Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2098
Title: ประเมินผลโครงการพัฒนาสหกรร์การเกษตรเชิงธุรกิจ กรณีศึกษา: หน่วยที่ปรึกษาการจัดการสหกรณ์ที่ 6 (ปี 2538-2540)
Other Titles: Assessment of agricultural cooperative on business development project : Case study of the sixth management consulting unit (in 1995-1997)
Authors: ไชยา บุญญานุภาพ, chaiya boonyanupap
Keywords: โครงการพัฒนาสหกรณ์การเกษตรเชิงธุรกิจ
การประเมินผล
การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตร
สุโขทัย
แพร่
พิษณุโลก
พิจิตร
น่าน
Issue Date: 2003
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1 เพื่อประเมินความสัมฤทธิ์ผลของโครงการทางเศรษฐกิจและสังคมของสหกรณ์เป้าหมาย 2 เพื่อประเมินเจตคติของคณะกรรมการดำเนินการและฝ่ายจัดการของสหกรณ์เป้าหมาย ถึงผลกระทบที่ได้รับจากโครงการ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของโครงการพัฒนาสหกรณ์การเกษตรเชิงธุรกิจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะกรรมการและฝ่ายจัดการสหกรณ์เป้าหมาย ในปี 2538 เฉพาะกรณีศึกษาของหน่วยที่ปรึกษาการจัดการสหกรณ์ที่ 6 จำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ 138 คน จาก 8 สหกรณ์เป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้รวบรวมคือ แบบสัมภาษณ์แล้วนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC +และโปรแกรม Microsoft Excel ใช้การศึกษาเป็นการพรรณาความด้วยการแสดงคำในรูปร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ต่ำสุดและค่าเบียงเบนมาตรฐานผลการศึกษาสรูปโดยย่อ ดังนี้ 1. คณะกรรมการดำเนินการ มีอายุเฉลี่ย 52 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาละ 34.06 อายุการดำรงตำแหน่ง 1-5 ปี ร้อยละ 34.78 ฝ่ายจัดการสหกรณ์มีอายุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวช.ขึ้นไปจนถึงปริญญาตรีคิดเป็น ร้อยละ 31.11 อายุการดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วง 6-15 ปี ร้อยละ 23.19 2. คณะกรรมการดำเนินการและฝ่ายการจัดการสหกรณ์ มีเจตคติในระดับ กลาง" ต่อการปฏิบัติงานตามโครงการพัฒนาสหกรณ์การเกษตรเชิงธุรกิจ (ค่าเฉลี่ย 3.24) ประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรในระดับ "ป่านกลาง" (ค่าเฉสี่ย 3.39) ได้รับประโยชน์ในการบริหารและการจัดการธุรกิจในระดับ "มาก" (คำาเฉลี่ย 341) ถือว่าประสบความสัมฤทธิ์ผลทางสังคม 3. การดำเนินการของสหกรณ์เป้าหมายหลังจากสิ้นโครงการพัฒนาสหกรณ์การเกษตรเชิงธุรกิจ เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานจังหวัดในหมวดความเข้มแข็ง, หมวดความมั่นคง,หมวดการขยายตัวทางธุรกิจ , หมวดผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจ ปรากฎว่ามีสหกรณ์ที่มีผลการดำเนินการสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 8 สหกรณ์ ถือว่า "ได้มาตรฐาน" แสดงว่าประสบผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจ4. สภาพปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามโครงการพบว่า 1) ที่ปรึกษามีจำนวนน้อยและมีเวลาว่างน้อย ไม่สามารถเข้าให้คำปรึกษาแก่สหกรณ์เป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง 2) คณะกรรมการพัฒนาสหกรณ์การเกษตรเชิงธุรกิจระดับจังหวัด ไม่มีการติดตามประเมินผลโครงการ จึงขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 3 ขั้นตอนการปฏิบัติงานตามโครงการ มีขั้นตอนมากถึง 12 ขั้นตอน จึงเสียเวลาในการทบทวนขั้นตอนต่าง ๆ ในการปฏิบัตินานถึง 1 ปึ จึงเสียโอกาสในการดำเนินการ 4หน่วยที่ปรึกษาการจัดการสหกรณ์ที่ 6 ได้รับเป้าหมายที่ต้องปฏิบัติมากเพิ่มขึ้นทุกปี รวม 50 สหกรณ์จึงไม่สามารถสนับสนุนนำที่ปรึกษาเข้าให้การปรึกษากับ สหกรณ์เป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2098
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chaiya-boonyanupap.PDF2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.