Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1877
Title: | การวิเคราะห์เศรษฐกิจการผลิตมันฝรั่งแบบสัญญาผูกพันและการผลิตมันฝรั่งแบบทั่วไป ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ปีการเพาะปลูก 2540/2541 |
Other Titles: | an analysis of potato production between contract farming and non-contract farming in sansai district, chiang mai province crop year 1997/1998 |
Authors: | สาคร มีนุ่น |
Keywords: | มันฝรั่ง เชียงใหม่ แง่เศรษฐกิจ |
Issue Date: | 2000 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาต้นทุนผลตอบแทนของการผลิตมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพันและการผลิตมันฝรั่งแบบทั่วไป (2) เพื่อศึกษาฟังก์ชันการผลิตเพื่อหาประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพันและการผลิตมันฝรั่งแบบทั่วไป (3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการผลิตมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพันและการผลิตมันฝรั่งแบบทั่วไป ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ปีการเพาะปลูก 2540/2541 ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ผลิตมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพัน 88 คน และผลิตมันฝรั่งแบบทั่วไป 74 คน ซึ่งได้สุ่มตัวอย่างตามวิธีการของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane's) โดยใช้แบบสอบถามจากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์สมการถดถอย (muliple regression) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS for window) โคยวิธีการกะประมาณค่ากำลังสองน้อยที่สุด โดยการคัดเลือกตัวแปรแบบ stepwise regression ผลการวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทน พบว่าเกษตรกรที่ผลิตมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพันมีต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1,199.71 บาทต่อไร่ รายได้เท่ากับ 15,464.82 บาทต่อไร่ มีกำไรสุทธิ 4,265.1 1 บาทต่อไร่ ขณะที่เกษตรกรที่ผลิตมันฝรั่งแบบทั่วไปมีต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1.573.47 บาท ต่อไร่ รายได้เท่ากับ 24.404.37 บาทต่อไร่ และมีกำไรสุทธิเท่ากับ 12,830.90 บาท ต่อไร่ ผลการศึกษาฟังก์ชันการผลิตมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพัน พบว่าสมการแบบเส้นตรง(linear form ) สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณผลผลิตและปัจจัยการผลิตมันฝรั่งแบบมี สัญญาผูกพันได้ดีกว่าสมการ Cobb-Douglas โดยปัจจัยการผลิตที่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ละ 95% ประกอบด้วยหัวพันธ์ุมันฝรั่ง ปุ้ยเคมี และสารเคมีป้องกันโรคระบาค โดยหัวพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ในการผลิตมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพัน รองลงมา คือ สารเคมีป้องกันโรคระบาค และปุ๋ยเคมีตามลำดับการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตทางเทคนิคของมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพัน พบว่าหากมีการเพิ่มหัวพันธุ์มันฝรั่ง 1 กิโลกรัมจะทำให้ผลผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้น 9.986 กิโลกรัม ถ้าเพิ่มปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี 1 กิโลกรัม ทำให้ผลผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้น 1.151 กิโลกรัม และถ้าหากเพิ่มปริมาณสารเคมีป้องกันโรคระบาค 1 กรัม ทำให้ผลผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้น 0.282 กิโลกรัมการศึกษาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพัน ปรากฎว่า อัตราส่วนมูลค่าเพิ่มหน่วยสุดท้าย (MVP ของผลผลิตมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพันต่อราคาปัจจัยการผลิต คือหัวพันธุ์และสารเมีป้องกันโรคระบาคมีค่าเท่ากับ 1.920 และ 3.318 ตามลำคับ แสดงให้เห็นว่า มีการใช้ปัจจัยการผลิตต่ำกว่าระดับที่มีประสิทธิภาพ ณ ระดับราคาปัจจัยการผลิตและผลผลิตเฉลี่ยในช่วงที่ทำการศึกษา นั่นคือ เกษตรกรจะมีกำไรสูงสุดถ้าเพิ่มการใช้ปีงจัยการผลิตทั้ง 2 ดังกล่าว ผลการศึกษาฟังก์ชันการผลิตมันฝรั่งแบบทั่วไป พบว่า สมการ Cobb-Douglas สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณผลผลิตและปัจจัยการผลิตมันฝรั่งแบบทั่วไปได้ดีกว่าสมการแบบเส้นตรง (linear form) โดยปัจจัยการผลิตที่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตได้อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ประกอบด้วย หัวพันธุ์มันฝรั่ง และแรงงาน โดยหัวพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการผลิตมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพัน รองลงมา คือ แรงงานการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตทางเทดนิดของมันฝรั่งแบบทั่วไป พบว่า หากมีการเพิ่มหัวพันธุ์มันฝรั่ง 1 กิโลกรัม จะทำให้ผลผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้น 37.177 กิโลกรัม ถ้าเพิ่มปริมาณแรงงาน 1 วันทำงาน ทำให้ผลผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้น 8.344 กิโลกรัม การศึกษาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจมันฝรั่งแบบทั่วไป ปรากฎว่า อัตราส่วนมูลค่าเพิ่มหน่วยสุดท้าย (MVP) ของผลผลิตมันฝรั่งแบบทั่วไปต่อราคาปัจจัยการผลิต คือ หัวพันธุ์มีค่าเท่ากับ 6.120 แสดงให้เห็นว่า มีการใช้ปัจจัยการผลิตต่ำกว่าระดับที่มีประสิทธิภาพ ณ ระดับราคาปัจจัยการผลิตและผลผลิตเฉลี่ยในช่วงที่ทำการศึกยา เกษตรกรควรเพิ่มปริมาณหัวพันธุ์ แต่ในทางปฏิบัติการผลิตลักษณะนี้มีการจำกัดปริมาณหัวพันธุ์ที่นำเข้า จึงควรให้ความสนใจที่คุณภาพของหัวพันธุ์มากกว่าปริมาณที่นำเข้ามา ส่วนแรงงานเกษตรกรควรลดปริมาณแรงงานจ้างให้น้อยลงจะสามารถทำให้การผลิตอยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจมากขึ้นการเพิ่มปัจจัยการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ทั้งในทางเศรษฐศาสตร์และกายภาพควรคำนึงถึงกฎผลได้ลดน้อยถอยลง สัญญาผูกพันได้ดีกว่าสมการ Cobb-Douglas โดยปัจจัยการผลิตที่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ละ 95% ประกอบด้วย หัวพันธ์มันฝรั่ง ปุ้ยเคมี และสารเคมีป้องกันโรคระบาค โดยหัวพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ในการผลิตมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพัน รองลงมา คือ สารเคมีป้องกันโรคระบาค และปุ๋ยเคมีตามลำดับการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตทางเทคนิคของมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพัน พบว่าหากมีการเพิ่มหัวพันธุ์มันฝรั่ง 1 กิโลกรัมจะทำให้ผลผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้น 9.986 กิโลกรัม ถ้าเพิ่มปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี 1 กิโลกรัม ทำให้ผลผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้น 1.151 กิโลกรัม และถ้าหากเพิ่มปริมาณสารเคมีป้องกันโรคระบาค 1 กรัม ทำให้ผลผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้น 0.282 กิโลกรัม การศึกษาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพัน ปรากฎว่า อัตราส่วนมูลค่าเพิ่มหน่วยสุดท้าย (MVP ของผลผลิตมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพันต่อราคาปัจจัยการผลิต คือหัวพันธุ์และสารเมีป้องกันโรคระบาคมีค่าเท่ากับ 1.920 และ 3.318 ตามลำคับ แสดงให้เห็นว่า มีการใช้ปัจจัยการผลิตต่ำกว่าระดับที่มีประสิทธิภาพ ณ ระดับราคาปัจจัยการผลิตและผลผลิตเฉลี่ยในช่วงที่ทำการศึกษา นั่นคือ เกษตรกรจะมีกำไรสูงสุดถ้าเพิ่มการใช้ปีงจัยการผลิตทั้ง 2 ดังกล่าวผลการศึกษาฟังก์ชันการผลิตมันฝรั่งแบบทั่วไป พบว่า สมการ Cobb-Douglas สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณผลผลิตและปัจจัยการผลิตมันฝรั่งแบบทั่วไปได้ดีกว่าสมการแบบเส้นตรง (linear form) โดยปัจจัยการผลิตที่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตได้อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ประกอบด้วย หัวพันธุ์มันฝรั่ง และแรงงาน โดยหัวพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการผลิตมันฝรั่งแบบมีสัญญาผูกพัน รองลงมา คือ แรงงาน การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตทางเทดนิดของมันฝรั่งแบบทั่วไป พบว่า หากมีการเพิ่มหัวพันธุ์มันฝรั่ง 1 กิโลกรัม จะทำให้ผลผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้น 37.177 กิโลกรัม ถ้าเพิ่มปริมาณแรงงาน 1 วันทำงาน ทำให้ผลผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้น 8.344 กิโลกรัมการศึกษาประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจมันฝรั่งแบบทั่วไป ปรากฎว่า อัตราส่วนมูลค่าเพิ่มหน่วยสุดท้าย (MVP) ของผลผลิตมันฝรั่งแบบทั่วไปต่อราคาปัจจัยการผลิต คือ หัวพันธุ์มีค่าเท่ากับ 6.120 แสดงให้เห็นว่า มีการใช้ปัจจัยการผลิตต่ำกว่าระดับที่มีประสิทธิภาพ ณ ระดับราคาปัจจัยการผลิตและผลผลิตเฉลี่ยในช่วงที่ทำการศึกยา เกษตรกรควรเพิ่มปริมาณหัวพันธุ์ แต่ในทางปฏิบัติการผลิดลักษณะนี้มีการจำกัดปริมาณหัวพันธุ์ที่นำเข้า จึงควรให้ความสนใจที่คุณภาพของหัวพันธุ์มากกว่าปริมาณที่นำเข้ามา ส่วนแรงงานเกษตรกรควรลดปริมาณแรงงานจ้างให้น้อยลงจะสามารถทำให้การผลิตอยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจมากขึ้นการเพิ่มปัจจัยการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ทั้งในทางเศรษฐศาสตร์และกายภาพควรคำนึงถึงกฎผลได้ลดน้อยถอยลง |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1877 |
Appears in Collections: | BA-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sakorn-meenuun.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.