Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/872
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กมลวรรณ ศุภวิญญ, kamonwan suphawinyoo | - |
dc.contributor.author | ยุทธนา สว่างอารมย์ | - |
dc.contributor.author | ณิชาพล แก้วชฎา | - |
dc.date.accessioned | 2022-01-21T08:29:59Z | - |
dc.date.available | 2022-01-21T08:29:59Z | - |
dc.date.issued | 2015 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/872 | - |
dc.description.abstract | จากผลการศึกษาการเสริมโพแทสเซียม แมกนีเซียม ในระบบการอนุบาลกุ้งก้ามกรามที่ลด การปล่อยของเสียด้วยน้ําหมุนเวียน โดยได้มีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ซึ่งประกอบด้วย 3 ชุดการทดลองๆ ละ 3 ซ้ํา คือ ชุดการทดลองที่1 จะเป็นการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามในระบบเปิด เปลี่ยนถ่ายน้ํา 50% ทุกๆ 2 วัน (ชุดควบคุม) ส่วนชุดการทดลองที่2 และชุดการทดลองที่3 จะเป็น การอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามในระบบปิดน้ําหมุนเวียนเหมือนกัน โดยวัสดุกรอง ประกอบด้วย ตาข่าย พรางแสง bioball และใส่สาหร่ายผมนางน้ําหนัก 0.5 กิโลกรัม ต่อ 1 ระบบกรอง ส่วนในชุดการ ทดลองที่3 นี้จะมีการเสริม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม ภายในระบบ ด้วยการเติมเกลือ Kmag 1 กิโลกรัม ต่อ น้ํา 1,000 ลิตร โดยลูกกุ้งก้ามกรามที่ทดลองจะมีอายุ 10 วัน อนุบาลที่ความหนาแน่น 40 ตัว / ลิตร ภายในถัง 500 ลิตร จนกุ้งก้ามกรามมีอายุได้ 30 วัน ซึ่งพบว่า ความยาวของกุ้ง ก้ามกรามทั้ง 3 ชุดการทดลองมีค่าใกล้เคียงกัน (p>0.05) แต่ลูกกุ้งก้ามกรามที่อนุบาลในระบบเปิด จะมีความยาวของกุ้งก้ามกรามมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 0.660.06 เซนติเมตร ส่วนค่าเฉลี่ยอัตราการ รอดตายของกุ้งก้ามกรามจากชุดการทดลองที่ 2 ที่มีการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามในระบบปิดน้ํา หมุนเวียน ที่ให้ผลแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) กับชุดการทดลองอื่นๆ ซึ่งมีค่าน้อย สุดซึ่งมีค่าเพียง 30-2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปริมาณ โพแทสเซียม แคลเซียม และ แมกนีเซียมในน้ํา ของ ทั้ง 3ขงชุดการทดลองมีค่าใกล้เคียงกัน (p>0.05) โดยพบว่า ในชุดการทดลองที่1 การอนุบาลลูกกุ้ง ก้ามกรามในระบบเปิด นั้นจะมีปริมาณโพแทสเซียมสูงสุด เท่ากับ 332136.2 มิลลิกรัม/ลิตร ส่วน ชุดการทดลองที่ 2 การอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามในระบบปิดน้ําหมุนเวียน จะมีค่าปริมาณแคลเซียม สูงสุด เท่ากับ 604k143.9 มิลลิกรัม/ลิตร และ ชุดการทดลองที่ 3 การอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามใน ระบบปิคน้ําหมุนเวียน โดยมีการเสริม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม ภายในระบบ จะมีค่าปริมาณ แมกนีเซียมในน้ําสูงสุด เท่ากับ 590:55.4 มิลลิกรัม/ลิตร ส่วน คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของ น้ํา พบว่า ปริมาณออกซิเจนละลายน้ํา ความเป็นกรดเป็นด่าง อุณหภูมิน้ํา ปริมาณความเป็นด่างของ น้ํา และปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ของทั้ง 3 ชุดการทดลอง มีค่าใกล้เคียงกัน (p>0.05) และอยู่ ในเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา | en_US |
dc.description.sponsorship | Maejo University | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.subject | กุ้งก้ามกราม -- การเลี้ยง | en_US |
dc.subject | กุ้งก้ามกราม -- ผลกระทบจากน้ำ | en_US |
dc.subject | แมกนีเซียม | en_US |
dc.title | การเสริมโพแทสเซียม แมกนีเซียม ในระบบการอนุบาลกุ้งก้ามกรามที่ลดการปล่อยของเสียด้วยน้ำหมุนเวียน | en_US |
dc.title.alternative | Addition of Potassium Magnesium in Giant Freshwater Prawn Macrobrachium rosenbergii de Man Nursing in water recirculating system to reduce | en_US |
Appears in Collections: | Maejo University - Chumphon Campus |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kamonwan_suphawinyoo.pdf | 14.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.