Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2190
Title: พฤติกรรมผู้ใช้บริการสถานพยาบาลเสริมความงาม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Customer behavior of beauty clinic user in amphur muang, Chiang Mai provice
Authors: อลิสรา จรัสพันธุ์กุล
Keywords: ปัญหาพิเศษ
สถานพยาบาล
เชียงใหม่
Issue Date: 2004
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมผู้ใช้บริการสถานพยาบาถเสริมความงามในเขตอำเกอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ /) ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการสถานพยาบาลเสริมความงาม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการของผู้ใช้บริการสถานพยาบาลเสริมความงาม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 170 คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ และคำนวณ โคยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Staistical Package for the Social Sciences หรือ SPSS/PC) ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ การศึกษาถึงลักษณะทั่วไปของผู้ใช้บริการสถานพยาบาลเสริมความงามในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 - 30 ปี มีสถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน มีรายได้ต่อ เดือนระหว่าง 5,000 - 10,000 บาท ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 คน และมีเขตที่อยู่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จ.เชียงใหม่พฤติกรรมในการใช้บริการ ในสถานพยาบาลเสริมความงามในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มาใช้บริการเพื่อรักษาปัญหาผิวพรรณและบำรุงผิวพรรณ โดยตัดสินใจมาใช้บริการด้วยตัวเอง และส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการมาคนเดียว ใช้ เวลาในการใช้บริการ '5: - 1 ชั่วโมง มาใช้บริการ 2 ครั้งต่อเดือน ส่วนใหญ่จะมาใช้บริการวันอาทิตย์ ในช่วงเวลาหลัง 18.00 น. ส่วนใหญ่ใช้งินในการซื้อสินค้าและบริการต่อเดือนต่ำกว่า 1,000 บาท และส่วนใหญ่ใช้บริการบำรุงผิวพรรณหน้า การมาใช้บริการสถานพยาบาลเสริมความงามมีผลต่อเรื่องบุคลิกภาพมากที่สุดความพึงพอใจ ในการใช้บริการ ในสถานพยาบาลเสริมความงามในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจที่ดีต่อการใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นในค้านผลิตภัณฑ์ ไห้แก่ มีสินค้าและบริการที่มีชื่อเสียงให้บริการ มีสินค้าและบริการที่มีระดับราคาหลากหลายให้บริการ, ค้านราคา ได้แก่ มีการรับชำระสินค้าด้วยบัตรเครดิต ราคาสินค้าและบริการไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง, ด้านสถานที่ ได้แก่ สถานที่ให้บริการมีความสะอาดและปลอดภัยมีความสะดวกในการเดินทางมาใช้บริการ, และด้านส่งเสริมการตลาค ได้แก่ สินค้าและบริการมีการให้ส่วนลด มีการแจ้งข่าวสารและแนะนำสินค้าโดยหนักงาน ส่วนความพึงพอใจที่ไม่ดีที่ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีต่อการใช้บริการ ได้แก่ ราคาสินค้าและบริการ ไม่สามารถต่อรองได้ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ, โทรทัศน์ มีน้อย
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2190
Appears in Collections:Business Agriculture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
alisara-charaspankul.PDF2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.