Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2178
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจิราลักษณ์ พิพัฒน์วงศ์ชัย, jiraluck pipatwongchai-
dc.date.accessioned2024-06-28T07:08:17Z-
dc.date.available2024-06-28T07:08:17Z-
dc.date.issued1999-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2178-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเดทะสิ่งทอในเขตจังหวัดเชียงใหม่ 2) หาแนวทางในการพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ จำนวน 36 รายที่ยังประกอบการอยู่ทั่วไปใน 20 อำเภอในเขตจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์(SPSS/PC') ผลการวิจัยที่ได้มีดังนี้ผู้ประกอบการเคหะสิ่งทอส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุประมาณ 41-50 ปีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งจะพบว่าผู้ ประกอบการส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนมีจำนวนแรงงานน้อยกว่า 10 คน กิจการส่วนใหญ่จะทำการผลิตและจัดจำหน่ายเอง โดยมีการจดทะเบียนในรูปของบริษัทจำกัด มีมูลค่าในการจดทะเบียน 1,000,000-5,000.,000 บาท และมีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมาแล้วส่วนใหญ่ 4-6 ปี ปัญหาของผู้ประกอบการที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดความต้องการในการพัฒนาบุคลากร พบว่า ปัญหาด้านการตลาด ได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะผลิตผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด ส่วนใหญ่มักจะเป็นการลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ที่ขายดี ทางค้านคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ ส่วนปัญหาค้านการเงินได้แก่ การขาคสภาพคล่องของกิจการ เนื่องจากการปล่อยเครดิตแล้วเกิดหนี้เสีย และปัญหาเกี่ยวกับการผลิต ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบได้ ทำให้เกิดต้นทุนผลิตภัณฑ์สูง และขาดแดลนผู้เชี่ยวชาญทางค้านรูปแบบและลวดลายของผ้าความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของผู้ประกอบการเคหะสิ่งทอ พบว่า ผู้ประกอบการต้องการเสริมสร้างความรู้เพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย ส่งเสริมการขาย เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานให้มากที่สุด ส่วนความต้องการทางด้านทักษะ คือ มีความต้องการทักษะในการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ เพิ่มทักษะในด้านเทคนิคมาตรฐานการผลิต เพื่อช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนในการผลิต และความต้องการทางค้านทัศนคติในการบริหารงาน คือ ผู้ประกอบการต้องการพัฒนาทางด้านทัศนคติในการบริหารงาน พัฒนาตนเองพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ รวมทั้งวิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการ เพื่อจะทำให้มีความสามารถในการมองภาพโดยรวมของตลาด และการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการเคหะสิ่งทอในจังหวัดเชียงใหม่พบว่า ปัญหาและปัจัยทางค้านการตลาด การเงิน การผลิต และการจัดการ ตลอดจนปัญหาทางค้านเทคนิควิทยาการที่ทันสมัย ทำให้ผู้ประกอบการมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพัฒนาตนเองให้มีศักขภาพเพียงพอที่จะนำมาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในและนอกประเทศ"en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.subjectการพัฒนาบุคลากรen_US
dc.subjectผู้ประกอบการen_US
dc.titleความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeNeed for personnel development of the home textile entrepreneurs in Chiangmaien_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jiraluck-pipatwongchai.PDF2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.