Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/748
Title: SUSTAINABLE AGRICULTURE DEVELOPMENT IN MAE AOW WATERSHEDAREA BANNAMYOI, NAKORNCHEDI SUB-DISTRICT, PASANG DISTRICT, LAMPHUN PROVINCE
แนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาวบ้านน้ำย้อย ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
Authors: Pingkawasakarn pipitapan
พิงควัสกานต์ พิพิธภัณฑ์
Pathipan Sutigoolabud
ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: การพัฒนา
ลุ่มน้ำแม่อาว
การพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
เกษตรกรรมยั่งยืน
Development
Mae aow Watershed Area
Sustainable agriculture development
Sustainable agriculture
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: The purposes of the study the way to develop the sustainable agriculture of Maeaow watershed are 1.) Study the situation of natural resources capital, economic, social, and agriculture system of Ban Namyoi village of Nakorn Jedi sub district, Pasang district. 2.) For making guidelines to develop a sustainable agriculture that according to the needs of community and geosocial. This study has set the 5-specific group of 40 example agriculturists from Ban Namyoi village or about 35 percent of all households of Ban Namyoi village and using In-depth interview and face to face interview, use maps and walking survey for making a topography map and the use of land then analysis the data. Also use the data from information resources using documentary review techniques The study results that are divided by five group of houses shown the difference of land physiognomy. The water resources and land use that being used in different ways of agriculture. The factors that affect the choosing of the ways they doing agriculture is the physiognomy of land, capital, knowledge, and agriculturist age. From the terrain map and the use of land found that most of Ban Namyoi's land is moderately suitable for doing agriculture. The soil is mostly sandy loam. Moreover, the water resources are lacking in some villages. 90 percent of agriculturist plant longan and the other 10 percent plant Mango, Guava, do integrated agriculture and plant herbaceous plant. These group of agriculturists are facing the slump price of product. The solution and guidelines for developing sustainable agriculture for Ban Namyoi should focus on developing of land and water resources, managing the area under physical limitation appropriately by consider of geosocial, choosing to do integrated farming depends on readiness of both area and agriculturists. From example group and best practice agriculturist found that the way of doing agriculture that absolutely suits the area and lifestyle of Ban Namyoi is integrated farming system and agroforestry.
การศึกษาเรื่อง แนวทางพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว บ้านน้ำย้อย ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคมและระบบการเกษตร ของหมู่บ้านน้ำย้อย ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง 2) เพื่อจัดทำแนวทางพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ที่สอดคล้องกับตามความต้องการของชุมชนและเหมาะสมกับภูมิสังคม ในการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นตัวแทนเกษตรกร จาก 5 กลุ่มบ้าน ของหมู่บ้านน้ำย้อย จำนวน 40 ราย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 35 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดของบ้านน้ำย้อย โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept-Interview) สัมภาษณ์ตัวต่อตัว (Face to Face interview) ใช้แผนที่และการเดินสำรวจ เพื่อจัดทำแผนที่ทางกายภาพ และการใช้ที่ดิน แล้วนำมาแปรผลข้อมูล การใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศ โดยใช้เทคนิคการทบทวนเอกสาร (Documentary review) ผลของการศึกษา ซึ่งแบ่งตาม 5 กลุ่มบ้านนี้ จะพบความแตกต่างของลักษณะพื้นที่ แหล่งน้ำ และการใช้ประโยชน์พื้นที่ในรูปแบบการทำเกษตรกรรมที่ต่างกันไป โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรูปแบบการทำเกษตรกรรม คือ ลักษณะด้านกายภาพของพื้นที่  ทุน องค์ความรู้ และอายุของเกษตรกร โดยจากแผนที่ทางกายภาพและแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่า บ้านน้ำย้อยส่วนใหญ่ดินจะมีความเหมาะสมปานกลาง คือ เป็นดินร่วนปนทราย  แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรยังไม่เพียงพอในทุกกลุ่มบ้าน เกษตรกร ร้อยละ90 ปลูกลำไยเต็มพื้นที่ อีกร้อยละ 10 ปลูกมะม่วง ฝรั่ง ทำเกษตรผสมผสาน และปลูกพืชล้มลุก ประสบกับปัญหาผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ แนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนในพื้นที่บ้าน  น้ำย้อย จึงควรมีการพัฒนาดินและแหล่งน้ำ มีการจัดการพื้นที่ภายใต้ข้อจำกัดทางกายภาพอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงภูมิสังคม เลือกรูปแบบการทำการเกษตรกรรมยั่งยืน ตามความพร้อมของพื้นที่และตัวเกษตรกร จากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างและเกษตรกรที่มีแนวปฏิบัติที่ดี พบว่า รูปแบบเกษตรกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ และวิถีชีวิตของบ้านน้ำย้อย คือ การทำเกษตรแบบผสมผสาน และรูปแบบวนเกษตร
Description: Master of Science (Geosocial Based Sustainable Development)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/748
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5901417015.pdf7.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.