Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/31
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Naruebet Duangsri | en |
dc.contributor | นฤเบศน์ ดวงศรี | th |
dc.contributor.advisor | Witchaphart Sungpalee | en |
dc.contributor.advisor | วิชญ์ภาส สังพาลี | th |
dc.contributor.other | Maejo University. Agricultural Production | en |
dc.date.accessioned | 2020-01-17T03:22:12Z | - |
dc.date.available | 2020-01-17T03:22:12Z | - |
dc.date.issued | 2020 | - |
dc.identifier.uri | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/31 | - |
dc.description | Master of Science (Geosocial Based Sustainable Development) | en |
dc.description | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน)) | th |
dc.description.abstract | Calamus acanthophyllus or its common names are “Wai Yai”, “Wai Khrae” and “Wai Noi” is a local edible rattan which generate an income to the community due to its good taste and medicinal properties. However, there is no conservation by the community which may cause its distinction in the community. Thus, this is background of this study with two objectives : 1) Investigate status and ecology of C. acanthophyllus. This includes the area of deciduous dipterocarp forest having fire prevention (Plot 1); the area of deciduous depterocarp forest which is recovery due to agriculture (Plot 2); and the are of deciduous depterocarp forest always having forest fire (Plot 3). A sample permanent plot of 50 x 100 meters in each area are prepared. The diameter at breast height (DBH) of all tree species there is measured and recorded (1 cm and above). Position of all of the trees is recorded, height of the trees is randomly measured Position of all of C. acanthophyllus is recorded, height and diameter at root collar are measured. 2) Investigation of a guideline for the conservation of C. acanthophyllus of the community. This is on the basis of review of related literature in printed and electronic media. Results of an analysis on the sample plot laying of the natural forest plot are presented in the community venue for finding a management guideline – Local voices is held by criterion – based selection. Besides, there are informal interview and observation. Results of the study reveal that density of the trees and cross sectional area of plot 1, 2 and 3 is 1,284, 1,196 and 1,842 trees per hectar and 6.96, 7.93 and 8.01 square meter, respectively. The highest index values on ecology (IVI) of plot 1, 2 and 3 are 86.23, 188.88 and 112.86, respectively. Meanwhile, a number of species and Shannon – Wiener index are equivalent to 19, 17 and 13 species and 1.59, 1.16 and 1.485, respectively. The distribution in accordance with the diameter at breast height of all trees in plot 3 is in the form of negative exponential. This implies good natural replaced growth and the forest is in the recovery stage. The relationship between the diameter size and height of the trees in the form of hyperbolic equation has the highest Hmax value in polt 1 is 18.44 meters. Regarding the investigation of some aspects of the ecology of C. acanthophyllus, it is found that its number found in the three plots, diameter size at root collar, an average height and the highest height have statistically significant difference. Therefore, the area management or disturbance by human and forest fire has an effect on an amount and growth performance of C. acanthophyllus. Regarding a guideline for the community is at a high level based on two aspects: C. acanthophyllus growing and care-taking. Besides, it is found that the protection of C. acanthophyllus includes the following : allocation of a public area for people in the community; growing C. acanthophyllus to replace the damaged one ; and promotion and support community participation in C. acanthophyllus conservation. | en |
dc.description.abstract | หวายนั่ง หรือชื่อเรียกอื่นๆ ตามท้องถิ่น เช่น หวายแย้ หวายแคระ และหวายน้อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ (Calamus acanthophyllus) เป็นหวายท้องถิ่น ซึ่งชุมชนท้องถิ่นนิยมรับประทาน เป็นพืชที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนเนื่องด้วยมีรสชาติดี มีสรรพคุณทางยารักษาโรค แต่อย่างไรก็ตามชุมชนยังขาดการอนุรักษ์ จึงอาจทำให้หวายท้องถิ่นชนิดนี้สูญพันธุ์ไปจากชุมชนแห่งนี้ จึงเป็นที่มาของงานวิจัย นิเวศวิทยาของหวายนั่งและแนวทางการอนุรักษ์ของชุมชนตามแนวทางภูมิสังคม กรณีศึกษา:บ้านลาดสมบูรณ์ใหม่ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพและนิเวศวิทยาของหวายนั่ง คือ พื้นที่ป่าเต็งรังที่มีการป้องกันไฟ (แปลง 1) พื้นที่ป่าเต็งรังที่ฟื้นตัวจากการทำการเกษตร (แปลง 2) และ พื้นที่ป่าเต็งรังที่มีไฟป่าเป็นประจำ (แปลง 3) โดยทำการวางแปลงตัวอย่างถาวรขนาด 50 x 100 เมตร พื้นที่ละ 1 แปลง ทำการวัดและบันทึกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก (DBH) ของพรรณไม้ยืนต้นทุกชนิดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป บันทึกตำแหน่งต้นไม้ทุกต้น พร้อมสุ่มวัดความสูง และวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางคอรากและความสูง ของหวายนั่ง และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์หวายนั่งของชุมชน โดยจากศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับชุมชนบ้านลาดสมบูรณ์ใหม่ ทั้งเอกสาร รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และนำผลการวิเคราะห์การวางแปลงตัวอย่างของ แปลงป่าธรรมชาติเพื่อ นำเสนอในเวทีชุมชนเพื่อหาแนวทางการจัดการ จัดเวทีชาวบ้าน (local voices) โดยการเลือกแบบเจาะจง (criterion-base selection) สัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (informal interview) และการสังเกต (observation) ผลการศึกษาพบว่า ความหนาแน่นของไม้ยืนต้น และพื้นที่หน้าตัดต่อพื้นที่ แปลงที่ 1 แปลงที่ 2 และ แปลงที่ 3 เท่ากับ 1,284, 1,196 1,842 ต้นต่อเฮกตาร์ และ 6.96, 7.93, 8.01 ตารางเมตร ตามลำดับ ค่าดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยา (IVI) สูงสุด ของแปลงที่ 1 2 และ 3 คือ แดง พลวง และ พลวง มีค่าเท่ากับ 86.23, 188.88 และ 112.86 ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนชนิด และดัชนีความหลากชนิด (Shannon-Wiener index) เท่ากับ 19, 17, 23 ชนิด และ 1.59, 1.16, 1.485 ตามลำดับ การกระจายตามชั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกของไม้ยืนต้นทุกต้นในแปลงที่ 3 เป็นแบบ negative exponential บ่งบอกถึงสภาพการเติบโตทดแทนตามธรรมชาติเป็นไปด้วยดีและป่าอยู่ในช่วงการฟื้นตัว ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกและความสูงของไม้ยืนต้นในรูปสมการ hyperbolic มีค่า Hmax สูงสุดในแปลงที่ 1 เท่ากับ 18.44 เมตร ส่วนการศึกษานิเวศวิทยาบางประการของหวายนั่ง พบว่า จำนวนหวายนั่งที่พบในแปลง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่คอรากเฉลี่ย ขนาดความสูงค่าเฉลี่ย และ ขนาดความสูงสูงสุด ของทั้ง 3 แปลง พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการจัดการพื้นที่หรือการถูกรบกวนทั้งจากมนุษย์และไฟป่าส่งผลต่อปริมาณและการเติบโตของหวายนั่ง และแนวทางการอนุรักษ์ของชุมชนจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เก็บหาหวายนั่ง จำนวน 21 คน พบว่า 1) การอนุรักษ์หวายนั่ง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การอนุรักษ์หวายนั่ง อยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ การปลูกหวายนั่ง การดูแลรักษาหวายนั่ง 2) แนวทางพัฒนาการอนุรักษ์หวายนั่ง พบว่า การป้องกันรักษาหวายนั่ง ควรมีการจัดสรรพื้นที่ให้แก่ ประชาชนหรือชุมชน ต้องการให้มีการปลูกหวายนั่ง เพื่อทดแทนฟื้นฟูหวายนั่งที่ถูกทำลาย การดูแลรักษาหวายนั่ง ควรมีการสนับสนุนให้ผู้นำชุมชนและ ประชาชนหรือชุมชนในท้องถิ่นเข้ามามี ส่วนร่วมในการอนุรักษ์รักษาหวายนั่งในพื้นที่ไม่ให้ถูกทำลาย | th |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | Maejo University | - |
dc.rights | Maejo University | - |
dc.subject | ลักษณะโครงสร้างป่า | th |
dc.subject | ป่าเต็งรัง | th |
dc.subject | หวายนั่ง | th |
dc.subject | ไฟป่า | th |
dc.subject | ภูมิสังคม | th |
dc.subject | forest structure | en |
dc.subject | deciduous dipterocarp forest | en |
dc.subject | Calamus acanthophyllus | en |
dc.subject | forest fire | en |
dc.subject | geosocial-based | en |
dc.subject.classification | Multidisciplinary | en |
dc.title | THE ECOLOGY AND GEOSOCIAL BASED GUIDELINES FOR COMMUNITY'S CONSERVATION OF CALAMUS ACANTHOPHYLLUS: A CASE STUDY LAD- SOM BOON MAI VILLAGE, HUAI YANG SUB-DISTRICT, MUEANG SAKON NAKHON DISTRICT, SAKON NAKHON PROVINCE | en |
dc.title | นิเวศวิทยาของหวายนั่งและแนวทางการอนุรักษ์ของชุมชน ตามแนวทางภูมิสังคม กรณีศึกษา: บ้านลาดสมบูรณ์ใหม่ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Agricultural Production |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5801417002.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.