Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2119
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประจวบ ตรีจักร์, prajuab trijak-
dc.date.accessioned2024-04-30T06:25:54Z-
dc.date.available2024-04-30T06:25:54Z-
dc.date.issued2002-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2119-
dc.description.abstractการวิจัยในเรื่องความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อระบบวนเกษตรในสวนป่าแม่หอพระ ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจของเกษตรกร ในด้านการเพิ่มปริมาณผลผลิตรวม และความยั่งยืนของระบบวนเกษตรพร้อมทั้งการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการผลิต รวมทั้งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคข้อขัดแย้ง และข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการดำเนินงานของระบบวนเกษตรในสวนป่าแม่หอพระ รวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด ที่เป็นเกษตรกรในสวนป่าแม่หอพระ อำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 40 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ซึ่งทดสอบความเชื่อมั่นแล้ว ปรากฎผลการวิจัยดังนี้ ก. ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมผู้ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย แต่งานแล้ว มีอายุเฉลี่ย 52 ปี มีระดับการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน สมาชิกในครัวเรือนที่ประกอบอาชีพแล้ว จำนวนเฉลี่ย 3 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน เช่นกัน มีที่ดินถือครองเพื่อการเกษตรของตนเองภายนอกสวนปำา และที่ดินเป็นของตนเองภายนอกสวนป่าเฉลี่ย 11 ไร่ถือครองที่ดินในสวนป่าเองนั้นเฉลี่ย 10 ไร่ ผู้ให้ข้อมูลมีร้ายได้เฉลี่ย 30,333.33 บาทต่อปี และมีรายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย20,218.75 บาทต่อปี ซึ่งเป็นรายจ่ายในการผลิตทางการเกษตรในสวนป่าเฉลี่ย 6,567.00 บาท ต่อปี และเป็นรายจ่ายอาชีพที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรภายนอกสวนป่าเฉลี่ย 1,973.50 บาท ต่อปีเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลเป็นสมาชิกหมู่บ้านป่าไม้ และเข้าร่วมประชุมทุกครั้งที่มีการประชุม ใช้ระบบป่ไม้-กสิกรรมในการปลูก มีระยะเวลาการทำงานในสวนปำาแม่หอพระเฉลี่ย 14 ปีพืชเกษตรที่ปลูกร่วมในสวนปำ คือ ข้าวไร่ เฉลี่ย 5 ไร่ ข้าวโพด เฉลี่ย 9 ไร่ ถั่วลิสง เฉลี่ย 5 ไร่ถั่วเขียวมัน เฉลี่ย 10 ไร่ รายได้อื่น ได้แก่ รับจ้างเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร และรับจ้างทั่วไปเกษตรกรมีความพึงพอใจด้านเทคนิคการผลิต และการนำระบบวนเกษตรไปใช้ในพื้นที่อื่นอยู่ในระดับมาก มีความพึงพอใจด้านการเพิ่มผลผลิต และการถ่ายทอดความรู้อยู่ในระดับปานกลาง โดยให้ความสำคัญกับหมวดราคาผลผลิต จำนวนผลผลิต และการได้รับการถ่ายทอดความรู้จากเพื่อนบ้าน ข. ปัญหาและอุปสรรคปัญหาที่พบได้แก่ ไม่มีเจ้าหน้าที่ของสวนป่าสาธิตหรือให้คำแนะนำการทำระบบวนเกษตรรวมทั้งอำนวยความสะดวกในด้านข้อมูลข่าวสาร นอกจากนั้นยังพบว่าแหล่งน้ำมีไม่เพียงพอ ไม่มีการบริการตรวจสอบสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน และทางสวนป่าไม่มีส่วนหาตลาดให้และไม่มีการประกันราคาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.subjectระบบวนเกษตรen_US
dc.subjectเชียงใหม่en_US
dc.subjectระบบเกษตรกรรมen_US
dc.subjectวนเกษตรen_US
dc.titleความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อระบบวนเกษตรในสวนป่าแม่หอพระ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFarmers' satisfaction with agroforestry in Mae Hophra pkantation, Chiang Maien_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prajuab-trijak.PDF1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.