Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/814
Title: | FACTORS OF SUCCESSING ON THAI MASSAGE PROFESSIONALPRACTICE OF PRISONER OF CHIANG MAI WOMENCORRECTIONAL INSTITUTION ปัจจัยความสำเร็จในการฝึกวิชาชีพการนวดไทยให้ผู้ต้องขังในทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ |
Authors: | Yaowana Chuamuangphan เยาวณา เชื้อเมืองพาน Phanit Nakayan ผานิตย์ นาขยัน Maejo University. Agricultural Production |
Keywords: | การฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง การนวดไทย ทัณฑสถานหญิง vocational training of inmates Thai massage woman correctional institute |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | This mixed-method study aimed to explore: 1) context of the Woman Correctional Institute, Chiang Mai; 2) process of traditional Thai massage training for woman inmates; and 3) factors making the Chiang Mai Woman Correctional Institute be successful in traditional Thai massage training. Data were obtained through documentary review, field survey inmate question (30 persons), and in-depth interview (6 inmates, 5 personnel of the institute and 10 traditional Thai massagers who were freed persons.
Findings showed that Chiang Mai Correctional Institution could accommodate 3,583 woman inmates as maximum. Its main mission was to control woman inmates during the consideration of sentence to death and obliterate their undesired behaviors. There was a vocational training facility at the temporary woman correctional institution located on No.100, Rajwithee road, Sriphum sub-disrict, Muang district, Chiang Mai province. The traditional Thai massage service was opened to general people there. The Department of Corrections had a policy to proclaim the institute to be Thai Massage Academy. Hence, it continually received supporting budgets for traditional Thai massage training and woman inmates were given an opportunity to join the training under the “Give and Gain in Wall” project. Consequently, they could gain incomes and save money for their future life outside the institute. The institute had criteria to select women inmates to attend the training. That was, they must be absolute prisoners and willing to attend the training. There was a committee responsible for the selection of woman inmates to attend “Ruen Phra Thammarong” Thai massage training program which was adapted from that of the Thai royal court. This program comprised 300 hours and it focused on actual practice under supervision of senior inmates who had passed the training program and personnel of the institute. It was found that success factors of the Thai massage training program there were : 1) appropriate location of the institute; 2) main mission assigned by the government was appropriate with the vocational training; and 3) policy and process of Thai massage training for woman inmates. การศึกษาวิจัยเชิงผสมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทของทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ 2) กระบวนการฝึกวิชาชีพการนวดไทยให้ผู้ต้องขัง และ 3) ปัจจัยที่ทำให้ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ประสบความสำเร็จในการฝึกวิชาชีพการนวดไทย รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการ ศึกษาเอกสารของหน่วยงาน ลงพื้นที่สำรวจสถานที่ ใช้แบบสอบถามผู้ต้องขัง จำนวน 30 คน สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ต้องขัง จำนวน 6 คน เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ จำนวน 5 คน และผู้พ้นโทษที่ประกอบอาชีพให้บริการนวดไทย จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า บริบททัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ เป็นเรือนจำที่ควบคุมผู้ต้องขังหญิงล้วนรองรับผู้ต้องขังได้มากที่สุด 3,583 คน มีภารกิจหลัก คือ ควบคุมผู้ต้องขังหญิงคดีระหว่างพิจารณาถึงกำหนดโทษประหารชีวิต อบรมแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคม มีสถานฝึกวิชาชีพ ที่เรือนจำชั่วคราวกลางเวียง ตั้งอยู่เลขที่ 100 ถนนราชวิถี ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่เปิดให้บริการนวดไทยแก่บุคคลทั่วไป ทำให้มีผู้เข้าใช้บริการจำนวนมาก การที่กรมราชทัณฑ์มีนโยบายประกาศให้เป็นเรือนจำเฉพาะทางด้านการฝึกวิชาชีพการนวดไทยให้ผู้ต้องขัง (Thai massage Academy) ทำให้ได้รับงบประมาณสนับสนุนการฝึกวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และขยายโอกาสให้ผู้ต้องขังได้ฝึกวิชาชีพให้บริการนวดไทยเพิ่มขึ้นในโครงการ Give And Gain In Wall สร้างรายได้ให้ผู้ต้องขังระหว่างถูกคุมขัง และมีเงินออมไว้เป็นทุนเริ่มต้นในการออกไปใช้ชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นหลังพ้นโทษ ส่วนกระบวนการฝึกวิชาชีพการนวดไทยให้ผู้ต้องขัง ทัณฑสถานมีเกณฑ์การคัดเลือกผู้ต้องขังเข้ารับการฝึกอบรมที่ต้องเป็นนักโทษเด็ดขาดและสมัครใจเข้ารับการฝึกอบรม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบ ใช้หลักสูตรการเรียนนวดไทย “เรือนพธำมรงค์” ซึ่งพัฒนามาจากหลักสูตรการนวดไทยในราชสำนัก และนวดเชลยศักดิ์ มีเวลาเรียน 300 ชั่วโมง/หลักสูตร เน้นฝึกปฏิบัติทำให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความมั่นใจ มีการฝึกนักโทษให้เป็นครูพี่เลี้ยง และใช้วิธีการฝึกอบรมแบบ “พี่สอนน้อง” ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ ทำให้สามารถฝึกอบรมให้ผู้ต้องขังได้อย่างต่อเนื่อง ปีละ 3 รุ่น โดยไม่ต้องรอการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ ทำให้ผู้ต้องขังมีวิชาชีพติดตัว ซึ่งผลการศึกษาที่ได้สรุปเป็นปัจจัยความสำเร็จในการฝึกวิชาชีพการนวดไทยให้ผู้ต้องขังในทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ คือ ปัจจัยที่มีอยู่แล้ว คือ บริบทที่ตั้งของสถานที่บริการเหมาะสม และภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลมีความเหมาะสมกับวิชาชีพที่เลือกฝึกอบรมให้ผู้ต้องขัง ส่วนปัจจัยที่ทัณฑสถานทำให้มีหรือทำให้เกิดขึ้น คือ นโยบายและกระบวนการฝึกวิชาชีพการนวดไทยให้ผู้ต้องขัง |
Description: | Master of Science (Geosocial Based Sustainable Development) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน)) |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/814 |
Appears in Collections: | Agricultural Production |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6101417010.pdf | 3.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.