Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2199
Title: FACTORS AFFECTING THE ADOPTION OF ONLINE MARKETING CHANNEL FOR SELLING PRODUCTS OF COMMUNITY ENTERPRISE MEMBERS CHIANG MAI PROVINCE
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้า ของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Irada Phakaphisit
ไอรดา ภัคอภิสิทธิ์
Kangsadan Kanokhong
กังสดาล กนกหงษ์
Maejo University
Kangsadan Kanokhong
กังสดาล กนกหงษ์
kangsadan@mju.ac.th
kangsadan@mju.ac.th
Keywords: การยอมรับเทคโนโลยี
ตลาดออนไลน์
วิสาหกิจชุมชน
Adoption of technology
online marketing
community enterprise
Issue Date: 2024
Publisher: Maejo University
Abstract: This study was conducted to investigate: 1) socio-economic attributes of community enterprise members in Chiang Mai province; 2) a level of adoption of online marketing channel for selling products of the community enterprise members; 3) factors effecting the adoption of online marketing channel for selling products of the community enterprise members; and 4) problems encountered and suggestions about the adoption. The sample group consisted of 189 community enterprise members in Chiang Mai province who had attended a training on using online marketing for selling products. A set of questionnaires was used for data collection and analyzed by using descriptive statistics, inferential statistics and multiple regression. Results of the study revealed that most of the respondents were male, 52 years old on average, married, and lower secondary school graduates. Most of the respondents were Mainly engaged in agriculture with an average annual income of 298,911.11 baht. Also, they earned an income from being communing enterprise members for 13,566.13 baht per year on average. Besides, they received dividend as community enterprise members for 593.91 baht per year on average. However, they had debts for 202,060 baht on average. Although most of them had their own capital. The respondents had been community enterprise members for 5.49 years on average and they have an average of 2 products. They perceived news or information about online marketing channel tree times per year on average. The respondents attended training on educational trip 0.5 time per year and contacted of hen community enterprise members once a year on average and the respondents contacted government sector official once year. The respondents had a high level of the adoption of online marketing channels for product selling (mean 3.77). Based on into details, the following were found at a high level: benefit perception (mean 3.90), interest in new technology (mean 3.84), intention to use (mean 3.78), actual use (mean 3.69), and ease of use (mean 3.67), respectively. Regarding factors effecting the adoption of online marketing channel for selling products of the respondents, sex and an income from being communing enterprise members were positive with a statistical significance level. However, age and time span of membership and capital source were found to be negative with a statistical significant level. The following were problems encountered: Members lack participation in operating within the community enterprise group, creating an online marketing channel is complex and difficult, lack of funds to create and develop online marketing channels, there are limitations on equipment and network signals, the distribution of the transportation system still does not cover all areas. The following were suggestion: promote mutual awareness, create a standardized platform to advertise products directly, provide credit sources for members to have working capital, support systematic planning of transportation processes.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาระดับการยอมรับช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้าของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้าของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ และ 4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการยอมรับช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้าของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งผ่านการเข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้าที่จัดโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 189 คน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบทดสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52 ปี มีสถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีรายได้หลักเฉลี่ย 298,911.11 บาทต่อปี มีรายได้จากการเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 13,566.13 บาทต่อปี มีเงินปันผลจากการเข้าร่วมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 593.91 บาทต่อปี มีหนี้สินเฉลี่ย 202,060 บาท แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่มาจากเงินทุนของตนเอง  มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมเฉลี่ย 5.49 ปี ประเภทสินค้ามีจำนวนเฉลี่ย 2 ประเภท ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับช่องทางการตลาดออนไลน์เฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี เข้าร่วมอบรมและดูงานเฉลี่ย 0.50 ครั้งต่อปี มีการติดต่อกับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี และมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี มีการยอมรับช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.77) ด้านที่ยอมรับมากที่สุดคือ ด้านรับรู้ถึงประโยชน์ (เฉลี่ย 3.90) รองลงมา ด้านสนใจเทคโนโลยีใหม่ (เฉลี่ย 3.84) ด้านตั้งใจที่จะใช้งาน (เฉลี่ย 3.78) ด้านการนำมาใช้จริง (เฉลี่ย 3.69) และด้านความง่ายต่อการใช้งาน (เฉลี่ย 3.67) ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้าของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเชิงบวก ได้แก่ เพศ และรายได้จากการเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเชิงลบ ได้แก่ อายุ  แหล่งเงินทุน และระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่ม ปัญหาในการยอมรับช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ขาดการมีส่วนร่วมการดำเนินงานของสมาชิกภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การสร้างช่องทางการตลาดออนไลน์มีความซับซ้อนและยุ่งยาก ขาดเงินทุนในการเข้าถึงเพื่อสร้างและพัฒนา มีข้อจำกัดเกี่ยวกับอุปกรณ์ สัญญาณเครือข่าย และการกระจายระบบขนส่งสินค้ายังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีข้อเสนอแนะ คือ สร้างการรับรู้ร่วมกัน สร้างแพลตฟอร์มที่มีมาตรฐานเดียวกันเพื่อโฆษณาให้กับสินค้าโดยตรง จัดหาแหล่งสินเชื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียน และการสนับสนุนวางแผนกระบวนการขนส่งสินค้าอย่างเป็นระบบ
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2199
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6201332006.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.