Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/756
Title: | THE MEDIATING EFFECT OF ENTREPRENEURSHIP ORIENTATION
IN SOCIAL CAPITAL, DYNAMIC CAPABILITY TO
COMPETITIVE ADVANTAGE OF INNOVATIVE BUSINESS
AND STARTUP IN THAILAND บทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการในแบบจำลอง ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ระหว่างทุนทางสังคมและความสามารถเชิงพลวัต ต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจนวัตกรรม และวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย |
Authors: | Waraman Namwong วรมรรณ นามวงศ์ Prapassorn Vannasathid ประภัสสร วรรณสถิตย์ Maejo University. Business Administration |
Keywords: | ทุนทางสังคม ความสามารถเชิงพลวัต คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ ความได้เปรียบทางการแข่งขัน ธุรกิจนวัตกรรมและวิสาหกิจเริ่มต้น Social capital Dynamic capability Entrepreneurial Orientation Competitive advantage businesses and Start-ups |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | Disruptive technology affects changes in the business ecosystem. It happens quickly and severely for negligent entrepreneurs who are unable to adapt will be screened out of this business ecosystem. Being ready to fight at all times, recklessly, and always being prepared will ensure a successful business venture. In Thailand, many sectors involved in economic development work together to create a business ecosystem that facilitates entrepreneurs to adapt appropriately. have the ability to compete in business sustainably Creating a business with desirable Entrepreneurial Orientation, Social Capital is one of the key factors that contribute to this trait. because social capital fosters trust Sharing and caring among business stakeholders both internally and externally However, in a rapidly changing context, another important factor is the organization's internal knowledge resource management capabilities. This will give the organization the ability to change itself promptly. Have the ability to share knowledge of people in the organization. and the ability to drive creative behavior to create new things within the business or collectively known as the dynamic capabilities of the organization. From the literature review on the topics mentioned by the researcher Entrepreneurial orientation Theory, Social capital theory, Dynamic capability concept, and the concept of Competitive advantage, Therefore, it is the preliminary factor for the investigation and empirical reasoning. To answer the research question that social capital, Dynamic capability Entrepreneurial orientation and how Competitive business advantage is related; and social capital and Dynamic capability. How does it influence when passing operator attributes as Mediator variables and to gain a competitive advantage in business or not the sample group should provide reasonable information according to this research conceptual framework? Therefore, it should be a group that reflects the behavior of using knowledge in business operations and is in the context of rapidly changing competition. Therefore, the researcher selected the sample group to be used in this study, namely the group of Innovative businesses and start-up enterprises in Thailand. After collecting data with questionnaires, 350 complete and accurate data were obtained, representing a response rate of 49%. The researchers used the data to test. Hypothesis using research statistical methods By analyzing the Structure equations model through the software program.
From the causal relationship model analysis in this research. found that social capital and dynamic capability with a positive relationship both directly and indirectly to the Competitive advantage indirectly that is passed through the Entrepreneurial orientation factor in the mediator variable state. Significantly at 0.01 and the coherence index of the model was as follows: Chi-Square = 53.224 degrees of freedom (df) = 47 p-value = .247 is greater than 0.05 relative chi-square value. (/df) = 1.132 is less than 3 CFI index = .998 is greater than 0.90 GFI = .982 is greater than 0.90 AGFI = .947 is greater than 0.90 RMSEA = .019 is low More than .050 RMR index = .022 is less than .050 HOELTER index = 420 is greater than 200, so it can be seen that all-important statistical indices meet the specified criteria. The model is harmonious with the empirical data. and details of the results of the analysis are as follows: 1. Social capital (SC), Dynamic capability (DC), and Entrepreneurial orientation (EO) can jointly explain the variance of the Competitive advantage was 39.70 percent. 2. Social capital, Dynamic capability. and Entrepreneurial orientation has a positive influence on Competitive advantage with a statistically significant level of 0.01 and 3. The social capital factor was a factor that influenced competitive advantage was highest, followed by Dynamic capability and Entrepreneurial orientation, respectively. การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและรุนแรง (Disruptive Technology) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศวิทยาทางธุรกิจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงสำหรับผู้ประกอบการที่ประมาทไม่สามารถที่จะปรับตัวได้ก็จะถูกคัดเลือกให้ออกจากระบบนิเวศทางธุรกิจนี้ไป การมีความพร้อมที่จะต่อสู้ตลอดเวลาไม่ประมาทและมีการปรับตัวเตรียมการอยู่เสมอย่อมทำให้กิจการประสบความสำเร็จของธุรกิจ ในประเทศไทยหลายภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาภาคเศรษฐกิจต่างช่วยกันที่จะสร้างระบบนิเวศแวดล้อมทางธุรกิจให้เอื้อต่อผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถที่จะแข่งขันในทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน การสร้างให้กิจการมีคุณลักษณะการผู้ประกอบการอันพึงประสงค์นั้น มีทุนทางสังคมเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะสนับสนุนให้เกิดคุณลักษณะที่ว่านี้ได้ เพราะทุนทางสังคมส่งเสริมให้เกิดความไว้วางใจ การร่วมแบ่งปันและความใส่ใจต่อกันในหมู่ผู้มีส่วนได้เสียในทางธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร อย่างไรก็ตามภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือความสามารถด้านการจัดการทรัพยากรองค์ความรู้ภายในขององค์กรซึ่งจะทำให้องค์กรนั้นมีความสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างทันท่วงที มีความสามารถในการส่งต่อแบ่งปันความรู้กันของคนในองค์กร และเกิดความสามารถในการผลักดันพฤติกรรมสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งใหม่ภายในกิจการ หรือเรียกโดยรวมได้ว่าเป็นความสามารถเชิงพลวัตขององค์กร จากการทบทวนวรรณกรรมในหัวข้อที่ผู้วิจัยได้กล่าวมาแล้วนี้ ทฤษฎีคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ ทฤษฎีทุนทางสังคม แนวคิดความสามารถเชิงพลวัต และแนวคิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน จึงเป็นปัจจัยปฐมบทของการเข้าไปทำการตรวจสอบค้นคว้าหาเหตุผลเชิงประจักษ์ เพื่อตอบปัญหาในการวิจัยที่ว่า ทุนทางสังคม ความสามารถเชิงพลวัต คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ และความได้เปรียบทางการแข่งขันในทางธุรกิจมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร และทุนทางสังคม และความสามารถเชิงพลวัต มีอิทธิพลอย่างไรเมื่อผ่านคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการในสถานะตัวแปรส่งผ่าน และไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจได้หรือไม่ กลุ่มตัวอย่างที่น่าจะให้ข้อมูลได้อย่างสมเหตุสมผลตามกรอบแนวคิดการวิจัยนี้ จึงควรเป็นกลุ่มที่สะท้อนถึงพฤติกรรมการใช้องค์ความรู้ในการประกอบกิจการและอยู่ภายใต้บริบทของการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้วิจัยจึงคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่จะนำมาศึกษาในครั้งนี้ คือ กลุ่มของธุรกิจนวัตกรรม และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย ภายหลังการดำเนินการจากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามได้รับข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ จำนวน 350 ฉบับ คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 49 ผู้วิจัยได้นำข้อมูลดังกล่าวมาทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีทางสถิติวิจัย ด้วยการวิเคราะห์สมการโครงสร้างแบบจำลองผ่านโปรแกรมซอฟต์แวร์สำเร็จรูป จากการวิเคราะห์แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ทุนทางสังคม และความสามารถเชิงพลวัตที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยทางอ้อมนั้นถูกส่งผ่านปัจจัยคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการในถานะตัวแปรส่งผ่าน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 และได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบจำลองดังนี้ Chi-Square = 53.224 ค่าองศาอิสระ (df) = 47 ค่า p-value = .247 มีค่ามากกว่า 0.05 ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (/df) = 1.132 มีค่าน้อยกว่า 3 ค่าดัชนี CFI = .998 มีค่ามากกว่า 0.90 ค่าดัชนี GFI = .982 มีค่ามากกว่า 0.90 ค่าดัชนี AGFI = .947 มีค่ามากกว่า 0.90 ค่าดัชนี RMSEA = .019 มีค่าน้อยกว่า .050 ค่าดัชนี RMR = .022 มีค่าน้อยกว่า .050 ค่าดัชนี HOELTER = 420 มีค่ามากกว่า 200 ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ค่าสถิติที่สำคัญทุกดัชนีผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้สรุปได้ว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีรายละเอียดผลการวิเคราะห์ ดังนี้ 1) ทุนทางสังคม ความสามารถเชิงพลวัต และคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ สามารถร่วมกันอธิบายความ แปรปรวนของผลลัพธ์ความได้เปรียบทางการแข่งขัน ได้ร้อยละ 39.70 2) ทุนทางสังคม ความสามารถเชิงพลวัต และคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ มีอิทธิพลทางบวกต่อผลลัพธ์ความได้เปรียบทางการแข่งขัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ปัจจัยทุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ความได้เปรียบทางการแข่งขันสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ความสามารถเชิงพลวัต และคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ ตามลำดับ |
Description: | Doctor of Philosophy (Doctor of Philosophy (Business Administration)) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารธุรกิจ)) |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/756 |
Appears in Collections: | Business Administration |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5906501004.pdf | 7.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.