Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/477
Title: ENERGY COST REDUCTION OF SLAUGHTERHOUSE WITH HOT WATER GENERATION FROM SOLAR PHOTOVOLTAIC THERMAL HYBRID BOOSTED HEAT PUMP
การลดต้นทุนด้านพลังงานของโรงฆ่าสัตว์ด้วยการผลิตน้ำร้อนจากปั๊มความร้อน เสริมด้วยการผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์
Authors: Saysana Chanthaseng
Saysana Chanthaseng
Sulaksana Mongkon
สุลักษณา มงคล
Maejo University. School of Renewable Energy
Keywords: แผงผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์
ปั๊มความร้อน
น้ำร้อน
การลดต้นทุนด้านพลังงาน
สมรรถนะ
Solar Photovoltaic Thermal panel
Heat pump
Hot water
Electric power costs reduction
Performance
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: The aim of this research is to reduce the electric power cost of hot water production in a Chai Pra Kan District slaughterhouse, Chiang Mai Province by solar photovoltaic thermal boosted heat pump system (Solar PV/T Boosted Heat Pump). This research divided into five parts, the first part was a testing of heat pump, solar photovoltaic/thermal panel (Solar PV/T), and solar photovoltaic panel (Solar PV). The study found that, the average Energy Efficiency Ratio (EER) of the heat pump was equal to 2.95 kWth/kWe, the average efficiency of the glazed Solar PV/T panel and Solar PV panel was 54.13%, and 15.10%, respectively. The second part was a simulation of the mathematical model to determine the suitable size, and number of solar PV/T boosted heat pump system. The results showed that the suitable system consisted of a 17.8 kWth heat pump which a refrigerant is R134a, using the glazed Solar PV/T which peak power is 295 Wp with 4 panels, and 370 Wp Solar PV of 14 panels to produce hot water stored in a 3,000 L hot water tank. The third part was to determine the suitable flow rate of water through the Solar PV/T panels. The experiment found that the suitable flow rate was 8.2 LPM which the maximum of EER was equal to 4.74 kWth/kWe, and the average value was equal to 3.38 kWth/kWe, respectively. The fourth part is to study the electricity consumption of the Solar PV/T Boosted Heat Pump system when it is actually used of the production round. The system started working from 12 a.m. and stop working at 5 p.m. which the hot water temperature was 55.2 °C. The system resumed working in the next day from 8 a.m. to 10.40 a.m. generating 2,500 liters of hot water at 65 °C. Therefore, the hot water production time was equal to 7 hours 40 minutes. The maximum EER of the heat pump was 3.99 kWth/kWe and the average was 2.97 kWth/kWe. The performance ratio (PR) of Solar PV and Solar PV/T systems was 70.17 % and 78.41%, respectively. The Solar PV/T Boosted Heat Pump system consumed a total electric power of 40.32 kWh/round. It derived from the Solar PV/T system and the Solar PV system was equal to 20.10 kWh/round and uses from the utility grid line of 20.22 kWh/round. The Solar PV/T Boosted Heat Pump system had an overall efficiency of 59.28%. In the final part was an economic analysis by using a mathematical model to simulate the electric power consumption all year round. The study found that Solar PV/T Boosted Heat Pump system could decrease the electric power from the utility grid line by 27,512.69 kWh/year which an equivalent a saving was 125,457.87 Baht/year or approximately 75% compared with using the electrical heaters. The Specific Energy Consumption (SEC) could be reduced from the original value of 7.33 kWh/pig or 33.41 Baht/pig to 1.83 kWh/pig or 8.36 Baht/pig. The investment in this system was equal to 708,060 Baht, representing a payback period of 6.07 years and the internal rate of return (IRR) was equal to 14.24%, respectively.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดต้นทุนทางด้านพลังงานของโรงฆ่าสัตว์เทศบาลตำบลไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการผลิตน้ำร้อนจากปั๊มความร้อนเสริมด้วยการผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV/T Boosted Heat Pump) โดยการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ส่วนแรกเป็นการทดสอบสมรรถนะของปั๊มความร้อน แผงผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV/T) และแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV) จากศึกษาพบว่า ปั๊มความร้อนมีค่าเฉลี่ย EER เท่ากับ 2.95 kWth/kWe  แผง Solar PV/T แบบมีกระจกครอบและแผง Solar PV มีประสิทธิภาพเฉลี่ยเท่ากับ 54.13% และ 15.10% ตามลำดับ ส่วนที่สองเป็นการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการออกแบบขนาดและจำนวนของระบบปั๊มความร้อนเสริมด้วยการผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมกับการใช้งานในโรงฆ่าสัตว์ ซึ่งพบว่า ระบบที่เหมาะสมประกอบไปด้วยปั๊มความร้อนขนาด 17.8 kWth ใช้สารทำงาน R134a ใช้แผง Solar PV/T แบบมีกระจกครอบ ขนาดกำลังไฟฟ้า 295 Wp จำนวน 4 แผง และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดกำลังไฟฟ้า 370 Wp จำนวน 14 แผง เพื่อผลิตน้ำร้อนเก็บในถังเก็บน้ำร้อนขนาด 3,000 L สำหรับส่วนที่สามของการศึกษาเป็นการหาอัตราการไหลของน้ำผ่านแผง Solar PV/T ในการใช้งานจริง จากการทดสอบพบว่า ที่อัตราการไหล 8.2 LPM เหมาะสมในการใช้งานมากที่สุด โดยมีค่าสูงสุดของอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (EER) ของปั๊มความร้อนเท่ากับ 4.74 kWth/kWe และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.38 kWth/kWe ตามลำดับ ในส่วนที่สี่เป็นการศึกษาการใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบ Solar PV/T Boosted Heat Pump เมื่อใช้งานจริงใน 1 รอบการผลิต โดยระบบเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 12:00 น. และจะหยุดทำงาน ณ เวลา 17:00 น. สามารถผลิตน้ำร้อนได้ 55.2 °C จากนั้นระบบจะกลับมาเริ่มทำงานใหม่ในวันถัดไปตั้งแต่ 08:00 ถึง 10:40 น. ซึ่งทำให้ได้น้ำร้อนอุณหภูมิ 65 °C ปริมาณ 2,500 ลิตร ดังนั้นเวลาที่ใช้ในการผลิตน้ำร้อนต่อรอบการผลิตเท่ากับ 7 h 40 min สำหรับค่าสูงสุดของ EER ของปั๊มความร้อนเท่ากับ 3.99 kWth/kWe และมีค่าเฉลี่ย 2.97 kWth/kWe ค่าสมรรถนะทางไฟฟ้า (PR) ของระบบ Solar PV และระบบ Solar PV/T มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 70.17% และ 78.41% ตามลำดับ ระบบ Solar PV/T Boosted Heat Pump มีการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด 40.32 kWh/รอบ โดยได้จากระบบ Solar PV/T และระบบ Solar PV เท่ากับ 20.10 kWh/รอบ และใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าพื้นฐานมาเพิ่มอีก 20.22 kWh/รอบ ระบบ Solar PV/T Boosted Heat Pump มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 59.28% สำหรับส่วนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อทำนายการใช้พลังงานไฟฟ้าตลอดทั้งปีของระบบ จากการศึกษาพบว่า ระบบ Solar PV/T Boosted Heat Pump สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ 27,512.69 kWh/year คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 125,457.87 Baht/year หรือลดลง 75% เมื่อเทียบกับระบบผลิตน้ำร้อนเดิมที่ใช้ขดลวดไฟฟ้า ค่าดัชนีการใช้พลังงานจำเพาะ (SEC) ลดลงได้จากเดิมที่มีค่าเท่ากับ 7.33 kWh/ตัว หรือ 33.41 Baht/ตัว ให้เหลือเพียง 1.83 kWh/ตัว หรือ 8.36 Baht/ตัว โดยระบบ Solar PV/T Boosted Heat Pump ใช้เงินลงทุนเท่ากับ 708,060 Baht คิดเป็นระยะคืนทุน 6.07 year และมีอัตราผลตอบแทน (IRR) เท่ากับ 14.24% ตามลำดับ
Description: Master of Engineering (Master of Engineering (Renewable Energy Engineering))
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมพลังงานทดแทน))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/477
Appears in Collections:School of Renewable Energy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6115301030.pdf15.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.