Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/914
Title: | STUDY ON FRUIT SET AND FRUIT DROP OF TEA-OIL CAMELLIA (Camellia oleifera Abel.) การศึกษาการติดผลและการร่วงของผลชาน้ำมันดอกขาว (Camellia oleifera Abel.) |
Authors: | Amonpong Aroonrung อมรพงศ์ อรุณรุ่ง Sanh La-ongsri สัณห์ ละอองศรี Maejo University. Agricultural Production |
Keywords: | ชาน้ำมัน การติดผล การร่วงของผล การผสมเกสร แคลเซียม Tea-oil camellia Fruit set Fruit drop Pollination Calcium |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | Tea-oil camellia has been known in People's Republic of China more than 1,000 years ago for its healthy of fat composition. Planting tea-oil camellia (Camellia oleifera) in Thailand, the Chaipattana Foundation tea-oil camellia growing aim with the objective of solving forest and soil problems in the foothills, and solve problem of correcting poverty of the people and privatization. This research was studied and solved the problems of setting and dropping of tea-oil camellia at Ban Pangmahan, Mae Fah Luang District, Chiang Rai Province. The results showed that in December the most loss of flower buds drop was 5.31% and the most loss of flower drop was 47.17%. For fruit drop before harvest was 29.56%, divided into 2 periods: early blooms of fruit dropped mostly in January 11.31% and fruit growing period was dropped mostly in August 2.88%. These could be harvested 6.08% of all flower buds. The early and mid blooms phase showed good fruit set, but there was a lot of flower drop and late blooms phase showed a drop in the initial fruit set stage. When analyzing micronutrients in the soil, calcium and zinc content were found below the middle standard. The solution was then studied to solve the problem of fruit drop tea-oil camellia by spraying calciplus (CaO 31% B 0.1% Zn 1.4%) at concentrations 0 (control) 0.5, 1, and 1.5 ml. / l. Spray at 1 - 3 times to increase micronutrients. After spraying calciplus treatments, the result found that the relative growth rate of tea-oil camellia in height, shrub size and stem size were not statistically differences, as the same dropping of flower buds and fruit drop as before. It may be improper spraying time and concentration. However, the concentration of 0.5 ml. / l. had differed statistically in weight and oil seed yield from the spraying of the control treatment. Moreover, the study on effects of tea-oil camellia, four treatments by hand pollination consisted of open pollination, self-pollination, cross-pollination (pollen 1) and cross pollination (pollen 2). The cross-pollination (pollen 1 and 2) treatments were statistically differences from the self-pollination. When comparative analysis of the lower temperature enhanced the fruit set. Therefore, using insects to increase pollination and study various factors to reduce the drop and increase the fruit set of the tea-oil camellia further. ชาน้ำมันเป็นที่รู้จักในประเทศจีนนานกว่า 1,000 ปีมาแล้ว เนื่องจากมีองค์ประกอบของไขมันที่ดีต่อร่างกาย การปลูกชาน้ำมันดอกขาว (Camellia oleifera) ในประเทศไทยนั้น มูลนิธิชัยพัฒนาได้ทำการปลูกชาน้ำมันมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาป่าและดินบริเวณเชิงเขา และแก้ไขความยากจนของราษฎร พร้อมทั้งแปรรูป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการติดผล การร่วงของผล และการถ่ายละอองเกสรของชาน้ำมันดอกขาว ณ บ้านปางมะหัน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย พบว่าในเดือนธันวาคม ตาดอกร่วงมากที่สุด 5.31% และดอกบานร่วงมากที่สุด 47.17% ในส่วนของผลร่วงก่อนการเก็บเกี่ยว 29.56% แบ่งได้เป็น 2 ระยะ โดยระยะผลอ่อนร่วงมากในเดือนมกราคม 11.31% และระยะเจริญเติบโตของผลร่วงมากในเดือนสิงหาคม 2.88% สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 6.08% ของตาดอกทั้งหมด โดยดอกบานระยะแรกและระยะกลางจะมีการติดผลดีแต่มีการร่วงของดอกมากเช่นกัน ส่วนดอกที่บานในช่วงท้ายพบการร่วงในระยะติดผลเริ่มแรก อาจเกิดจากการปฏิสนธิไม่สมบูรณ์และธาตุอาหารไม่เพียงพอ เมื่อทำการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินแปลงปลูกชาน้ำมัน บ้านปางมะหัน พบว่า แคลเซียมและสังกะสีมีปริมาณต่ำกว่ามาตรฐานกลาง จากนั้นจึงทำการศึกษาการแก้ปัญหาการร่วงของผลชาน้ำมันดอกขาวด้วยการพ่นสารละลายแคลซีพลัส (CaO 31% + B 0.1% + Zn 1.4%) ด้วยระดับความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุม) 0.5 1 และ 1.5 มล./ล. พ่นด้วยความถี่ 1 - 3 ครั้ง เพื่อเพิ่มธาตุอาหารรองทางใบ หลังจากการพ่นแคลซิพลัส พบว่า อัตราการเจริญเติบโตของต้นชาน้ำมันทางด้านความสูง ขนาดทรงพุ่ม และขนาดลำต้น ไม่แตกต่างกันทางสถิติ การร่วงของดอกบานและการร่วงของผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ อาจมีสาเหตุจากการพ่นในช่วงเวลาและความเข้มข้นไม่เหมาะสม น้ำหนักส่วนประกอบของผลนั้น พบว่าความเข้มข้นของสารละลายที่ความเข้มข้น 0.5 มล./ล. มีผลต่อน้ำหนักของผลผลิตเมล็ดแห้ง และปริมาณน้ำมันในเมล็ดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับการพ่นสารละลายด้วยน้ำเปล่า ในการศึกษาการติดผลของชาน้ำมันได้ดำเนินการผสมเกสรดอก 4 กรรมวิธี ได้แก่ ผสมเปิดตามธรรมชาติ ผสมตัวเอง ผสมเกสรข้ามต้น (เกสรเพศผู้ 1) และผสมเกสรข้ามต้น (เกสรเพศผู้ 2) โดยกรรมวิธีผสมเกสรข้ามต้น (เกสรเพศผู้ 1 และ 2) มีแตกต่างกันอย่างมีนัยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับกรรมวิธีผสมตัวเอง และเมื่อนำข้อมูลวิเคราะห์เปรียบเทียบเมื่ออุณหภูมิที่ลดต่ำลงมีผลให้การติดผลเพิ่มขึ้น ดังนั้น แนวทางในการพัฒนาการติดผล ควรศึกษาหาวิธีการผสมเกสรข้ามต้น หรือใช้แมลงเพื่อการผสมเกสรมากขึ้น และศึกษาปัจจัยด้านต่างๆเพื่อลดการร่วงและเพิ่มการติดผลของชาน้ำมันต่อไป |
Description: | Master of Science (Master of Science (Horticulture)) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชสวน)) |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/914 |
Appears in Collections: | Agricultural Production |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5901302016.pdf | 4.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.