Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2186
Title: ความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Other Titles: Demand for studying a master degree in the faculty of fine arts Chiangmai University
Authors: จิตต์อารีย์ กนกนิรันดร, jitaree kanoknirundorn
Keywords: คณะวิจิตร์ศิลป์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วิทยานิพนธ์
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
Issue Date: 1998
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ทราบถึงความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ของบุคคลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และนักศึกษาที่กำลังศึกษระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย ในกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพ และสถาบันราชภัฎเชียงใหม่ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 269 คน จากบุคคลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 96 คน และนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้าย จำนวน 173 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) สุ่มตัวอย่างโดยกำหนดโควต้า (Quota sampling) และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยใช้แบบสอบถามแบบปลายปิด (close-ended questionnaire ) นำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS ) ด้วยวิธีการหาค่าร้อยละ (Percentage) การหาน้ำหนักค่าเฉลี่ย(Weight mean score ) ของระดับความสัมพันธ์ และการทดสอบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ T-TEST กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศชายและเพศหญิงในจำนวนใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่เป็น นักศึกษา สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่ว่างงาน มีอายุระหว่าง 20- 23 ปี เป็นโสด นับถือศาสนาพุทธ มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000.- บาทความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะวิจิตรศิลป์ หาวิทยาลัยเชียงใหม่พบว่ากลุ่มที่มีความสนใจต้องการศึกษาในโปรแกรมภาคปกติ (เรียนวันจันทร์-วันศุกร์) ในสาขาวิชาศิลปะไทย โดยมีเหตุผลเพื่อต้องการเพิ่มวุฒิการศึกษา และมีความต้องการให้เสนอช้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการศึกษา โดยการติดประกาศตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า ปัจจัยด้านวัฒนธรรม ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านจิตวิทยา มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยด้านบุคคลมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในระดับมาก
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2186
Appears in Collections:Business Agriculture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jitaree-kanoknirundorn.PDF1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.