Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1884
Title: ผลที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงโคนมทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมในทรรศนะของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: Socio-economic and environmental consequences of dairy cattle raising as viewed by dairy farmers in Phachuapkhirikhan Province, Thailand
Authors: จันทนา บุญศิริ
Keywords: ประจวบคีรีขันธ์
โคนม
เกษตรกร
Issue Date: 1995
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อทราบถึง (1) สถานภาพส่วนบุคคลของเกษครกรผู้เลี้ยงโคนม (2) ผลที่เกิดชั้นจากการเลี้ยงโคนมทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม(3) ปัญหา อุปสรรคของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ โดยใช้แบบสันภาษณ์เก็บข้อมูลจากเกษดรกรผู้เลี้ยงโคนม จังหวัดประจวบศีรีชันธ์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างด้วยเทคนิคการสุ่มแบบมีระบบ จำนวน 276 คน ในเขตพื้นที่อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรีอำเภอกุยบุรี อำเภอเมือง อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน และอำเภอบางสะพานน้อยข้อมูลได้วิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ spss/pc ผลการวิจัยพอสรุปได้ดังนี้ สถานภาพส่วนบุคคล ผู้ให้ข้อมูลมีอายุเฉลี่ย 43 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ส่วนมากมีสภาพถือครองที่ดินเป็นของตนเอง และเป็นฟาร์มขนาดกลาง โดยมีจำนวนแม่โครีดนมเฉลี่ย 8 ตัว ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มใหญ่แสดงความคิดเห็นว่า หลังจากหันมาเลี้ยงโคนมแล้วตน เ องมีจำนวนวันในการทำงานมากขึ้นและปัจจุบันไม่มีกิจกรรมอย่างอื่นที่ทำควบคู่กับการเลี้ยง โคนมสำหรับประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนมพบว่ามีประสบการณ์เฉลี่ย 7 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีรายได้นอกภาคเกษตรในส่วนผู้ที่มีรายได้จากภาค เกษตรอื่น ๆ พบว่ามีรายได้ลดลงผลที่เกิดขึ้นด้านเศรษฐกิจ สิงคมและสิ่งแวคล้อม ผู้ให้ข้อมูลส่วนมากระบุว่ามีต้นทุนดำเนินการและผลตอบแทนจากการเลี้ยงโคนมเพิ่มน มีการยายการลงทุนในการเลี้ยงโคนมและการใช้สินเชื่อในกิจการเพิ่มขึ้น แหล่งสินเชื่อที่ผู้ให้ข้อมูลใช้บริการมากที่สุดคือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสำหรับการจ้างแรงงานในการเลี้ยงโคนมส่วนใหญ่ไม่มีการจ้างแรงงาน เนื่องจากมีจำนวนแรงงานในครอบครัวเพียงพอต่อการปฏิบัติงานในฟาร์ม ในส่วนของประสบการณ์ฝึกอบรม การรับข่าวสาร การติดต่อเจ้าหน้าที่ขอคำแนะนำและการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มของ เกษดรกรนั้นอยู่ในระดับที่เพิ่มมากชั้น แต่ภายหลังการเลี้ยงโคนมแล้ว เกษตรกรมีทรรศนะว่าตนเองมีเวลาว่างน้อยลง แต่มีการทำงานเพื่อส่วนรวมเท่าเดิม สำหรับประ เด็นของการพบปะสิงสรรค์กับสังคมภายนอกนั้นมีระดับการพบปะสังสรรค์มากชั้นในรายละ เอียดปลีกย่อยคือ การพบปะพูดคุยกับเกษตรกรเพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตลอดจนการติดต่อธุระกับหน่วยงานด่าง ๆ ส่วนในรายละ เอียดการติดต่อธุรกิจหรือนักผ่อนหย่อนใจ เยี่ยมญาติต่างจังหวัด พบว่ามีจำนวนน้อยลง ส่วนผฤติกรรมการบริโภคนมของเกษตรกรนั้น พบว่ามีการบริโภคนมมากชั้น นอกจากนี้ผลที่เกิดขั้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเนื่องจากการเลี้ยงโคนม ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นว่า การเลี้ยงโคนมทำให้สภาพดินดีขึ้น แต่เศษเหลือของอาหารข้น อาหารหยาบโดยเฉพาะเปลือกสับปะรดทำให้สภาพดินเลวลง ส่วนน้ำทิ้งจากการชำระล้างภาชนะอุปกรณ์ ตลอดจนน้ำอาบแม่โคและการทำความสะอาดเรือนโรงไม่มีผลต่อสภาพน้ำ นอกจากนี้เศษเหลือของอาหารชันอาหารหยาบเป็นสาเหตุทำให้สภาพอากาศเลวลงแต่มูลโค ไม่มีผลต่อสภาพอากาศผลติดตามมาในประ เด็นปัหาอุปสรรดนั้น ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับ (1) การผสมเทียมโดนม คือไม่ทราบวิธีการผสมเทียม ส่วนประสิทธิภาพจากการผสมเทียมนั้น มักจะผสมไม่ค่อยติด (2) ขาดแคลนเมล็ตพันธุ์และพืชอาหารสัตว์ในฤดูแล้ง (3) การจัดฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่มีน้อยครั้ง (4) ขาดแคลน้ำใช้ในฟาร์มโคนม (5) ผู้เลี้ยงโคนมมีพื้นฐานระดับความรู้น้อย (6) แม่โคให้ปริมาถน้ำนมน้อย (7) ผู้เลี้ยงโคนมไม่มีความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพสัตว์ (8)สินเชื่อเพื่อการลงทุนไม่ทั่วถึงและเพียงพอ ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยสูงเกินไป
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1884
Appears in Collections:

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jantana-boonsiri.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.