Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/832
Title: | THE GUIDELINES FOR AGRICULTURAL GROUP,
MANAGEMENT LEADING TO COMMUNITY
ENTERPRISE OF BIOCHAR PRODUCT IN
SARAPHI DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE แนวทางการจัดการกลุ่มเกษตรกรเพื่อนำไปสู่วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพ ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ |
Authors: | Ploymorakot ketkarn พลอยมรกต เกษกาญจน์ Thatphong Awirothananon ทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์ Maejo University. Business Administration |
Keywords: | การจัดการ วิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพ Management Community Enterprise Biochar Product |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The objectives of this research were to: 1) study the management patterns for community enterprise of biochar product in Saraphi district, Chiang Mai province in Agricultural Group. 2) study the factors effecting the successful of community enterprise of biochar product in Saraphi district, Chiang Mai province in Agricultural Group. And 3) study the cost and returns on biochar production of community enterprise in Saraphi district, Chiang Mai province in Agricultural Group. All data was collected by using questionnaires as an in-depth interview guideline for ten members of the community enterprise including its leader. The details of the interview were about the cost of product and revenue for analyzing the return on the product of processing biochar, using the net present value method, benefit cost ratio method, internal rate of return method, payback period method, and sensitivity analysis.
The results founded that 1) the administration and management is conducted via POLC Model which is explained below. Planning includes administrative planning, budgeting and production, procedures as well as usage of resources concerning organic fertilizer. The organization structure is assigned obviously. The leader of the group must have wide vision enthusiastic and reliable. The Group therefore became successful and independent. 2) The researcher found that factors affecting management success were: The aspects of perseverance to lifelong learning, communication and problem solving at high level. 3) A study into the cost on the operation found that the initial investment in land, building construction, manufacturing machinery and equipment on the product of processing biochar was 1,004,380.00 bath and the total revenue was 202,200.00 baht per year, average cost was 16.82 bath per Kg. A study into the returns on the operation shows the net return for the first year was 104,301.47 baht. With the net present value of the net cash inflow based on discounted rate of 7 percent being was 58,176.61 baht. The benefit cost ratio was 1.00 The internal rate of return was 24.03 percent. The payback period was 7 years, 7 months 3 days showing that this project could be accepted. The analysis of project sensitivity demonstrated as follows. This study further sets an analysis of the average inflation rate of 1.43 percent. The results of the project analysis showed that the payback period was 7 years 6 months and 2 days, the net present value was 58,186.65 baht. The benefit cost ratio was 1.00 The internal rate of return was 27.01 percent. Therefore accept the project. การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาวิธีการจัดการกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำไปสู่วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำไปสู่วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และ 3. เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินของผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพของกลุ่มเกษตรกร เพื่อนำไปสู่วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์เชิงลึกประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรวม 10 คน เกี่ยวกับต้นทุนการผลิต รายได้ และการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์ถ่านชีวภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์จากมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากโครงการ (IRR) ระยะเวลาคืนทุน (PB) และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารจัดการกลุ่มใช้รูปแบบ POLC สามารถอธิบายได้ดังนี้ มีการวางแผนการบริหาร งบประมาณ และขั้นตอนการดำเนินโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ มีการกำหนดโครงสร้างองค์กรอย่างชัดเจน หัวหน้ากลุ่มต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล กระตือรือร้น และเชื่อถือได้ กลุ่มจึงประสบความสำเร็จและสามารถพึ่งพาตนเองได้ 2) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มพบว่า ความมุ่งมั่น การเรียนรู้ตลอดชีวิต มนุษยสัมพันธ์ และทักษะการสื่อสาร และทักษะการแก้ปัญหา การตัดสินใจส่งผลต่อความสำเร็จต่อกลุ่มมากที่สุด 3) จากการศึกษาต้นทุนจากการดำเนินงานพบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกในที่ดิน อาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตจำนวน 1,004,380.00 บาท รายได้รวม 202,200.00 บาทต่อปี ต้นทุนเฉลี่ย 16.82 บาทต่อกิโลกรัม จากการศึกษาด้านผลตอบแทนจากการดำเนินงานพบว่า ผลตอบแทนสุทธิสำหรับปีแรกเท่ากับ 104,301.47 บาท โดยมูลค่าปัจจุบันสุทธิของกระแสเงินสดรับสุทธิคิดลดร้อยละ 7 เท่ากับ 58,176.61 บาท อัตราส่วนต้นทุนเท่ากับ 1.00 อัตราผลตอบแทนภายในคือ 24.03 เปอร์เซ็นต์ โดยมีระยะเวลาคืนทุน 7 ปี 7 เดือน 3 วัน แสดงว่าโครงการนี้สามารถรับได้ จากการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการแสดงให้เห็นดังนี้ การศึกษานี้กำหนดการวิเคราะห์อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่ร้อยละ 1.43 เพิ่มเติม ผลการวิเคราะห์โครงการพบว่า ระยะเวลาคืนทุน 7 ปี 6 เดือน 2 วัน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 58,186.65 บาท อัตราส่วนต้นทุนผลประโยชน์เท่ากับ 1.00 อัตราผลตอบแทนภายใน 27.01 เปอร์เซ็นต์ จึงยอมรับโครงการ |
Description: | Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration)) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ)) |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/832 |
Appears in Collections: | Business Administration |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6106401011.pdf | 5.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.