Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1862
Title: CREATING SOCIAL BUSINESS MODEL INNOVATION FOR GENERATING VALUE IN AGRIBUSINESS AND PERFORMANCE
การสร้างรูปแบบนวัตกรรมการประกอบการสังคม เพื่อสร้างมูลค่าธุรกิจเกษตรและผลการดำเนินงาน
Authors: Sutawan Satjasomboon
สุธาวัลย์ สัจจสมบูรณ์
Pusanisa Thechatakerng
ภูษณิศา เตชเถกิง
Maejo University
Pusanisa Thechatakerng
ภูษณิศา เตชเถกิง
sunny@mju.ac.th
sunny@mju.ac.th
Keywords: รูปแบบนวัตกรรมธุรกิจ
ผลการดำเนินธุรกิจ
การสร้างมูลค่า
ผู้ประกอบการเพื่อสังคม
Business Model Innovation
Value Creation
Business Performance
Social Entrepreneurs
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract:   The objectives of this research are 1) to study the business model innovation of new generation agricultural entrepreneurship, 2) to develop business model innovation for social entrepreneurs of new generation agricultural entrepreneurs and 3) to create social business model innovation for generating value in agribusiness and performance of new-generation agricultural entrepreneurs. This study is mixed-method research using qualitative research carried out an in-depth interview. The research instrument was a semi-structured interview format to interview 10 young smart farmer businesses in the upper northern region and agricultural province coordinators. The data collection employed a structured questionnaire to collect 652 new-generation agricultural entrepreneurs in the upper northern region, with 470 completed responses, representing 72.08% of the total questionnaires. The result of structural equation modelling analysis reveals that the business model innovation and business operations to create added value for new-generation agricultural entrepreneurs in the upper northern region influence a positive direct on the business performance of social entrepreneurs, in addition, influence the business performance of creating added value. Conducting business by creating added value has a positive direct influence on the performance of social entrepreneurial businesses. However, business innovation models provide a positive effect on social entrepreneurial business performance through the creation of added value.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบนวัตกรรมธุรกิจของผู้ประกอบการเกษตรกรรุ่นใหม่ 2) พัฒนารูปแบบนวัตกรรมธุรกิจเพื่อสังคมของผู้ประกอบการเกษตรกรรุ่นใหม่ และ 3) สร้างรูปแบบนวัตกรรมธุรกิจเพื่อสังคมในการเพิ่มมูลค่าในการดำเนินงานของผู้ประกอบการเกษตรกรรุ่นใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ด้านการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สำหรับผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ภาคเหนือตอนบนและเกษตรจังหวัดผู้ดูแลกลุ่มดังกล่าว รวมทั้งสิ้นจำนวน 10 ราย ด้านการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ประกอบการเกษตรกรรุ่นใหม่ในภาคเหนือตอนบน จำนวน 652 ราย โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ซึ่งได้รับการตอบกลับ จำนวน 470 ชุด คิดเป็นร้อยละ 72.08 จากแบบสอบถามทั้งหมด ผลการวิจัยด้วยการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง พบว่า รูปแบบนวัตกรรมธุรกิจ การดำเนินธุรกิจ เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการเกษตรกรรุ่นใหม่ในภาคเหนือตอนบน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานธุรกิจผู้ประกอบการเพื่อสังคม และมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกกับผลการดำเนินธุรกิจการสร้างมูลค่าเพิ่ม การดำเนินธุรกิจด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานธุรกิจผู้ประกอบการเพื่อสังคม รูปแบบนวัตกรรมธุรกิจมีอิทธิพลที่เป็นสาเหตุทางอ้อมเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานธุรกิจผู้ประกอบการเพื่อสังคม โดยผ่านทางด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มผลการดำเนินธุรกิจ
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1862
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6306501003.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.