Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2078
Title: | ความคิดเห็นของบุคลากรในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ที่มีต่อการทำประกันชีวิต |
Other Titles: | Peoples' opinion of life insurance in maharj nakorn Chiang Mai hospital |
Authors: | ดารา แสงบุญเรือง, dara-sangboonreung |
Keywords: | โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ประกันชีวิต |
Issue Date: | 1997 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | สารสกัดใบฝรั่ง (Psidium Guajava L inn.) และสารสกัดจากเปลือกผลมะคำดีควาย(Sapindus rarak DC.) ถูกศึกษาเป็นสารต้านเชื้อแบคที่รีบสำหรับการประยุกต์ในสิ่งทอตกแต่งสำเร็จค้านเชื้อแบคที่เรีย วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ เพื่อเตรียมและทคสอบผ้าฝ้ายที่มีฤทธิ์ด้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งตกแต่งสำเร็จด้วยสารสกัดธรรมชาติและไมโครแคปซูลที่บรรจุสารสกัดธรรมชาติ ไมโครแคปชุลที่บรรจุสารสกัดธรรมชาติถูกเตรียมด้วยปฏิกิริยาอินชิทูพอลิเมอไรเซชัน(in situ polymerization) โดยใช้ยูเรียและฟอร์มัลดีไฮด์เป็นวัสดุผนังสำหรับการห่อหุ้ม อัตราส่วนของสารสกัดต่อยูเรียถูกแปรผันเป็นห้าอัตราส่วนได้แก่ 1/5, 25, 3/5, 4/5 และ ร/ร เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่เหมาะสมต่อการกักเก็บสูงที่สุด คุณภาพของไมโครแคปซูลถูกวิเคราะห์ โดยใช้เครื่องฟูเรียทรานสฟอร์มอินฟาเรดสเปดโทรมิเตอร์ (FTIR) กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (OM)กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (SEM) เครื่องวัดขนาดอนุภาคและการวิเคราะห์เชิงความความร้อน(TGA) ฟูเรียทรานสฟอร์มอินฟาเรดสเปคตราของในไมโครแคปซูลบรรจุสารสกัดใบฝรั่งปรากฏ แถบการดูดซับที่ความถี่ 1444 ต่อเซนติเมตร และ 1118 ต่อเซนติเมตร ฟูเรียทรานสฟอร์มอินฟาเรดสเปคตราของไมโครแคปซูลบรรสารสกัดมะคำดีควายในไมโครแคปซูลปรากฎแถบการดูดซับที่ 1650 ต่อเซนติเมตร 1554 ต่อเซนติเมตร และ 3700-3000 ต่อเซนติเมตร ซึ่งกว้างกว่าไมโครแคปซูลที่ไม่บรรจุสารสกัด ลักษณะสัณฐานของไมโครแคปซูลที่ไม่บรรจุสารสกัดมีอนุภาคเป็นทรงกลม ไมโครแคปซูลที่บรรจุสารสกัดใบฝรั่งมีอนุภาคทรงกลม แต่จะมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ซึ่งถูกพบได้เมื่ออัตราส่วนของสารที่กักเก็บต่อผนังมากกว่า 3/5 ขณะที่ไมโครแคปซูลที่บรรจุสารสกัดมะคำดีควาชมีรูปร่างทรงกลมที่เล็กกว่าไมโครแคปชลที่ไม่บรรจุสารสกัด ผลของไดอะแกรมจากการวิเคราะห์เชิงความร้อนแสดงให้เห็นว่า ไมโครแคปซูลที่บรรจุสารสกัดใบฝรั่ง (ที่อัตราส่วนน้ำหนักสารสกัดต่อยูเรียที่ 1/5, 3/5 และ 5/5) แสดงอุณหภูมิที่เกิดการ สูญเสียน้ำหนักที่ 260, 250 และ 235 องศาเซลเซียส ตามลำดับ สำหรับผลการวิเคราะห์เชิงความร้อนของไมโครแคปซูลที่บรรจุสารสกัดมะคำดีควาย (ที่อัตราส่วนน้ำหนักสารสกัดต่อยูเรียที่ 1/5, 3/5 และ 5/5) แสดงอุณหภูมิที่เกิดการสูญเสียน้ำหนักที่ 260, 250 และ 275 องศาเซลเซียส ตามลำดับหลังจากนั้น สารสกัดธรรมชาติและไมโครแคปซูลที่บรรจุสารสกัดได้ถูกนำมาใช้กับผ้าฝ้ายโคยวิธีการพิมพ์กับตัวเชื่อมจับ การประเมินฤทธิ์ด้านเชื้อแบคทีเรียเชิงคุณภาพทคสอบ โดยใช้วิธีเอก้าร์ดิฟฟิวชัน (agar diffusion method) และวิธีมาตรฐานเอเอทีซีซีหนึ่งสี่เจ็ด-สองพันสี่(AATCC 147-2004) ทดสอบกับเชื้อเอสเซอริเซียคอไล (Esherichia coli, E.col) และเชื้อสเตป-ฟิ โลคอกคัสออเรียส (Staphylococcus aureus, S.aureus) ผ้าฝ้ายที่ผ่านการตกแต่งสำเร็จด้วยสารสกัดใบฝรั่ง ไมโครแคปซูลที่บรรจุสารสกัดใบฝรั่งสารสกัดมะดำดีควาย และไมโครแคปซูลที่บรรจุสารสกัดมะคำดีควายมีฤทธิ์ต้านเชื้อเชื้อสเตปฟิ โลคอกคัสออเรียส แต่ไม่มีผลต่อเชื้อแบคทีเรียเอสเซอริเซียคอไล ผ้าที่ตกแต่งสำเร็จ ไม่มีความคงทนต่อการซักล้างหลังจากการซักล้างครั้งที่ 1 และ 2 สุดท้ายปริมาณฟอร์มัลดีไฮค์อิสระบนผ้าที่ตกแต่งสำเร็จด้วยสารสกัดใบฝรั่ง สารสกัดมะคำดีควายไม โครแคปซูลที่บรรจุสารสกัดใบฝรั่ง และ ไมโครแคปซูลที่บรรจุสารสกัดมะคำดีควาย มีค่าเท่ากับ0.30 0.32, 1.51 และ 0.69 หนึ่งส่วนในล้านส่วน (pm) ต่อน้ำหนักเป็นกรัมของผ้า ตามลำดับ การวิจัยเกี่ยวกับความคิดเห็นของบุคลากรในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ที่มีต่อการทำประกันชีวิต นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ) ศึกษาถึงมูลเหตุที่บุคลากรในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ทำประกันชีวิตและไม่ทำประกันชีวิต 2) ศึกษาถึงปัถูหาในการรับบริการ และความคิดเห็นของบุคลากรในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ที่มีต่อบริษัทประกันชีวิตและตัวแทนประกันชีวิตการวิจัยในครั้งนี้รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และใช้วิธีการลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Randon Sampling) และได้สุ่มตัวอย่างจากบุคลากรในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มช้าราชการ 203 ราย และกลุ่มลูกจ้าง 80 ราย รวมทั้งสิ้น 283 ราย ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรที่ทำประกันชีวิต คิดเป็นร้อยละ 46.7 และไม่ทำประกันชีวิตร้อยละ 53.7 บุคลากรที่ทำประกันชีวิตส่วนใหญ่ซื้อกรมธรวม์จากตัวแทนประกันชีวิต เนื่องจากพอใจในคำชี้แจงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ และ เหตุจูงใจที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจทำประกันชีวิต คือ ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยสำหรับตน องและครอบครัว ร้อยละ 70. 45 เหตุผลของผู้ที่ไม่ทำประกันชีวิต มีสาเหตุเนื่องมาจากไม่มีเงินเหลือพอที่จะจ่ายเบี้ยประกัน ร้อยละ 26.79 บุคลากรที่ทำประกันชีวิตให้เหตุผลในการทำประกันชีวิตว่า ต้องการความมั่นคงปลอดภัย ทำให้ครอบครัวมีหลักประกัน และ เมื่อทำการทดสอบตามกลุ่มอาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0. 05 ในเรื่องของการทำประกันชีวิต บุคลากรทั้งสองกลุ่ม มีความเห็นตรงกันว่า เป็นความมั่นคงปลอดภัยทำให้ครอบครัวมีหลักประกัน และ เมื่อพิจารณาในด้านของตัวแทน และบริษัทประกันชีวิต บุคลากรที่ทำประกันชีวิตเห็นว่า บริษัทประกันชีวิตมีฐานะมั่นคง แต่บุคลากรที่ยังไม่ได้ทำประกันชีวิต กลับเห็นว่าบริษัทประกันชีวิต เอาเปรียบลูกค้าในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน และอาชีพตัวแทนประกันชีวิต ก็ทำเป็นงานอดิเรกเท่านั้นนอกจากนี้บุคลากรทั้ง 2 กลุ่ม ได้ให้ข้อเสนอแนะสิ่งที่ควรปรับปรุงในธุรกิจประกันชีวิตดังนี้คืออัตราเบี้ยประกันควรปรับเบี้ยประกันให้เหมาะสมตัวแทนประกันชีวิตมีมาตรฐาน โดยกำหนดระดับการศึกษาขั้นต่ำให้สูงขั้นแบบของการประกันชีวิตระบุเงื่อนไข เกี่ยวกับผลประโยชน์ให้รัดกุมบริษัทประกันชีวิตสร้างภาพพจน์ของบริษัทให้ดีขึ้นกว่าเดิม" |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2078 |
Appears in Collections: | Business Administration |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
dara-sangboonreung.PDF | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.