ วิทยานิพนธ์ การอนุรักษ์ดิน |
Issue Date: | 1993 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | ปัจจุบันนี้มีเกษตรกรชาวไทยภูเขาจำนวนมากที่ปลูกผักเพื่อการค้าเป็นแปลงใหญ่ในพื้นที่ลาดเทสูง โดยไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดิน ทำให้เกิดกษัยการของดินเป็นจำนวนมากในแต่ละปี กษัยการของดินไม่เพียงแต่ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง หากแต่ยังทำให้ เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ทำในเหล่งน้ำชุ่นชัน การตกตะกอนตื้นเชินในทางน้ำ ฯลฯ ด้วย เหตุนี้จึง ได้ทำแปลงทดลองและสาธิตวิธีการควบคุมกษัยการของดินแบบง่าย ๆ ชั้น ประกอบด้วย 1). การใช้เศษพืชกองเป็นแถบกว้าง 1 เมตร สูง 30 เซนติเมตร ขวางความลาดเทในพื้นที่ปลูกผักทุกระยะ 10 เมตรตามแนวความลาดเท 2) แล้วปลูกตะไคร้ 4 แถว ในแถบของเศษพืชนี้การทดลอง-สาธิตนี้ เป็นการทดลองเปรียบเทียบระหว่างการปลูกผักโดยมีมาตรการอนุรักษ์ดินดังกล่าวกับการปลูกผักตามแบบที่เกษตรกรชาวไทยภูเขาปฏิบัติทั่วไปทำการทดลอง 4 ซ้ำ ในพื้นที่ของเกษตรกร 4 ราย ซึ่งมีความลาดเท 15 - 50 % และมีความสูง 850 - 1,200 เมตร เหนีอระดับน้ำทะ เล ที่บ้านแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยงอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยนักวิจัยเป็นผู้จัดทำแปลงทดลอง ปลูกตะไคร้ กองเศษพืชและ เกษตรกรเจ้าของแปลง เป็นผู้ปลูก ดูแลรักษาและ เก็บเกี่ยวผลผลิตพืช ที่ด้านล่างของแปลงทดลองทุกแปลงได้ชุดบ่อขนาดใหญ่ไว้เพื่อตักตะกอนตินที่ถูกกษัยการมาจากแปลงนอกจากนี้ยัง ได้ทดลอง - สาธิต เพื่อเปรียบเทียบความสมบูรณ์ระหว่างตะกอนดินที่ถูกกษัยการจากแปลงไปสะสมในบ่อตักตะกอนกับดินที่เหลืออยู่ในแปลง โดยเก็บตัวอย่างดินทั้ง 2 แห่ง ใส่กระถางแล้วปลูกพืช (กะหล่ำปลีและข้าวโพด) ผลการทดลองพบว่า แถบตะไคร้และ เศษพืชสามารถควบคุมกัษัยการของดินได้ดีทำให้การปลูกผักโดยมีแถบตะไคร้และ เศษพืชสูญเสียดินโดยเฉลี่ยเหลือเพียง 1 ใน 3 คือ การสูญเสียดิน ลดลงจาก 21 ตัน/ไร่/ปี ในการปลูกผักแบบไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดิน เหลือเพียง 6 ตัน/ไร่/ปี เมื่อใช้แถบตะไคร้และ เศษพืชควบคุมกษัยการของดิน แต่ปริมาณสูญเสียดิน ไม่แตกต่างกันทางสถิติ สมบัติทางเคมีและกายภาพของดินในแปลงทดลองทั้ง 2 วิธีการ แตกต่างกันเล็กน้อยโดยไม่มีความสำคัญทางสถิติ เนื่องจากเป็นปีที่แรก ของการดำเนินงานและ เช่นเดียวกัน สมบัติทางเคมีและกายภาพซองดินเ ปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หลังจากใช้พื้นที่ปลูกพืชในการทดลองนี้ คือ ดินมีความหนาแน่นรวมต่ำ ปริมาณอินทรียวัตถุและค่าเพิ่ม PH ชื้น ดินมีปริมาณธาตุอาหารต่อนข้างต่ำ (N,P,K และ M3) และมีปริมาณลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการดำเนินงาน ยกเว้นแคลเชียม นอกจากนั้น พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุค่า PH ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในดินตะกอนมีสูงกว่าในแปลงที่เหลือจากการกษัยการ โดยเฉพาะในการปลูกผักแบบ กษตรกร ผลผลิตของพืชในการปลูกผักแบบเกษตรกรสูงกว่าในการปลูกผักแบบอนุรักษ์ดิน เล็กน้อยทั้งในพืชรุ่นที่ 1 และ 2 เนื่องจากในการปลูกผักแบบมีมาตรการอนุรักษ์ดินเสียพื้นที่ไป 10 x ในการทำแถบควบคุมกษัยการของดิน เกษตรกรได้รับรายได้สุทธิ จากการปลูกผักแบบเ กษตรกรสูงกว่าในการปลูกผักแบบมีมาตรการอนุรักษ์ดินเล็กน้อยเช่นเดียวกัน ความสูงของพืช (กะหล่ำปลีและข้าวโพด) ที่ปลูกบนดินตะกอนในระยะแรกของการเจริญเติบโต (60 วันหลังปลูก) สูงกว่าที่ปลูกบนดินที่เหลือจากการกมัยการ แต่ไม่แตกต่างทางสถิติ เนื่องจากดินตะกอนมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า นอกจากนั้น น้ำหนักแห้งส่วนเหนือดินของข้าวโพตที่ปลูกบนดินตะกอน (81วันหลังปลูก) สูงกว่าที่ปลูกบนตินที่เหลือจากการกษัยการ แต่ไม่แดกต่างกันทางสถิติเช่นเดียวกัน อาจเนื่องจากดินตะกอนมีความอุดมสมบูณ์สูงกว่าดินที่เหลืออยู่ในแปลง ซึ่งจะเห็นได้จากค่า Enrichment ratio มีค่ามากกว่า 1 โดยเฉพาะไนโตรเจน |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2181 |
Appears in Collections: | Business Administration |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nakhorn-seubsang.PDF | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.