Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/742
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสืบศักดิ์ คงไทย Suebsak Kongthai-
dc.date.accessioned2021-07-23T09:13:06Z-
dc.date.available2021-07-23T09:13:06Z-
dc.date.issued2014-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/742-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วน บุคคล เศรษฐกิจ สังคม และทัศนคติต่อการทําเกษตรทฤษฎีใหม่ ของเกษตรกร บ้านป่าลัน อําเภอ พร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 2) กระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรในการทําเกษตรทฤษฎีใหม่ของ เกษตรกร บ้านป่าลัน อําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) ปัญหา และ อุปสรรค ของเกษตรกรใน การทําเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกร บ้านป่าลัน อําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยทําการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร หมู่ 5 บ้านป่าลัน ตําบลบ้านโป่ง อําเภอพร้าว จังหวัด เชียงใหม่ จํานวน 160 ราย ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสัมภาษณ์แล้ว นําข้อมูลที่ได้ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสําเร็จรูปผลการศึกษา พบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48.64 ปี มี สถานภาพสมรสแล้ว จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ยประมาณ 4 คน มีลักษณะถือครองที่ดินเป็นของตนเอง มีจํานวนพื้นที่ถือครองเฉลี่ยประมาณ 12 ไร่ ประกอบ อาชีพปลูกไม้ผล มีรายได้รวมทั้งหมดเฉลี่ย 190,350.14 บาทต่อปี ใช้เงินทุนของตนเองในการทํา การเกษตร และมีเงินออมเฉลี่ย 26,315.84 บาทต่อปี ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร มีประสบการณ์ในการทําการเกษตรมาเป็นระยะเวลาเฉลี่ย 25.02 ปี ไม่เคยได้รับการฝึกอบรม เกี่ยวกับการทําเกษตรทฤษฎีใหม่ ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทําเกษตรทฤษฎีใหม่จากสื่อ โทรทัศน์ และมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ยประมาณ 3 ครั้งต่อปี มีทัศนคติต่อ การทําการเกษตรทฤษฎีใหม่โดยรวมในระดับเห็นด้วยมากผลการศึกษากระบวนการเรียนรู้ในการทําเกษตรทฤษฎีใหม่ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมี การเรียนรู้โดยรวมในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นระดับพบว่า ด้านการเรียนรู้และความเข้าใจ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการปรับเปลี่ยนอยู่ในระดับน้อยโดยผู้ให้ข้อมูลมีการเรียนรู้ในระดับ ปานกลางในด้านการรับรู้ และด้านความเข้าใจ มีการเรียนรู้ในระดับน้อยในด้านการปรับเปลี่ยน ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรในการทํา เกษตรทฤษฎีใหม่ได้แก่ ประสบการณ์ในการทําการเกษตร การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม และ ทัศนคติต่อการทําเกษตรทฤษฎีใหม่ของผู้ให้ข้อมูลมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.05)ผลการการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการทําเกษตรทฤษฎีใหม่ พบว่า ผู้ให้ข้อมูล ไม่สามารถปรับเป็นพื้นที่นาได้หมด เนื่องจากพื้นที่ไม่สามารถปลูกข้าวได้ในบางพื้นที่ พื้นที่เป็น ภูเขา ไม่เรียบ ไม่มีเงินทุนที่ใช้ในการซื้อต้นไม้ มาปลูก และสัตว์เลี้ยง อาทิ เช่น ปลา ไก่ หมู มาเลี้ยง ต้องใช้เงินค่อนข้างสูง และเกษตรกรในพื้นที่ยังไม่มีความรู้เพียงพอเท่าที่ควรในเรื่องเกษตรทฤษฎี ใหม่ว่ามีทิศทางและแนวทางลักษณะใด ทําให้ไม่สามารถทําตามทฤษฎีใหม่ได้ทั้งหมดen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.subjectเกษตรทฤษฎีใหม่en_US
dc.subjectการเรียนรู้en_US
dc.subjectการเรียนรู้ของเกษตรกรen_US
dc.titleกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรในการทําเกษตรทฤษฎีใหม่ กรณีศึกษาบ้านป่าลัน อําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ = Learning process of farmers on the new agricultural theory: a case study of Baan Palan, Prao district, Chiangmai provinceen_US
dc.title.alternativeLearning process of farmers on the new agricultural theory: a case study of Baan Palan, Prao district, Chiangmai provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suebsak Kongthai.pdf35.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.