Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1880
Title: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: Satisfaction working operation f agricultural cooperatives' managers in Northeastern region of Thailand
Authors: นาตยา ดรสีเนตร
Keywords: สหกรณ์การเกษตร
เศรษฐกิจและสังคม
Issue Date: 1993
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตร 2) ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้จัดการสหกรการเกษตร 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพิงพอใจในการปฏิบัติงาน 4) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งผู้ให้มูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งสิ้น 109 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้จัดการสหกรณ์การ เกษดร ซึ่งข้อมูลได้วิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ผลการวิจัยพบว่า ผู้จัดการสหกรณ์มีอายุโดยเฉลี่ย 34 ปี ส่วนมากเป็นเพศชาย และสมรสแล้วอยู่ด้วยกัน สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์มีประสบการณ์ในการทำงานอยู่ในช่วง 10 - 14 ปี และมีเงินเดือนอยู่ในช่วง 6,001 - 8,000 บาท ส่วนมากเคยได้รับโบนัสจากการทำงาน สำหรับการเข้ารับฝึกอบรมด้านการจัดการสหกรณ์นั้น ส่วนใหญ่เคยเข้ารับการฝึกอบรมคิดเป็นร้อยละ 91.74 และปฏิบัติงานอยู่ในภูมิลำเนาเดิมของตน การวิจัยเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้จัดการสหกรณ์การ เกษตรจากผลการวิจัยพบว่า ผู้จัดการสหกรณ์มีความพิงพอใจในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.57)ได้แก่ 1) ลักษณะของงาน 2) หน้าที่และความรับผิดชอบ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4) ความสำเร็จของงาน 5) การได้รับความยอมรับนับถือ 6) ความร่วมมือและการ ประสานงาน 7 ) สภาพแวดล้อมในการทำงาน 8) คุณธรรมสหกรณ์บางประการกฎหมายข้อบังคับและระ เบียบของสหกรณ์ 10 เงินเดือน สวัสดิการและค่าตอบแทน 11) ความมั่นคงและความปลอดภัยในการทำงาน และ 12) ความก้าวหน้าในงานที่ทำตามลำดับสำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของผู้จัดการสหกรณ์นั้น พบว่า ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัถูทางสถิติ ได้แก่ 1. อายุมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2 . เพศมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัทางสถิติกับกฎหมายข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์ 3. ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติกับความก้าวหน้าในงานที่ทำ , ลักษณะของงาน, ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกฎหมาย ข้อบังคับและระ เบียบของสหกรณ์ และ 4. เงินเดือนพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับเงินเดือน สวัสดิการและค่าตอบแทน ส่วนตัวแปรอิสระอีก 4 ตัวแปร คือ สถานภาพการสมรส ประสบการณ์ในการทำงาน สถานที่ปฏิบัติงาน และการฝึกอบรมด้านการจัดการสหกรณ์นั้นพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแต่อย่างใดส่วนปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานงานของผู้จัดการสหกรณ์ ที่สำคัญที่สุด คือ 1 ) พนักงานสหกรณ์และคณะกรรมการขาดความรู้ความเข้าใจในงานสหกรณ์ 2) สมาชิกสหกรณ์ไม่ให้ความร่วมมือในการทำธุรกิจกับสหกรณ์ 3) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ขาดประสิทธิภาพการทำงานและไม่สนับสนุนการทำงานฝ่ายจัดการสหกรณ์ 4) การให้การศึกษาอบรมแก่พนักงานและสมาชิกสหกรณ์ไม่ทั่วถึง 5 ) การจ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนไม่เหมาะสม 6) กฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์ไม่ทันสมัย มีข้อจำกัดมากเกินไปจึงไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการธุรกิจสหกรณ์ 7) การจัดการธุรกิจทุกประเภทภายในสหกรณ์ยังไม่ครบวงจร
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1880
Appears in Collections:

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nataya-donsrinet.PDF2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.