Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/126
Title: MANAGEMENT OF LITCHI SUPPLY CHAIN: A CASE STUDY OF LITCHI FARMERS IN CHAIPRAKAN DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
การจัดการห่วงโซ่อุปทานของลิ้นจี่ กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
Authors: parinrath kabchan
ปริณรัฐ กาบจันทร์
Jongkolbordin Saenga-saphawiriya
จงกลบดินทร์ แสงอาสภวิริยะ
Maejo University. Business Administration
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to explore litchi supply chain and litchi supply chain competency of the litchi grower group in Chaiprakan district, Chiang Mai province. A set of questionnaires was constructed based on review of related literature and SCOR Model and it was administered with 400 litchi growers 7 product distributors in Chaiprakan district. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics i.e. percentage, frequency, mean, standard deviation. Results of the study revealed that, as a whole, the litchi grower respondents perceived the supply chain process, supply chain performance, and collaborative supply chain at a moderate level. However, the product distributor respondents perceived the supply chain performance, collaborative supply chain, and supply chain process at a high level.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาห่วงโซ่อุปทานของลิ้นจี่ รวมทั้งศึกษาสมรรถนะโซ่อุปทานของการผลิตลิ้นจี่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่พื้นที่อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตอบแบบสอบถาม (Questionnaire) ที่สร้างขึ้นมาจากการเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนําการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสมรรถนะของโซ่อุปทานจาก SCOR Model ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ จำนวน 400 ราย และผู้รวบรวมกระจายสินค้า จำนวน 7 ราย ในเขตอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ โดยข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามผู้วิจัยนำมามาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อจำแนกข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน วัดสมรรถนะโซ่อุปทานของลิ้นจี่ และอธิบายความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเห็นว่า กระบวนการในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Process) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สมรรถนะของโซ่อุปทาน (Supply Chain Performance) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความร่วมมือในโซ่อุปทาน (Collaborative Supply Chain) โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และกลุ่มผู้รวบรวมและกระจายสินค้าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเห็นว่า สมรรถนะของโซ่อุปทาน (Supply Chain Performance) ของผู้รวบรวมและกระจายสินค้าโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง ความร่วมมือในโซ่อุปทาน (Collaborative Supply Chain) ของผู้รวบรวมและกระจายสินค้าโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง กระบวนการในโซ่อุปทาน (Supply Chain Process) ของผู้รวบรวมและกระจายสินค้าโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง    
Description: Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration))
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/126
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5806401044.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.