Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1887
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอังคนา ไววุฒิ-
dc.date.accessioned2023-12-04T02:00:20Z-
dc.date.available2023-12-04T02:00:20Z-
dc.date.issued2001-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1887-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) ความพึงพอใจของสหกรณ์ในจังหวัดเชียงรายต่อกิจกรรมบริการของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย ด้านงานวางรูปแบบบัญชีด้านงานตรวจแนะนำการเงินการบัญชี ด้านงานสอบบัญชี และด้านงานฝึกอบรม 2) ศึกษาความพึงพอใจของสหกรณ์ ต่อขั้นตอนการให้บริการ วิธีการให้บริการ และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานบัญชี หรือ ผู้จัดการ หรือ คณะกรรมการ หรือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ บุคคลใดบุคคลหนึ่งในแต่ละสหกรณ์จำนวน 76 สหกรณ์ จากนั้นนำช้อมูลที่รวบรวมได้มาหาคำความถี่ (irequency) และคำร้อยละ(percentage)เพื่อแจกแจงความถี่ของลักษณะส่วนบุคคล ระดับความพึงพอใจของผู้ให้ข้อมูลโดยใช้วิธีคิดคำนวณหาค่าน้ำหนักคะแนนเฉลี่ย (weight mean score : WMS) ผลการวิจัย ลักษณะส่วนบุคคล พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ เป็นตำแหน่งพนักงานบัญชี (ร้อยละ 47.37) เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 59.21) มีอายุระหว่าง 41-50 ปี (ร้อยละ 31.58) จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 64.47) มีระยะเวลาการปฏิบัติงานหรือเป็นสมาชิก 1-5 ปี (ร้อยละ 39.47) การวิจัยเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของสหกรณ์ในจังหวัดเชียงรายต่อกิจกรรมบริการของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย ในด้านต่างๆ จำนวน 4 กิจกรรม อยู่ในระดับมาก ดังนี้ 1) ด้านงานสอบบัญชี 2) ด้านงานตรวจแนะนำการเงินการบัญชี 3) ด้านงานฝึกอบรม 4) ด้านงานวางรูปแบบบัญชี ผลการวิจัยพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ แต่ละปัจจัยสามารถนำเสนอ โดยเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ย จากมากไปหาน้อย คือ 3.96, 3.94, 3.81 และ 3.77 ตามลำดับ จากผลการวิจัยระดับความพึงพอใจของสหกรณ์ในจังหวัดเชียงรายต่อ ขั้นตอนการให้บริการ วิธีการให้บริการ และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการหรือผู้ตรวจทั้ง 3 กิจกรรม สามารถแยกระดับความพึงพอใจโดยเรียงจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ สหกรณ์มีระดับความพึงพอใจใน 1) เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ หรือผู้ตรวจ 2) ขั้นตอนการให้บริการ 3) วิธีการให้บริการ โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยคือ 4.07 , 3.92 และ 3.62 ตามลำดับสรุปผลการวิจัยความพึงพอใจของสหกรณ์ในจังหวัดเชียงรายต่อกิจกรรมบริการของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย มีความพึงพอใจโดยภาพรวม "ในระดับมาก" ด้วยค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทั้งหมด 3.87 และ ผลการวิจัยความพึงพอใจของสหกรณ์ในจังหวัดเชียงรายต่อชั้นตอนการให้บริการ วิธีการให้บริการ และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการหรือผู้ตรวจ สหกรณ์มีความพึงพอใจโดยภาพรวม "ในระดับมาก" ด้วยค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทั้งหมด 3.87 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ว่า ขั้นตอน วิธีการ และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการด้าน งานวางรูปแบบบัญชี งานตรวจแนะนำการเงินการบัญชี งานสอบบัญชี และงานฝึกอบรม ให้ความพึงพอใจต่อสหกรณ์ในจังหวัดเชียงราย ในระดับมากจากผลการวิจัยเกี่ยวกับความเห็นร้อยละ 65 ของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด พบว่าต้องการรับบริการจากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงราย เพราะว่าผู้สอบบัญชีสามารถขี้แนะวิธีปฏิบัติทางด้านบัญชีได้ถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือกว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เนื่องจากเป็นส่วนราชการหากมีปัญหาสามารถติดต่อได้ตลอดเวลา และสหกรณ์ขนาดเล็กซึ่งไม่มีงบประมาณที่จะจ้างผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ส่วนความต้องการรับบริการในทิศทางใดนั้นรุปได้คือ การวางรูปแบบบัญชีต้องเป็นรูปแบบที่ง่ายต้องการทำความเข้าใจเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการมีจำนวนที่เพียงพอที่จะเข้าตรวจสอบสหกรณ์และการตรวจแนะนำการเงินการบัญชีควรทำอย่างสม่ำเสมอการฝึกอบรมต้องทำอย่างเป็นขั้นตอนที่ไม่ขับซ้อนและควรจัดการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการควรเข้าตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและใช้เวลาในการตรวจสอบอย่างเพียงพอต่อความต้องการของสหกรณ์en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยแม่โจ้en_US
dc.subjectสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงรายen_US
dc.subjectความพึงพอใจen_US
dc.subjectสหกรณ์en_US
dc.subjectเชียงรายen_US
dc.titleความพึงพอใจของสหกรณ์ในจังหวัดเชียงรายต่อกิจกรรมบริการของ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงรายen_US
dc.title.alternativechiangrai cooperative offices' satisfaction with services of chaingrai cooperative auditing officeen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
aungkana-waiwundth.PDF1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.