Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/59
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPapob Jeeraten
dc.contributorปภพ จี้รัตน์th
dc.contributor.advisorPhutthisun Kruekumen
dc.contributor.advisorพุฒิสรรค์ เครือคำth
dc.contributor.otherMaejo University. Agricultural Productionen
dc.date.accessioned2020-01-17T03:22:24Z-
dc.date.available2020-01-17T03:22:24Z-
dc.date.issued2018-
dc.identifier.urihttp://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/59-
dc.descriptionMaster of Science (Master of Science (Resources Development and Agricultural Extension))en
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร))th
dc.description.abstractThe objectives of this study were to investigate: 1) socio-economic attributes of farmers; 2) knowledge attitude and household farming of the farmers in accordance with the philosophy of sufficiency economy; 3) factors affecting household faming in accordance with the philosophy of sufficiency economy; 4) problems encountered and suggestions about household farming of the farmers. The sample group in this study consisted of 272 farmers obtained by two-stage sampling. A set of questionnaires was used for data collection and analysis by using frequency, mean, percentage, standard deviation and Enter Regression analysis. Results of the study revealed that most of the respondents (70.10) were male, 61 years old on average, married, and elementary school graduates and below. The respondent had 4 family members, 2 household workforces, 4 rai of farming area, an income earned from farming of 86,234.30 baht on average, and 28 years of farming experience. In their community they were members of 3 community groups and they contracted agricultural staff on average twice a year. The respondents participated in agricultural activities/traditions 3 times per year and agricultural training/educational trips in farming twice a year. They perceived data on farming in accordance with the philosophy of sufficiency economy on average 27 times per month. The respondents had a high level of knowledge about household faming in accordance with the philosophy of sufficiency economy. However, their attitude towards household faming in accordance with the philosophy of sufficiency economy was a high level of agreement. They had a high level of household farming practice in accordance with the philosophy of sufficiency economy. The following were factors positively effecting household farming in accordance with the philosophy of sufficiency economy: marital status, being community group member, agricultural training/ educational trips, participation in agricultural activities/traditions, knowledge about household faming in accordance with the philosophy of sufficiency economy, and attitude towards household faming in accordance with the philosophy of sufficiency economy whereas farming area had negativity effect. The following were problems encountered in household farming of the respondents: water shortage, breakout of diseases and insects, high production costs and low price of agricultural yields. The respondents suggested the following: development of water source for agricultural purpose; support on new agricultural knowledge; and technology and promotion of agricultural group forming for agricultural yield selling.en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร และ 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรที่อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จำนวน 272 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน (Two-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา ซึ่งประกอบได้ด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 61 ปี อยู่ในสถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 3.56 ไร่ มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 86,234.30 บาทต่อปี มีประสบการณ์ในการทำเกษตรกรรมเฉลี่ย 28 ปี เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มของชุมชนเฉลี่ย 3 กลุ่ม ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เข้าร่วมกิจกรรมหรือประเพณีเกี่ยวกับการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเฉลี่ย 27 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก มีทัศนคติต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และมีการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวก ได้แก่ สถานภาพ การเข้าร่วมเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มของชุมชน การเข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานทางด้านการเกษตร การเข้าร่วมกิจกรรมหรือประเพณีเกี่ยวกับการเกษตร ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทัศนคติต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบ ได้แก่ พื้นที่ทำการเกษตร ปัญหาในการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตรในฤดูแล้ง การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ต้นทุนและปัจจัยการผลิตในการทำเกษตรกรรมมีราคาสูง และผลผลิตทางการเกษตรมีราคาต่ำ และมีข้อเสนอแนะ คือควรมีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การสนับสนุนองค์ความรู้และวิทยาการใหม่ในการทำเกษตรกรรม การส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรth
dc.language.isoth-
dc.publisherMaejo University-
dc.rightsMaejo University-
dc.subjectเกษตรแบบครัวเรือนth
dc.subjectเกษตรพอเพียงth
dc.subjectปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงth
dc.subjectHousehold Farmingen
dc.subjectSufficient Farmingen
dc.subjectPhilosophy of Sufficiency Economyen
dc.subject.classificationAgricultural and Biological Sciencesen
dc.titleFARMING AT THE HOUSEHOLD LEVEL IN ACCORDANCE WITH THE PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY OF FARMERS IN U-MONG MUNICIPALITY, MUEANG DISTRICT, LAMPHUN PROVINCEen
dc.titleการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5901332003.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.