Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1904
Title: อิทธิพลของเทคนิคการดำเนินเรื่องที่แตกต่างกันในการผลิตสไลด์ต่อการเรียนรู้ของเกษตรกร
Other Titles: the effects of different content structures in the slide -tape presentation on farmers' learning
Authors: นคเรศ รังควัต
Keywords: การเรียนรู้
จิตวิทยา
ภาพนิ่ง
เกษตรกร
Issue Date: 1992
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของเกษตรกรจากการชมรายการสไลด์เทปที่ใช้ เทคนิคการดำเนินเรื่องต่างกัน 3 แบบ คือ (1) สไลด์ประกอบคำบรรยาย (2) สไลด์ประกอบคำบรรยายที่มีการนำเสนอ โครงเรื่องของเนื้อหาและหัวเรื่องบ่อย (3) สไลด์ปวะกอบคำบรวยายที่มีการสรุปเป็นตอน ๆ และการสรุปรวมการวิจัยใช้การทดลองแบบ Randomized Pretest-Posttest Control กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ เกษตรกรตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (simple randon sampling) จำนวนทั้งหมด 90 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน กลุ่มแรกเรียนรู้จากสไลด์ เทปที่ใช้ เทคนิคการดำเนินเรื่องสไลค์ประกอบคำบรรยาย กลุ่มที่ส่องเรียนรู้จากสไลค์ประกอบคำบรรยายที่มีการนำเสนโครงเรื่องของเนื้อหา และหัวเรื่องย่อย และกล่มที่สาม เรียนจากสไลด์ประกอบคำบรรยายที่มีการสรุปเป็นตอน ๆ และการสรุปรวม เนื้อหาที่ใช้สร้างบทสไลด์คือเรื่อง เทคนิคการปลูกแกลด์โอลัสเพื่อตัดดอก รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบจากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าเฉลี่ย, ฐานนิยม,ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ไคสแควร์ (X'), สถิติ t-test, F-test และ ร้อยละ Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ผลการเรียนรู้ของเกษตรกร 1 . ผลการเรีนรู้ของเกพดรกวหลังชมรายการสไลค์เทยทิ้ง 3 กลุ่ม สูงกว่าก่อนชมรายการอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ 2. ผลการเวียนรู้ของเกษตรกรหลังชมรายการสไลด์เทปทั้ง 3 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P < 0.01 ) โดยพบว่าเกษตรกรที่เรียนจากรายการสไลค์ประกอบคำบรรยายที่มีกาวสรุปเป็นตอน 1 และการสรุปรวม มีผลการเรียนรู้สูงที่สุด รองลงมาคือ รายการสไลด์ประกอบคำบรรยายที่มีการนำเสนอโครงเรื่องของเนื้อหาและหัวเรื่องย่อย และสุดท้ายคือ รายการสไลด์เทปที่ใช้ เทคนิคการดำเนินเรื่องแบบสไลด์ประกอบคำบรรยาย 3. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยที่ละคู่พบว่า 3. 1 คะแนนเฉลี่ยจากการใช้สไลค์ประกอบคำบรรยาย ที่มีการนำเสนอโครงเรื่องของเนื้อหา และหัวเรื่องย่อยสูงกว่า สไลด์ประกอบคำบรรยาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) 3.2 คะแนนเฉลี่ยจากการใช้สไลด์ประกอบคำบรรยายที่มีการสรุปเป็นตอน ๆ และการสรุปรวมสูงกว่า สไลด์ประกอบคำบรรยายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) 3.3 คะแนนเฉลี่ยจากการใช้สไลด์ประกอบคำบรรยาย ที่มีการนำเสนอโครงเรื่องของเนื้อหา และหัวเรื่องฮ่อย และสไลด์ประกอบคำบรรยาย ที่มีการสรุปเป็นตอน ๆ และการสรุปรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05)
Description: ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร Master of Arts Program in Communication
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1904
Appears in Collections:

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nakarate-rungkawat.PDF2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.