Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/863
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พุฒิสรรค์ เครือคำ, phutthisun kruekum | - |
dc.date.accessioned | 2022-01-21T07:51:32Z | - |
dc.date.available | 2022-01-21T07:51:32Z | - |
dc.date.issued | 2015 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/863 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม ของเกษตรกร 2) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการส่งเสริมปลูกพืชผักและไม้ผลภายใต้ระบบการ เพาะปลูกที่ดี 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการส่งเสริมปลูกพืชผัก และไม้ผลภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดี 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการมี ส่วนร่วมในการส่งเสริมปลูกพืชผักและไม้ผลภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดี และ5) ศึกษา กระบวนการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรเพื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการส่งเสริมปลูกพืชผัก และไม้ผลภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม จังหวัด ลําพูน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาท ห้วยต้ม 100 คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 20 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การประชุม การสนทนากลุ่ม จัดเวทีชาวบ้าน และการสร้างความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วน สถิติที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพข้อมูลที่รวบรวมได้นํามาแยกแยะ จัดหมวดหมู่และนําเสนอโดยการบรรยายผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 45 ปี จบระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีรายได้ในครัวเรือน 5,001-10,000 บาทต่อเดือน มีพื้นที่ถือครอง เฉลี่ย 17.31 ไร่ ได้รับข่าวสารจากสื่อต่างๆ เฉลี่ย 14 ครั้งต่อเดือน ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเฉลี่ย 2.63 ครั้งต่อเดือน เข้าร่วมประเพณีของหมู่บ้านเฉลี่ย 2.48 ครั้งต่อปี เข้าร่วมกิจกรรมการเกษตรเฉลี่ย 1.3 ครั้งต่อเดือน เข้าร่วมฝึกอบรมและดูงาน 1-2 ครั้งต่อปี การตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เฉลี่ย 41.79 ปี ส่วน ใหญ่ได้รับประโยชน์จากการปลูกพืชผักและไม้ผลในระดับมาก มีความรู้ความเข้าใจในการปลูกพืช ภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดี และโดยรวมเกษตรกรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมปลูกพืชผักและไม้ ผลภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าตัวแปร อิสระ คือ จํานวนสมาชิกในครัวเรือน พื้นที่ถือครอง การเข้าร่วมกิจกรรมการเกษตร การตั้งถิ่น ฐานในพื้นที่และการได้รับประโยชน์ มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามคือ การมีส่วนร่วมของ เกษตรกรในการส่งเสริมปลูกพืชผักและไม้ผลภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม พบว่า เกษตรกร ไม่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมเนื่องจากมีเวลาน้อย โครงการบางอย่างจัดขึ้นช่วงเวลาไม่ เหมาะสม ขาดการประชาสัมพันธ์และชี้แจงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และเกษตรกรเสนอแนะว่า ควรจัดโครงการในช่วงเวลาที่เหมาะสม มีการประชาสัมพันธ์และชี้แจงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และควรให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ มากขึ้น สําหรับกระบวนการพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มี 6 ขั้นตอน คือ 1) การจัด ประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งที่ 1 เพื่อพบปะและปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างเกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่งเสริม และทีมวิจัย 2) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งที่ 2 เพื่อวิเคราะห์ ปัญหาอุปสรรคและวางแผนการผลิตพืชผักและไม้ผล 3) การประชุมกลุ่มเพื่อตัดสินใจร่วมกัน ระหว่างหัวหน้าศูนย์ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมและกลุ่มเกษตรกรในการนําแผนไปปฏิบัติ 4) การปฏิบัติ ตามแผนการผลิตพืชแต่ละชนิดโดยความร่วมมือระหว่างเกษตรกร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมและผู้เกี่ยวข้อง 5) การจัดฝึกอบรมและนําเกษตรกรไปศึกษาดูงานในแปลงปลูกผักและไม้ผลที่มีการปฏิบัติดูแล รักษาดีทั้งในและนอกพื้นที่ 6) การติดตามและประเมินผลโครงการส่งเสริมการปลูกพืชผักและไม้ ผลภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดี | en_US |
dc.description.sponsorship | Maejo University | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.subject | เกษตรกร -- ไทย -- ลำพูน | en_US |
dc.subject | พืชเพาะปลูก | en_US |
dc.subject | การส่งเสริมการเกษตร | en_US |
dc.title | การพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการส่งเสริมปลูกพืชผักและไม้ผลภายใต้ระบบการเพาะปลูกที่ดีในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน | en_US |
dc.title.alternative | Developing of farmer group participation in vegetable and fruit production extension under good agricultural practice in Prabhahthuaytomroyal project development center, Lamphun Province | en_US |
dc.type | Book | en_US |
Appears in Collections: | AP-Bachelor’s Project |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
phutthisun_kruekum.pdf | 39.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.