Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/889
Title: | THE STUDY OF XAYTHANY’S COMMUNITY DEPENDENCY ON ECOSYSTEM SERVICES IN TERMS OF PROVISIONING SERVICES OF THE FOREST ECOSYSTEM: THE CASE OF HUAY YANG BOTANICAL GARDEN - DONG MAKKAI BOTANICAL GARDEN, XAYTHANY DISTRICT VIENTIANE CAPITAL. การศึกษาการพึ่งพาของชุมชนเมืองไซทานีจากการให้บริการระบบนิเวศด้านการเป็นแหล่งผลิตของนิเวศป่าไม้ กรณี สวนพฤกษศาสตร์ห้วยยาง-ดงหมากคาย เมืองไซทานี นครหลวงเวียงจันทน์ |
Authors: | Khithsavarth Bouthdy Khithsavarth Bouthdy Nikorn Mahawan นิกร มหาวัน Maejo University. Architecture and Environmental Design |
Keywords: | ป่าไม้, บริการระบบนิเวศ, การพัฒนา Forestry Ecosystem services Development |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | Forests are natural resources that play an important role in providing ecosystem services. But the current development the role of forests in ecosystem services is not given. especially towards the surrounding communities. Therefore, in this study, the role of ecological services as a production source of Huai Yang-Dong Mak Khai Botanical Garden, Xaythany District, Vientiane Capital the objectives are 1) to study the scope of ecosystem services, 2) to study the service patterns of ecosystems, and 3) to assess the value arising from ecosystem services. as a source of production (Provisioning Service) using descriptive statistics and geographic information systems. It is a data analysis tool. in providing ecosystem services as a source of production of forest ecosystems Huai Yang-Dong Mak Khai Botanical Garden, Xaythany District, Vientiane Capital from the data of a sample of 400 households surrounding the forest area. The forest ecosystem can be divided into 3 zones: Zone 1 The distance from the forest is 0-1 km, while Zone 2 is the distance from the forest 1-10 km and the Zone 3 distance from the forest is more than 10 km. There is an average use of forest ecosystem services per person. then those who are far away while the forest ecosystem service model, it was found that households used the forest products in 43 categories, divided into 4 main groups, namely, utilization, food, herbs, and insects as food. 61.75% of households go to collect forest products in forest areas. and only 38.25 percent did not use it. Based on the data on the dependence of community forest products on the economic value generated by ecosystem services has a total resource value of 1,263, 853 baht per year. However, in this study, this study was only one aspect of being the source of production. (Provisioning Services) in the four areas of forest ecosystem services. And if the rest of the data is studied in the other 3 areas (Regulating Service, Supporting Service, Cultural Service), it will reveal the value of forest ecosystem services in a complete economy. and to show the importance of forests economically with more clarity ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีบทบาทสำคัญในการให้บริการนิเวศ แต่การพัฒนาในปัจจุบัน ไม่ได้ให้ความสำคัญในบทบาทของป่าไม้ต่อการให้บริการระบบนิเวศ โดยเฉพาะที่มีต่อชุมชนโดยรอบ ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาบทบาทการให้บริการนิเวศด้านการเป็นแหล่งผลิตของสวนพฤกษศาสตร์ห้วยยาง-ดงหมากคาย เมืองไซทานี นครหลวงเวียงจันทน์ โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาขอบเขตการให้บริการของระบบนิเวศ 2) ศึกษารูปแบบการให้บริการของระบบนิเวศ และ 3) ประเมินมูลค่าเกิดขึ้นจากการให้บริการระบบนิเวศ ด้านการเป็นแหล่งผลิต (Provisioning Service) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ในการให้บริการระบบนิเวศด้านการเป็นแหล่งผลิตของนิเวศป่าไม้ สวนพฤกษศาสตร์ห้วยยาง-ดงหมากคาย เมืองไซทานี นครหลวงเวียงจันทน์ จากข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง 400 ครัวเรือน โดยรอบพื้นที่ป่า สามารถแบ่งเขตการให้บริการนิเวศของป่าไม้ดังกล่าวออกได้เป็น 3 โซน คือ โซนที่ 1 ระยะทางจากป่า 0-1 กิโลเมตร ในขณะที่ โซนที่ 2 ระยะทางจากป่า 1-10 กิโลเมตร และโซนที่ 3 ระยะทางจากป่า มากกว่า 10 กิโลเมตร สรุปได้ว่าคนที่อยู่ใกล้ มีค่าเฉลี่ยการใช้บริการนิเวศจากป่าต่อคน มากกว่าคนที่อยู่ห่างไกลออกไป ในขณะที่รูปแบบการให้บริการนิเวศป่าไม้ พบว่าครัวเรือนมีการนำผลผลิตจากป่าไม้มาใช้ประโยชน์ทั้งหมด 43 ประเภท แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ด้านไม้ใช้สอย ด้านอาหาร ด้านสมุนไพร และด้านสัตว์แมลงที่เป็นอาหาร โดยมีครัวเรือนร้อยละ 61.75 ที่เข้าไปเก็บหาของป่าในพื้นที่ป่าไม้ และมีเพียงร้อยละ 38.25 ที่ไม่เข้าไปใช้ประโยชน์ จากข้อมูลการพึ่งพิงผลผลิตจากป่าของชุมชนหากคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการให้บริการระบบนิเวศ มีมูลค่าทรัพยากรทั้งหมด 1,263,853 บาทต่อปี อย่างไรก็ตาม ในการศึกษานี้เป็นการศึกษาเพียงด้านการเป็นแหล่งผลิตที่เป็นเพียงหนึ่งด้าน (Provisioning Services) ในสี่ด้านของการให้บริการนิเวศของป่า และหากมีการศึกษาข้อมูลที่เหลือในอีก 3 ด้าน (Regulating Service, Supporting Service, Cultural Service) จะทำให้ทราบมูลค่าที่เกิดจากการให้บริการนิเวศป่าไม้ในเชิงเศรษฐกิจที่ครบถ้วน และทำให้เห็นถึงความสำคัญของป่าไม้ในเชิงเศรษฐกิจที่มีความชัดเจนครบถ้วนมากยิ่งขึ้น |
Description: | Master of Urban and Regional Planning (Master of Urban and Regional Planning (Environmental and Urban Planning)) การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต (การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต (การวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม)) |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/889 |
Appears in Collections: | Architecture and Environmental Design |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6219302008.pdf | 4.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.