Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2121
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เกจมณี หลงมา, Ketmanee rongma | - |
dc.date.accessioned | 2024-04-30T07:05:32Z | - |
dc.date.available | 2024-04-30T07:05:32Z | - |
dc.date.issued | 2001 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2121 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการชำระหนี้คืนสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองลำปาง จำกัด 2) ปัญหาและอุปสรรคในการชำระหนี้สมาชิกสหกรณ์ โดยผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ เป็นสมาชิกสหกรณ์ที่ค้างชำระหนี้เงินกู้ จำนวน106 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ในการศึกษาได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ(statified random sampling) และวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโปรแกรม SPSS/PC* เพื่อวิเคราะห์ค่าสถิติ เชิงพรรณา ซึ่งอธิบายข้อมูลทั่วไปด้านเศรษฐกิจสังคม และด้านอื่น ๆ ได้แก่การแจกแจงความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) และมัชฌิม เลขคณิต หรือค่าเฉลี่ย (arithmetic mean) ส่วนการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการชำระหนี้คืนของสมาชิก ทำวิเคราะห์จากแบบจำลองโดยวิธีสมการถดถอยพหุคูณ (multiple lenear-regression) และประมาณค่าด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (ordinary least squares) เพื่อให้ได้มาซึ่งแบบจำลองเชิงเส้นตรงของความสัมพันธ์ ตัวแปรต่าง ๆผลการวิเคราะห์ พบว่า ลักษณะส่วนบุคคลผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย (ร้อยละ 72.64) อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 50 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 53.77) การศึกษาในระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 48.1 1) มีอาชีพปัจจุบันเป็นเกษตรกร (ร้อยละ 97.17) และภาวะทางเศรษฐกิจพบว่าสมาชิกมีขนาคของฟาร์มเฉถี่ยครัวเรือนละ 8 ไร่ รายได้ทั้งหมดเฉลี่ยครัวเรือนละ 46.180.73 บาท ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 39,175.14 บาทต่อครัวเรือน รายได้สุทธิเฉลี่ย 7,005.59 บาทต่อครัวเรือน และพบว่าสมาชิกมีหนี้สินหลายแห่งนอกเหนือจากสหกรณ์ (ร้อยละ 48) ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการชำระหนี้คืนของสมาชิกสหกรณ์ พบว่ามี 6 ปัจจัยที่สำคัญ คือ รายให้ทั้งหมดในครัวเรือน (X) ค่าใช้จ่ายทั้งหมคในครัวเรือน (X) การมีหนี้สินหลายแห่ง (X) ปริมาณสินเชื่อที่สหกรณ์อนุมัติให้แก่สมาชิก (X) ประเภทของหลักประกันสินเชื่อ(x,) และขนาดของฟาร์ม (X ) เรียงตามลำดับ ซึ่งทำให้สมาชิกสหกรณ์ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ตามกำหนด จึงทำให้มีหนี้ค้างชำระจำนวนมากสมาชิกมีหนี้หลายแห่งหรือกู้เงินจากสหกรณ์หลายสัญญา มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อค่ใช้ง่ายสำหรับปัญหาและอุปสรรด พบว่า การค้างชำระหนี้ของสมาชิกนั้น เป็นผลมาจากขนาดของฟาร์มมีขนาดเล็ก ปริมาณสินเชื่อที่สหกรณ์อนุมัติะมากตามประเภทและมูลค่ของหลักประกัน ปริมาณหนี้ค้างชำระก็จะมีมากขึ้น แนวทางในการแก้ปัญหาคือ สหกรณ์ควรส่งเสริมสมาชิกให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น เช่น การแปรรูปสินศัาเกษตรส่งเสริมการปถูกพืชครบวงจรส่งเสริมให้พัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร โดยประสานกับภาคเอกชนรับซื้อผลผลิตในราคาประกัน ให้ความรู้ทางด้านวิชาการในผลิตแก่สมาชิก ฒนาเทคโนโล่ยี แนะนำการวางแผนใช้จ่ายเงิน ตลอดจนควบคุมต้นทุนการผลิต พร้อมทั้งขอความร่วมมือกับแหล่งเงินกู้อื่นในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ และปริมาณสินเชื่อที่สหกรณ์อนุมัติ โดยพิจารณาว่าสมาชิกมีหนี้สินเดิมกับสหกรณ์แล้วจำนวนเท่าใด ถ้าอนุมัติเงินกู้เพิ่มเดิมแล้วสมาชิกจะมีความสามารถชำระหนี้คืนได้ตามกำหนดหรือไม่ ในส่วนของสมาชิกสหกรณ์ควรแนะนำให้สมาชิกพิจารณาถึงความจำเป็นและเหมาะสมในการใช้ง่ายเงินตามฐานะของตนเอง จึงจะทำให้มีความสามารถในการชำระหนี้คืนสหกรณ์ได้ | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | en_US |
dc.subject | สหกรณ์การเกษตรเมืองลำปาง จำกัด | en_US |
dc.subject | หนี้ | en_US |
dc.subject | ลำปาง | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการชำระหนี้คืนของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองลำปาง จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง | en_US |
dc.title.alternative | Factors affecting loan repayment of members of Lampang agricultural cooperative, LTD., muang district, Lampang province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Business Administration |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ketmanee-rongma.PDF | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.