Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2107
Title: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักทางหลวงที่ 1 (เชียงใหม่) กรมทางหลวง |
Other Titles: | The humai resource development of the bureau of highway 1 (Chiang Mai), department of highways |
Authors: | สุรัตน์ ญาณไพศาล, surat yanphaisan |
Keywords: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กรมทางหลวง |
Issue Date: | 1999 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการและสภาพการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักทางหลวงที่ 1 กรมทางหลวง 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคคลระดับต่าง ๆ ของสำนักทางหลวงที่ 1 กรมทางหลวง 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักทางหลวงที่ 1 กรมทางหลวงกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ทำการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยนี้ ได้แก่ ข้าราชการในสำนักทางหลวงที่ 1 (เชียงใหม่) กรมทางหลวง และแขวงการทางในสังกัดคือ แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 1 แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 2 แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 3 แขวงการทางลำปางแขวงการทางลำพูน และแขวงการทางแม่ฮ่องสอน จำนวนทั้งสิ้น 179 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนววัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window ผลการวิจัยแบ่งเป็น 4 ตอน คือตอนที่ 1 สถานภาพส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม พบว่า ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 63.7 รับราชการอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ สวนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 67.0 มีอายุอยู่ในช่วง 36-45 ปี มีสถานภาพสมรสแล้ว ร้อยละ 39.7 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 35.8 มีอายุ ราชการในช่วง 21-30 ปี ร้อยละ 79.9 ปฏิบัติงานในกลุ่มปฏิบัติการ โดยมีลักษณะงานที่รับผิดชอบเป็นงานบริหารถึงร้อยละ 45.3 ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสวนใหญ่ร้อยละ 88.3 จะเคยเข้ารับการฝึกอบรมตอนที่ 2 ความคิดเห็นที่มีต่อวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักทางหลวงที่ 1 (เชียงใหม่) กรมทางหลวง พบว่า ผู้ให้ข้อมูลทั้งกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มปฏิบัติการเห็นด้วยกับนโยบายที่ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ค่าเฉลี่ย 3.863 และ 3.819) ในด้านการศึกษาควรสนับสนุนให้มีการศึกษาต่อด้วยทุนของตนเองและทุนของรัฐบาลภายในประเทศ (ค่าเฉลี่ย 3.333 และ 3.545) ในด้านการพัฒนานั้นจะจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง โดยจัดหลักสูตรให้เหมาะสมกับความจำเป็นของแต่ละหน่วยงาน (ค่าเฉลี่ย 3.688 และ 3.660) ตอนที่ 3 ความคิดเห็นที่มีต่อสภาพปัญหาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักทางหลวงที่ 1 (เชียงใหม่) กรมทางหลวง พบว่า มีการกำหนดนโยบายไม่ชัดเจนงบประมาณไม่เพียงพอ ตลอดจนวิธีการไม่สอดคล้องกับนโยบายที่กำหนด ไม่มีแผนฝึกอบรมและพัฒนาในระยะยาว (คำเฉลี่ย 3.690 และ 3.468) บุคลากรไม่เข้าใจต่อเป้าหมายของการฝึกอบรมและพัฒนาในแต่ละครั้ง (ค่าเฉลี่ย 3.162 และ 2.942) การคัดเลือก วิธีการ และสถานที่ฝึกอบรมไม่เหมาะสมและยุติธรรม (ค่าเฉลี่ย 3.151 และ 3.073) ตอนที่ 4 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักทางหลวงที่ 1 (เชียงใหม่) กรมทางหลวง พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีข้อเสนอแนะให้องค์การควรมีการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้ชัดเจน มีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงโครงการฝึกอบรมต่างๆ ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลอย่างจริงจัง" |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2107 |
Appears in Collections: | Business Administration |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
surat-yanphaisan.PDF | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.