Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2187
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อนุชา อัตรพิศาล, anucha akarapisan | - |
dc.date.accessioned | 2024-06-28T07:42:38Z | - |
dc.date.available | 2024-06-28T07:42:38Z | - |
dc.date.issued | 2000 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2187 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกชาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการบริโภคของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อสินค้า และปัถูหาในการใช้บริการจากร้านสหกรณ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำกัดรวมทั้งหาความแตกต่างด้านทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคระหว่างนักศึกษาที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์และนักศึกษาที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของร้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 400 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการลุ่มแบบชั้นภูมิ Strat ified Random Sampling รวบรวมข้อมูล โดยการใช้แบบสอบถามแล้วนำข้อมูลต่าง ๆ พิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC+ ซึ่งสถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่ามาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมไคสแควร์ ผลการศึกษาสรุปโดยย่อดังนี้ 1. นักศึกษาที่ทำการศึกษาเป็นเพศชายร้อยละ 51. 75 และเพศหญิงร้อยละ 48.25 มีการกระจายทางการศึกษาตั้งแต่ชั้นปี 1-4 และมีการกระจายไปตามคณะต่าง ๆ อย่าง เป็นสัดส่วน รายได้เฉลี่ยของนักศึกษาเดือนละ 3, 185. 33 บาท นักศึกษาร้อยละ 52. 75 เป็นสมาชิกร้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำกัด ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกได้เพียง 1 ปี ถือหุ้นระหว่าง 1 ถึง 10 หุ้น 2. ความรู้ความเข้าใจด้านสหกรณ์ นักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ความเช้าใจถูกต้องในหลักสหกรณ์ วัตถุประสงค์และสิทธิหน้าที่ของสมาชิก 3. ทัศนคติของนักศึกษามีความพอใจในระดับปานกลางในด้านสินค้า ด้านการบริการ ด้านคณะกรรมการและฝ่ายจัดการรวมทั้งด้านผลประ โยชน์ของสมาชิกนักศึกษามีความพอใจมากที่จะได้รับส่วนลดทันทีจากการซื้อสินค้าสหกรณ์และพอใจต่อโครงการบัตรสมาชิกที่จะใช้ลดราคาตามร้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน โครงการ 4. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ร้านสหกรณ์หาวิทยาลัยเชียงใหม่จำกัด อันดับ 1 คือทำเลที่ตั้งใกล้สถานที่พักหรือสถานศึกษา และปัจจัยรองมาคือได้รับเงินปันผลจากร้านสหกรณ์5. พฤติกรรมในการบริโภคสินค้าของนักศึกษา มูลค่าการซื้อสินค้าเฉลี่ยครั้งละ 50-100 บาท ความถี่ไม่แน่นอน ส่วนใหญ่ซื้อสินค้าวันธรรมดาหลังเลิกเรียน ประเภท สินค้าที่ซื้ออันดับ 1 คือของใช้เบ็ดเตล็ด อันดับ 2 คือเครื่องเขียน และอันดับ 3 คืออาหารและเครื่องดื่ม สิ่งจูงใจที่ทำให้ซื้อสินค้าคือการส่งเสริมการขาย การโฆษณาและประชาสัมพันธ์นักศึกษาใช้จ่ายที่ร้านสหกรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำกัด เฉลี่ย33เดือน/คน 6. การวิคราะห์ความแตกต่างในด้านทัศนคติและพฤติกรรมระหว่างที่เป็นสมาชิกและนักศึกษาที่ไม่เป็นสมาชิกร้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำกัด พบว่าทั้งทัศนคติและพฤติกรรมของนักศึกษาทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่ไม่แดกต่างกัน ปัญหาที่พบมากที่สุดในการใช้บริการจากร้านสหกรณ์มหาวิทยาลัยเ ชียงใหม่จำกัด คือปัญหาด้านสินค้า มีน้อยเกินไปและ เป็นสินค้าที่ไม่ตรงตามความต้องการ รองมาคือปัญหาด้านการบริการ พนักงานไม่สนใจลูกค้าและมารยาทไม่เหมาะสม และปัญหาต่อมาคือด้านเงินปันผลนักศึกษารู้สึกว่า เงินปันผลน้อยเกินไป | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | en_US |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ | en_US |
dc.subject | ร้านสหกรณ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำกัด | en_US |
dc.subject | สหกรณ์ร้านค้า | en_US |
dc.title | ความรู้พฤติกรรมการบริโภคและทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีต่อร้านสหกรณ์ กรณีศึกษา : ร้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำกัด | en_US |
dc.title.alternative | Chiangmai University undergraduate students' knowledge, consumption behavior, and attitudes toward the cooperative store, a case study : Chiangmai University Cooperative Store, Ltd | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
anucha-akarapisan.PDF | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.