Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2139
Title: | ผลกระทบของการเกษตรบนพื้นที่สูงต่อการชะล้างพังทลายระดับไร่นา:กรณีศึกษา ชนเผ่าปกาเกอะญอ บ้านห้วยส้มป่อย |
Other Titles: | Impact of highland agriculture on soil erosion at farm plot: A case study on Pra K'nyan Huai Sompoi |
Authors: | ประกายดาว ทรายคำ, Prakaydao Kaykum |
Keywords: | ปกาเกอะญอ บ้านห้วยส้มป่อย การเกษตรบนพื้นที่สูง |
Issue Date: | 2008 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | การศึกษาผลกระทบของการเกษตรบนพื้นที่สูงต่อการชะล้างพังทลายของดิน โดยเลือกพื้นที่ทํากินแปลงใหญ่ที่สุดของชุมชนที่เรียกว่าแปลงรวม และทําการสุ่มเลือกตามระดับความลาดชันของพื้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ระดับที่ 1) พื้นที่ที่มีความลาดชันตั้งแต่ 0-11% ระดับที่ 2) พื้นที่ที่มีความลาดชัน 12-20 เปอร์เซ็นต์ ระดับที่ 3) พื้นที่ที่มีความลาดชัน 21-35 เปอร์เซ็นต์ และระดับที่ 4) พื้นที่ที่มีความลาดชัน 35 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป การศึกษาพบว่าพื้นที่มีการสูญเสียดินมากที่สุด(30.530 ตันต่อไร่ต่อปี) คือกลุ่ม ระดับความลาดชันที่ 4 ที่ปลูกกะหลํ่าปลีอย่างเดียวในรอบ เทียบกับค่ากรมพัฒนาที่ดินอยู่ในกลุ่มที่มี การเสียดินจากพื้นที่ขั้นรุนแรง และพื้นที่ที่มีการสูญเสียดินน้อยที่สุด คือกลุ่มระดับความลาดชัน ระดับที่3 การใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นไร่ร้าง การสูญเสียดินจากพื้นที่ 0.0009 ตันต่อไร่ต่อปี เทียบกับ ค่ามาตรฐานจัดอยู่ในกลุ่มที่มีการสูญเสียดินน้อยมาก และค่าการสูญเสียดินเนื่องจากการทํา การเกษตรจากแปลงรวมในปี 2548 มีค่าการสูญเสียดิน 4,100.81 ตัน ต่อปี การสูญเสียธาตุอาหาร และค่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจ แปรผันตรงกับค่าการสูญเสียดิน ธาตุอาหารที่มีการสูญเสียมาก ที่สุคคือ ธาตุไนโตรเจนมีค่า 70.767 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เนื่องจากไนโตรเจนที่เคลื่อนที่ได้ดีในดิน จึง สูญเสีย เปลี่ยนรูป แปรสภาพได้ง่ายและเร็ว ส่วนฟอสฟอรัสสูญเสียน้อยที่สุด คือ0.000023 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เนื่องจากเป็นธาตุอาหารที่มีปริมาณน้อยในทุกแปลงตัวอย่างเมื่อเทียบกับธาตุ อาหารอื่นๆ ค่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจ มีค่าน้อยที่สุด คือ 0.05 บาทต่อไร่ต่อปี มากที่สุด 2,247.70 บาทต่อ ไร่ต่อปี ค่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากพื้นที่การเกษตรแปลงรวมในปี 2548 มีค่า 387,808 บาท ต่อปี ปัจจัยเร่งหลักที่ก่อให้เกิคความรุนแรงของการสูญเสียดินจากการศึกษาในครั้งนี้ คือ ปัจจัยด้านความลาดชันของพื้นที่ (S-factor)เป็นปัจจัยหลัก ส่วนปัจจัยรอง คือค่าปัจจัยด้านการ จัดการพืช (C-factor) และการอนุรักษ์ดิน (P-factor) |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2139 |
Appears in Collections: | SCI-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
prakaydao-kaykun.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.