Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2043
Title: ความพึงพอใจของเกษตรกรในการร่วมโครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : กรณีศึกษาในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
Other Titles: farmers' satisfaction upon joining feed corn production : a case study in muang district, uttaradit pronvince, thailand
Authors: วิชัย มะลิซ้อน
Keywords: การส่งเสริมการเกษตร
อุตรดิตถ์
เกษตรกร
ข้าวโพด
Issue Date: 1995
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง (1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมข อง เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์จังหวัดอุตรดิตถ์ (2) ความพึงพอใจของเกษตรกรในการร่วมโครงการและ (3) ปัญหาอุปสรรคของ เ กษดรกรในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผู้ให้ช้อมูลในการศึกษาครั้งนี้คือเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนข้าวนาปรังในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ทิ้งหมด จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมช้อมูล คือแบบสัมภาษณ์ที่ได้ทดสอบความตรงและความเที่ยงแล้วและใช้สถิดิความถี่ ร้อยละค่ามัชฌิมเลขคณิตและค่าเยี่ยงเบนมาตรฐานในการสรุปข้อมูลผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรโดยเฉลี่ยมีอายุ 45 ปี ส่วนมากมีการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีสมาชิกในครอบครัว 4 คน และมีแรงงานในครอบครัว 3 คนเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเฉลี่ย 7 ไร่ครึ่ง และถือครองที่ดินเป็นของตนเ อง โดยอาศัยแรงงานในครอบครัวทั้งหมด มีผลผลิตเฉลี่ยทั้งโครงการ 853 กิโลกรมต่อไร่ และ เกษตรกร เกือบทั้งหมดใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์คาร์กิลล์ 733(ร้อยละ 90) (9)เกษตรกรผู้เช้าร่วมโครงการมีความพีงพอใจในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ ในระบบการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระบบการส่งเสริมและการจัดการและพึงนอใจการดำ เนินงานของหน่วยงานเอกชนเกี่ยวกับการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกษตรกรผู้ร่วมโครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ระบุว่าปัญหาและอุปสรรคในด้านระบบผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คือ เกษตรกรไม่มีลานตากผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไม่มีเครื่องกะเทาะเมล็ดข้าวโพด เป็นของตนเองและช่วงระยะเวลาการเพาะปลูกล่าช้าทำให้ช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพด ตรงกับระยะฝนตกปัญหาอีกประการหนึ่งคือมีหนูระบาดในช่วงผลผลิตติดฝักจนถึงฝักแก่นอกจากนี้ยังพบว่าสภาพดินเพาะปลูกของเกษตรกรเป็นดินเหนียวจัด การระบายน้ำไม่ดีในด้านการส่ง เสริมและการจัดการผู้ให้ข้อมูลระว่าได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดปุ๋ยเคมี รวมทั้งสารเคมีป้องกันและกำจัดศัดรูพืชล่าช้า การจัดสรรน้ำและ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการ เกษตรมีน้อย ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการไม่ทั่วถึงสำหรับปัญหาอุปสรรค เกี่ยวกับการตลาดของข้าวโพด เลี้ยงสัตว์พบว่าจุดรับซื้อและรวบรวมผลผลิตของ เกษตรกรมีน้อยและอยู่ห่างไกลประกอบกับความชื้นของผลผลิตในช่วงเก็บเกี่ยวสูงทำให้ได้ราคาต่ำ"
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2043
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vichai-malisorn.PDF1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.