Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2102
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวราภรณ์ ดวงแสง, varaporn doungsang-
dc.date.accessioned2024-04-24T08:49:50Z-
dc.date.available2024-04-24T08:49:50Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2102-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องความเข้มแข็งในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในเขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการคำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในเขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาดวามเข้มแข็งในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในเขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มข็งในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในเขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ หน่วยในการวิจัยครั้งนี้มีหน่วยเป็นกองทุน ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยคือ ประธานหรือดณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอแม่แตงจำนวน 88 กองทุน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมคือแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความตรงของเนื้อหา(content validity) และความเชื่อมั่น (reliability) แล้วนำข้อมูลที่ได้มามาถอครหัสและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Statistical Package for Social Sciences:SPSS) ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอแม่แตง มีจำนวนสมาชิกสูงสุด 427 คน และต่ำสุด 46 คน โดยเฉลี่ยกองทุนมีสมาชิก 132 รายต่อกองทุน เก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าโดยเฉลี่ยรายละ 17 บาท ในส่วนของการเก็บเงินฝากด่หุ้นนั้น กองทุนเก็บเงินฝากค่หุ้นเฉลี่ยหุ้นละ 12 บาทนอกจากนั้นกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนมีอัตราคอกเบี้ยในการกู้ยืมโดยเฉลี่ย ร้อยละ 7.08 และปล่อยกู้ให้สมาชิกโดยเฉลี่ยกองทุนละ 98 ราย กองทุนมีปริมาณเงินอนุมัติเป็นจำนวนเงินโดยเฉลี่ย 1,29,428 บาทต่อกองทุน ในส่วนของการใช้งินกู้ของสมาชิกตามวัตถุประสงค์พบว่าส่วนใหญ่สมาชิกมีวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินเพื่อการเกษตร กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองร้อยละ 87.50 มีการเก็บเงินสะสมรายเดือนและมีความชัดเจนของระบบบัญชี โดยกองทุนเหล่านี้มีผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชี 2. ความเข้มแข็งในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในเขตอำเภอแม่แดง พิจารณาตามความเห็นของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอแม่แตง จากองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ การมีส่วนร่วมของผู้นำทางความคิดในชุมชนระเบียบกฎเกณฑ์ โครงสร้างการบริหารงาน การเรียนรู้และเชื่อม โยงเครือข่ายและผลของกองทุนที่มีต่อสมาชิก ซึ่ง ผลการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบมีดังนี้ 2.1 การมีส่วนร่วมของผู้นำทางความคิดในชุมชน พบว่าโคยภาพรวมผู้นำทางความคิดในชุมชนจะมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนมาก เนื่องจากผู้นำทางความคิดในชุมชนส่วนใหญ่จะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานหรือคณะกรรมการกองทุน ผู้นำทางความคิดจึงมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนในระดับมาก 2.2 ระเบียบกฎเกณฑ์ โดยภาพรวมพบว่า กองทุนจัดทำระเบียบกฎเกณฑ์ของกองทุนร่วมกันในชุมชน ระเบียบกฎเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนออกได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิก การอนุมัติเงินกู้เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ของกองทุน และการจัดทำบัญชีเป็นไปด้วยความถูกต้องรวมทั้งคณะกรรมการกองทุนได้รายงานผลการดำเนินงานตามข้อบังคับกองทุนอย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วพบว่า ระเบียบกฎเกณฑ์ของกองทุนมีความชัดเจนอยู่ในระดับมาก เนื่องจากระเบียบกฎเกณฑ์ของกองทุนจะต้องอยู่ภายใต้ระเบียบของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ 2.3 โครงสร้างการบริหารงาน โดยภาพรวมพบว่า กองทุนมีความชัดเจนในโครงสร้างการบริหารงานและการแบ่งหน้าที่ของคณะกรรมการ กองทุนมีหลักฐานในการรับจ่่ายเงินที่สามารถตรวจสอบได้ โคยคณะกรรมการกองทุนร่วมกันตรวจสอบและดูแลผลประโยชน์ของกองทุนในระดับมาก เนื่องจากระเบียบของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการ ตลอดจนกำหนดให้คณะกรรมการมีหน้าที่ตรวจสอบและกำกับดูแลผลประโยชน์ของกองทุน จึงส่งผลให้โครงสร้างการบริหารงานของกองทุนมีความชัดเจนในระดับมาก 2.4 การเรียนรู้และเชื่อมโยงเครือข่าย โดยภาพรวมพบว่า กองทุนมีการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกและมีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกองทุน ตลอดจนมีการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนมีการสร้างเครือข่าย และมีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพในระดับปานกลาง 2.5 ผลของกองทุนที่มีต่อสมาชิก โดยภาพรวมพบว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอแม่แตงแสดงความเห็นว่า กองทุนหมู่บ้านมีผลต่อการพัฒนาความเป็นอยู่ของสมาชิก โคยเฉพาะสมาชิกกองทุนนำเงินที่ได้รับอนุมัติกู้ไปใช้ในการพัฒนาอาชีพมีการรวมกลุ่มกันของสมาชิกในชุมชนเกิดการสร้างงาน สมาชิกมีรายได้เพิ่มจากการนำเงินที่ได้รับอนุมัติผู้ไปใช้ในการลงทุน ฐานะทางเศรษฐกิจของสมาชิกดีขึ้น และผลผลิตทางการเกษตรมีปริมาณเพิ่มขึ้นในระดับมาก เมื่อพิจารณาความเข้มแข็งในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอแม่แตงโดยภาพรวมตามความคิดเห็นของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านแล้วพบว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอแม่แตง ส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.80 มีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการมากถึงมากที่สุด เนื่องจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเป็นผู้ดูแถ สนับสนุนให้การฝึกอบรมและแนะนำแนวทางการคำเนินงาน รวมทั้งมีการสร้างเครือข่ายระหว่างกองทุนในระดับอำเภอและจังหวัด จากการวิจัยพบว่าสมาชิกมีความเป็นอยู่ดีขึ้น เศรษฐกิจในชุมชนดีขึ้นและสมาชิกมีการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพ ภายหลังการคำเนินงานกองทุนซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากองทุนให้ผลในทางที่ดีต่อสมาชิก ในกองทุนที่มีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการน้อยถึงต้องปรับปรุง ร้อยละ 17.00 นั้นมีการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนและผู้นำกองทุนน้อย การเรียนรู้และเชื่อมโยงเครือข่ายของสมาชิก การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกองทุน การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาอาชีพของสมาชิกกองทุน ตถอดจนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และศึกษาดูงานระหว่างกองทุนของคณะกรรมการขังอยู่ในระดับน้อยถึงต้องปรับปรุง กองทุนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ห่างไกลจากตัวอำเภอ การเดินทางและการติดต่อเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทำให้คณะกรรมการกองทุนขาดการติดต่อกับเครือข่ายและขาดการสนับสนุนฝึกอบรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การติดต่อจะต้องติดต่อผ่านกำนันหรือผู้ที่มาติดต่อราชการกับทางอำเภอ ซึ่งทำให้การสื่อสารเกิดความคลาดเคถื่อน ส่งผลให้กองทุนมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการในระดับน้อยถึงต้องปรับปรุง 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเรียงจากมากไปหาน้อยจำนวนสมาชิกและการมีผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีตามลำคับ ทั้งนี้ปีงจัยทั้งหมดรวมกันอธิบายความผันแปรของความเข้มแข็งในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้ร้อยละ26.40 (R? = 0.264 ; P < 0.05) ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตอำเภอแม่แตง ที่มีสมาชิกจำนวนมากและมีผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีมีแนวโน้มที่จะมีความเข้มแข็งมากกว่ากองทุนที่มีจำนวนสมาชิกน้อยและไม่มีผู้รับผิคชอบบัญชี"en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.subjectกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองen_US
dc.subjectเชียงใหม่en_US
dc.subjectกองทุนหมู่บ้านen_US
dc.subjectชุมชนเมืองen_US
dc.titleความเข้มแข็งในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในเขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeStrength in Management of Village and Urban Community Funds in Maetang District, Chiang Maien_US
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
varaporn-doungsang.PDF2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.