Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2031
Title: ผลประเมินรายการวิทยุโทรทัศน์ "พลิกฟื้นคืนชีวิตเกษตรกรไทย" ของเกษตรกรอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: evaluation of the program "bring back thai farmers lives" maetaeng chiangmai
Authors: ภัทราภรณ์ ดีสลิด
Keywords: เกษตรกร
ความพึงพอใจ
Issue Date: 2004
Publisher: Maejo University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของเกษตรกร2) พฤติกรรมการรับชมรายการของเกษตรกร 3) ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ 4)ประเมินผลกระทบของรายการ และ 5) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงรายการ โดยการสุ่มตัวอย่างเกษตรกรจำนวน 108 คน ที่อยู่ในโครงการพักชำระหนี้และลคการะหนี้ของเกษตรกรรายย่อย ในเขตพื้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ การชุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (muli-stagerandom sampling) การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสัมภาษณ์ที่ออกแบบให้ตอบสนองวัตถุประสงค์การวิจัย มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่ 0.85 จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) และใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (perccntage) ค่าเฉลี่ยด่ามัชฌิมเลขคณิต (arithmetic mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) สรุปผลการวิจัยคังนี้ 1.ลักษณะทางประชากรศาสตร์ เกษตรกร 8 ใน 10 คน เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.10 ปี ประกอบอาชีพการเกษตรมาเฉลี่ย 22.03 ปี ส่วนใหญ่จบระดับประถมศึกษา และสมรสแล้วเกษตรกรทุกคน เป็นสมาชิก ธ.ก.ส. อาชีพหลักคือ การปลูกพืชไร่ มีพื้นที่การเกษตรเฉลี่ยดรอบครัวละ 5.0ร ไร่ มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 2,480.56 บาทคน ส่วนของครอบครัวมีรายได้เฉถี่ย 3,618.06 บาท ต่อเดือน เกษตรกรมีภาระหนี้สินกับธนาการเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและหนี้สินจากแหล่งอื่น เฉลี่ยครอบครัวละ 46,423.15 บาท ภายหลังจากการเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 79.6 มีจำนวนหนี้สินเท่าเดิม2. พฤติกรรมการรับชม/ รายการ เกษตรกรทั้งหมดเคยรับชมรายการพลิกฟื้นคืนชีวิต เกษตรกรไทย มาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง เกษตรกร ร้อยละ 74.1 ระบุว่ารับชมน้อยมากโดยเช้าหน้าที่เกบตรคำบล/กษตรอำเภอเป็นผู้แนะนำเหตุผลในการเปีดชมเพราะต้องการได้รับความรู้ไหม่องค์ประกอบของรายการที่เกษตรกรกว่าครึ่งชอบ คือ การเปีดรายการ ผู้ดำเนินรายการ การตอบปัญหาข้อข้องใจและการมีส่วนร่วมในรายการส่วนองค์ประกอบที่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ชอบ ได้แก่ รูปแบบรายการ เนื้อหาสาระที่นำเสนอ การสัมภายณ์บุคคลในรายการ และช่วงเวลาที่ออกอากาศเกษตรกรต้องการชมเรื่องที่สอดคล้องกับกิจกรรมและทรัพยากรการผลิตของเกษตรกรราย่อย เช่น การปถูกข้าว ข้าวโพด กระเทียม การเกษตรผสมผสาน การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ไก่ สุกร โค ตลอดจนการตลาดและการแปรรูปผลผลิตการเกษตร 3. ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อรายการ เกษตรกรมีความพึงพอใจระดับปานกลางเกี่ยวกับความชัดเจนของภาพ เสียง การได้ความรู้ใหม่ ๆ การลำดับเนื้อหา ความน่าเชื่อถือและการมีส่วนร่วมในรายการ เกษตรกรมีความพอใจน้อยในเรื่องเนื้อหาไม่ตรงความต้องการของเกษตรกรและชุมชน รูปแบบรายการไม่น่าสนใจ และช่วงเวลาที่ออกอากาศ เกษตรกรไม่พอใจ เรื่องการประชาสัมพันธ์รายการ 4. ผลกระทบของรายการต่อเกษตรกร เนื่องจากเวลาในการออกอากาศไม่เหมาะสมและเนื้อหาห่างไกลจากวิถีชีวิตของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ระบุว่ารายการมีประโยชน์และผลกระทบต่อเกษตรกรน้อยมาก เนื้อหาสาระอาจทำให้มีความรู้มากขึ้น มีเจตคดิที่ดีต่ออาชีพแต่ไม่ทำให้เกิดทักษะทางการเกษตรใหม่ ๆ และไม่ทำให้คุณภาพชีวิตของครอบครัวเกษตรกรดีขึ้น 5. ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงรายการ เกษตรกรกว่าร้อยละ 80 ต้องการให้เปลี่ยนรูปแบบรายการใหม่เป็นรูปแบบการสาธิดและสัมภาษณ์เกษตรกรในไร่นา หรือผสมผสานรายการหลายรูปแบบโดยเบ่งเนื้อหาเป็นช่วง ๆ เนื้อหาสาระ ควรสอดคล้องกับกิจกรรมของเกษตรกรรายย่อย และทรัพยากรการผลิตของเกษตรกร เวลาที่ออกอากาศควรเป็นช่วงก่อนหรือหลังข่าวภาคค่ำ การประชาสัมพันธ์รายการควรประชาสัมพันธ์ผ่านเกษตรตำบล/เกษตรอำเภอ ผู้ใหญ่บ้านและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล และมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อท้องถิ่นให้มากขึ้น"
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2031
Appears in Collections:Business Agriculture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phattaraporn-dee-slid.PDF1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.