Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2162
Title: VALUE ADDED AND BUSINESS MODEL OF PROCESSED PORK PRODUCTS FOR ENTERPRISE COMMUNITY ON THE BASIS OF CIRCULAR ECONOMY CHIANG RAI PROVINCE
การสร้างมูลค่าเพิ่มและโมเดลธุรกิจของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเนื้อหมูของวิสาหกิจชุมชนบนแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียน จังหวัดเชียงราย
Authors: Kanyarat Saokaew
กัลญารัตน์ เสาร์แก้ว
Preeda Srinaruewan
ปรีดา ศรีนฤวรรณ
Maejo University
Preeda Srinaruewan
ปรีดา ศรีนฤวรรณ
preeda@mju.ac.th
preeda@mju.ac.th
Keywords: การสร้างมูลค่าเพิ่ม
โมเดลธุรกิจ
วิสาหกิจชุมชน
เศรษฐกิจหมุนเวียน
Value Added
Business Model
Community Enterprise
Circular Economy
Issue Date: 2024
Publisher: Maejo University
Abstract: This research aims to study the creation of added value and business models for pork processed food products of community enterprises based on the circular economy concept in Chiangrai province. It used a mixed method of qualitative and quantitative research.The sample group consisted of five people, the presidents of a pork processing community enterprise, using purposive sampling. In-depth interviews were conducted, and data from 250 processed pork consumers were collected from quota sample selection, totaling 250 people. Then, the random sample selection method was used.Screening questions are provided for specific groups of consumers who purchase processed pork. Data was collected through questionnaires and analyzed using qualitative and quantitative data in a design thinking format to create a business model for a pork processing community enterprise based on the concept of a circular economy in Chiangrai province. The study results found that the guidelines for creating added value for community enterprise in pork processing in Chiangrai province can be done by offering certified products. Moreover, the products must be fresh, day-to-day products and have a clean production process. Able to build confidence among consumers, including well-known and famous product, directly affecting the creation of interest among consumers. Consumers of famous products tend to guess that the taste is delicious. A trial purchase occurred, and taking photo to post on social media is considered necessary for public relation for community enterprise. In addition, providing services is deemed essential for operations as well. Community enterprises must give importance to providing nutritional information. Because it affects reliability, it makes consumers more confident in eating, including operations for community development. Helping each other will help build a good relationship, creating opportunities to sell community enterprise product. Community enterprises must have a visible storefront to sell products. Helps customers to be confident that there is no consumer fraud. It also helps to see and try the product before deciding to buy. Business models studies. The results of the study found that the business model for community enterprise processing pork products must focus on standardized production processes. The main customer group of the business is the group of consumers of processed pork. The wholesale customer group and customer groups receiving product production are also included. The results of this research resulted in a new business model with additional studies on the circular economy, called Business Model Innovation, making the business model more comprehensive in all issue and make the business model more precise and consistent with the context of community enterprise processing port products in Chiangrai province and can be used as information in designing guideline for creating added value and business models for community enterprise processing pork products in Chiangrai province in applying research results to effective operations to increase the competitiveness of community enterprise sustainably including other product processing community enterprises in Thailand that are interested in studying and applying business models to be consistent with the context of their community enterprise to create opportunities to operate community enterprises more efficiently, resulting in community enterprises gain strength and grow steadily.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา การสร้างมูลค่าเพิ่มและโมเดลธุรกิจของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเนื้อหมูของวิสาหกิจชุมชนบนแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียน จังหวัดเชียงราย ใช้วิธีแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประธานวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปเนื้อหมู จำนวน 5 คน ทำการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคเนื้อหมูแปรรูป จำนวน 250 คน ซึ่งได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา รวมทั้งหมด 250 คน จากนั้นใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยมีคำถามคัดกรองเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมการซื้อเนื้อหมูแปรรูป โดยการเก็บแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณมาวิเคราะห์ในรูปแบบ Design Thinking เพื่อใช้ในการสร้างโมเดลธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปเนื้อหมูบนแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียน จังหวัดเชียงราย ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปเนื้อหมู จังหวัดเชียงราย สามารถทำได้โดยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน อีกทั้งผลิตภัณฑ์จะต้องมีความสดใหม่ ผลิตภัณฑ์วันต่อวัน มีกระบวนการผลิตที่สะอาด สามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคได้ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จัก มีชื่อเสียง ส่งผลต่อการสร้างความสนใจให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรง ผลิตภัณฑ์ที่โด่งดัง ผู้บริโภคมักจะคาดเดาว่ารสชาติอร่อย เกิดการทดลองซื้อ และถ่ายรูปลงโซเซียล ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ให้วิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้การให้บริการถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินงานเช่นกัน วิสาหกิจชุมชนต้องให้ความสำคัญต่อการแจ้งข้อมูลด้านโภชนาการ เนื่องจากส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการรับประทาน รวมถึงการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชน การช่วยเหลือจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นำมาซึ่งการสร้างโอกาสในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชนต้องมีหน้าร้านจำหน่ายสินค้าที่เห็นได้ชัดเจน ช่วยให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจว่าไม่มีการหลอกลวงผู้บริโภค อีกทั้งช่วยให้เห็นสินค้าจริงและได้ทดลองชิมก่อนการตัดสินใจซื้อ ทั้งนี้พนักงานขายต้องความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในการให้ข้อมูลกับผู้ซื้อ มีใจบริการ (Service Mind) อัธยาศัยดี พูดคุยกับลูกค้าอย่างเป็นกันเอง ให้เกียรติต่อลูกค้า ช่วยให้เกิดความประทับใจสร้างโอกาสในการขายได้ อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ได้ คือ การออกแบบตราสินค้าให้มีความโดดเด่น มีเรื่องราวที่น่าสนใจ จะช่วยสร้างการจดจำแบรนด์และความสนใจของลูกค้า สร้างโอกาสในการบอกต่อได้อย่างแม่นยำ ทำให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์ของตนมากขึ้น การศึกษาเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจ ผลการศึกษาพบว่า โมเดลธุรกิจสำหรับวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อหมู กลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจ คือ กลุ่มผู้บริโภคเนื้อหมูแปรรูป กลุ่มลูกค้าขายส่ง และกลุ่มลูกค้ารับผลิตสินค้า โมเดลธุรกิจสำหรับวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อหมู ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การแจ้งให้ผู้บริโภคได้เข้าใจถึงที่มาของการปรับขึ้นราคาสินค้า นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพผ่านการรับรองมาตรฐาน กิจกรรมส่งเสริมการตลาด มีช่องทางการสั่งซื้อและการชำระเงินที่หลากหลาย ให้บริการหลังการขาย จัดส่งสินค้าฟรี และมีความซื่อสัตย์ จริงใจต่อผู้บริโภค รวมถึงประเด็นด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า การคัดสรรวัตถุดิบเป็นอย่างดี การนำเศษซากจากวัตถุดิบไปผลิตเป็นสินค้าอื่น การดำเนินงานโดยไม่ส่งผลเสียต่อส่งแวดล้อมในชุมชน และการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้รูปแบบโมเดลธุรกิจใหม่ที่มีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เรียกว่า นวัตกรรมโมเดลธุรกิจ (Business Model Innovation) ทำให้โมเดลธุรกิจเกิดความครอบคลุมมากขึ้นในทุกประเด็นปัญหา และทำให้โมเดลธุรกิจเกิดความชัดเจนเพิ่มมากขึ้นสอดคล้องกับบริบทของวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อหมู จังหวัดเชียงราย และสามารถใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มและโมเดลธุรกิจสำหรับวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อหมู จังหวัดเชียงราย ในการนำผลการวิจัยไปใช้ดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน รวมถึงวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในประเทศไทยที่สนใจศึกษาและนำโมเดลธุรกิจไปปรับประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของวิสาหกิจชุมชนของตนเอง เพื่อสร้างโอกาสในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น ส่งผลให้วิสาหกิจชุมชนเกิดความเข้มแข็งและเติบโตอย่างมั่นคง
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2162
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6306401002.pdf7.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.