Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/916
Title: UTILIZATION OF FUELWOOD GUIDELINE FOR SUSTAINABLE FOREST MANAGEMENT IN THE ROYAL INTIATIVE PROJECT HUAI MAE KIENG HIGHLAND AGRICULTURAL DEVELOPMENT STATION,CHIANG DAO DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
การใช้ประโยชน์ไม้ฟืนเพื่อเป็นแนวทางการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนในพื้นที่โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ห้วยแม่เกี๋ยงอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Namruthai Wansa
น้ำฤทัย วันสา
Sutheera Hermhuk
สุธีระ เหิมฮึก
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: ป่าใช้สอย
ไม้ฟืน
โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ
ชาติพันธุ์ลาหู่
usable forest
fuelwood
the Royal Initiative Project
Lahu ethnic
Issue Date: 2022
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to explore fuelwood forest condition, type and an amount of fuelwood utilization as well as a guideline for sustainable forest management in the Royal Initiative Project of Huai Mae Kieng Highland Agriculture development. It comprised two parts: 1) Survey plots with the size of 50 x 50 m. (2 plots) in the fuelwood forest (purposive sampling). All the tree species and stump with diameter at breast height (DBH) larger than 1 cm were tagged; DBH was measured, the position recorded as in coordinates (x, y) and the species were identified. After that, there were data analyses of the fuelwood forest condition in terms of IVI, species diversity index based on Shannon - Wiener, similarity index, tree height, tree volume, and diameter class distribution. 2) structured-interview was conducted with 35 household heads and the fuelwood pile size in each household was measured. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics. After that, data gained from the sample plotting and the interview were discussed in the community forum to investigate a guideline for sustainable forest management. Results of the study revealed that local of the study was a high-level deciduous dipterocarp forest and consisted of Fagaceae family species composition. In the forest, 68 species, 58 genus and 30 families were found with a moderate species diversity index (2.74). There was no statistical difference of tree density but an average DBH, total basal area and the similarity index (51.11 %) were found to have statistically significant difference (P < 0.001, < 0.05 and < 0.05, respectively). Hmax that could be happened was 28.02 m and tree volume in the sample plots was 0.06 cubic meter/tree. When compared with 700 rai of the usable forest of the project area, the tree volume was 29,033.15 cubic meters. Natural regeneration in the sample plot 1 had a negative distribution (L-shape) where as that of the sample plot 2 was in the form of bell-shape. Besides, 157 stumps were found in the area: 62 dead stumps and 95 sprouts (21 species). However, both had no statistical difference in terms of cross-section area. Huai Mae Kieng was Lahu (Red Muser) ethnic group community and fuelwood was used there for 479.56 cubic meters per year. It was utilized for 4 main purpose as follow: 1) household cooking; 2) cooking animal feed; 3) for warmth in the cold season, and 4) for ritual ceremonies. All type (Oak) Fagaceae species, Burma Sal (Shorea obtusa), and general hardwood was mainly used and it was usually obtained from natural forest in locale of the study (465.93 cubic meters per year). According to a guideline for sustainable fuelwood forest management, Huai Mae Kiang agreed to the following: 1) clear determination of agricultural zone, watershed forest conservation area, and usable forest area; 2) clear determination of rules and regulations for resource utilization; 3) imposition of penalties for violators; 4) support on local seedlings needed by the community; 5) extension of knowledge about appropriate plant varieties or tree type; and 6) community participation in the forest care-taking.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานภาพของป่าไม้ฟืน ชนิด ปริมาณของการใช้ประโยชน์ไม้ฟืน และแนวทางการจัดการป่าไม้ฟืนในพื้นที่โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ห้วยแม่เกี๋ยง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยวิธีการประกอบด้วยสองส่วนคือ 1) การวางแปลงสำรวจด้วยการสุ่มเลือกพื้นที่แบบเจาะจงในพื้นที่ป่าไม้ฟืนขนาด 50 เมตร x 50 เมตร จำนวน 2 แปลง ทำการวัดขนาดต้นไม้ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับความสูงเพียงอก 1.30 เมตร ตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป ระบุชนิด วัดขนาดความโต บันทึกตำแหน่งต้นไม้ รวมถึงบันทึกตอไม้ วิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพป่าไม้ฟืนโดยการหาค่าดัชนีความสำคัญ (IVI) ค่าดัชนีความหลากชนิดของ Shannon–Wiener ค่าดัชนีความคล้ายคลึง (SI) ค่าความสูงต้นไม้ในแปลงตัวอย่าง ปริมาตรไม้ในพื้นที่แปลงตัวอย่าง และการกระจายของต้นไม้ตามชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และ 2) ทำการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนในครัวเรือนที่สามารถให้ข้อมูลได้ จำนวน 35 หลังคาเรือน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวัดขนาดกองไม้ฟืนในแต่ละหลังคาเรือน วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบสถิติเชิงพรรณนา จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการวางแปลงตัวอย่างและการสัมภาษณ์มาเข้าสู่การจัดเวทีชุมชนเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการป่าไม้ฟืนในพื้นที่โครงการฯ ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่แปลงปลูกป่าไม้ใช้สอยของโครงการฯ เป็นชนิดป่าเต็งรังระดับสูงที่มีไม้วงศ์ก่อเป็นชนิดไม้องค์ประกอบ พบชนิดไม้ทั้งหมด 68 ชนิด 58 สกุล ใน 30 วงศ์ มีค่าความหลากชนิดปานกลางเท่ากับ 2.74 ความหนาแน่นของจำนวนต้นไม้เฉลี่ยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนขนาดชั้นเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย พื้นที่หน้าตัดรวม และความคล้ายคลึงของชนิดไม้ (ร้อยละ 51.11) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ P<0.001, P<0.05 และ P<0.05 ตามลำดับ มีค่า ค่าความสูงมากที่สุด (Hmax) ที่เกิดขึ้นได้ มีค่าเท่ากับ 28.02 เมตร ปริมาตรไม้ยืนต้นในแปลงตัวอย่างมีปริมาตรเฉลี่ย 0.06 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น และเมื่อเทียบกับพื้นที่แปลงปลูกป่าไม้ใช้สอยทั้งหมดจำนวน 700 ไร่ ของพื้นที่โครงการฯ มีปริมาตรไม้เท่ากับ 29,033.15 ลูกบาศก์เมตร ในส่วนของการสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติในแปลงตัวอย่างที่ 1 มีการกระจายในลักษณะชี้กำลังเชิงลบ (L-shape) และแปลงตัวอย่างที่ 2 มีการกระจายในลักษณะระฆังคว่ำ (Bell-shape) พบตอไม้ในพื้นที่ทั้งหมด 157 ตอ เป็นตอที่ตายแล้วจำนวน 62 ตอ และตอที่แตกกอได้จำนวน 95 ตอ (ทำการระบุชนิดได้ 21 ชนิด) โดยตอไม้ทั้งหมด ตอที่ตายแล้ว ตอที่แตกกอได้ และพื้นที่หน้าตัดเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ในด้านชุมชนบ้านห้วยแม่เกี๋ยงซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ (มูเซอแดง) มีปริมาณการใช้ไม้ฟืนรวม 479.56 ลูกบาศก์เมตรต่อปี มีลักษณะการใช้ประโยชน์ไม้ฟืน 4 ลักษณะ คือ 1) ใช้เพื่อการหุงต้มในครัวเรือน 2) ใช้เพื่อเป็นไม้ฟืนในการหุงต้มอาหารสัตว์ 3) ใช้เพื่อให้ความอบอุ่นในช่วงฤดูหนาว และ 4) ใช้เพื่อประกอบจารีต ประเพณี และพิธีกรรม ชนิดไม้ฟืนที่ใช้ได้แก่ ไม้ก่อชนิดต่าง ๆ ไม้เต็ง และไม้เนื้อแข็งทั่วไป แหล่งที่มาของไม้ฟืนได้มาจากป่าธรรมชาติในขอบเขตแปลงปลูกป่าไม้ใช้สอยในพื้นที่โครงการฯ พื้นที่การเกษตร และไม่สามารถระบุที่มาของไม้ฟืนได้ คิดเป็นปริมาตรไม้รวม 465.93 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ชุมชนห้วยแม่เกี๋ยงมีความเห็นต่อแนวทางการจัดการป่าไม้ฟืนว่า ควรกำหนดพื้นที่ขอบเขตป่าอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ป่าไม้ใช้สอย และพื้นที่ทำการเกษตรให้ชัดเจน สร้างกฎ ระเบียบ กติกา สำหรับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรให้ชัดเจน และกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนและกระทำผิด โครงการฯ ให้การสนับสนุนกล้าไม้ท้องถิ่นที่ชุมชนต้องการนำมาเป็นไม้ฟืน พร้อมแนะนำให้ความรู้ในการคัดเลือกชนิดไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และชุมชนบ้านห้วยแม่เกี๋ยงให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า
Description: Master of Science (Geosocial Based Sustainable Development)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/916
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6201417014.pdf7.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.