Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1850
Title: DEVELOPING A PROTOTYPE FARMER UNDER THE HUAYXON-HUAYXUA AGRICULTURAL DEVELOPMENT SERVICE, LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC
การพัฒนาเกษตรกรต้นแบบภายใต้ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน–ห้วยซั้ว นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Authors: Souvanny Lorvixay
Souvanny Lorvixay
Koblap Areesrisom
กอบลาภ อารีศรีสม
Maejo University
Koblap Areesrisom
กอบลาภ อารีศรีสม
koblap@mju.ac.th
koblap@mju.ac.th
Keywords: เกษตรกรต้นแบบ
การดำเนินงาน
ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว
Model farmers
operation
Huayson – Huaysua Agricultural Service and Development Center
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of the study were to: 1) explore general context in the operation of model farmer; 2) analyze factors contributing to the model farmers development; 3) explore problem encountered in the operation; and 4) investigate guidelines for developing the model farmers. The sample group consisted of 78 and 16 model farmer households in Na Xaythong and Sangthong districts, respectively. They were under the Huayson – Huaysua Agricultural Service and Development Center, Vientiane, Lao P.D.R. Questionnaire and interview schedule were used for data collection and analyzed by using descriptive statistics and content analysis Results of the study revealed that most of the model farmers were males, Buddhists, 41–50-year-old and lower-secondary school graduates. They were married and had 4 household members. Most of the model farmers had more than 15 years of experience in farming, 2 farming workforce and less than 10 rai of farmland. Their household income range was 50,001 - 100,000 bath/year but they did not have saving and debts. Most of the model farmers spent their own capital and they were members of large agricultural plots of the center. Their main agricultural objective was subsistence and the surplus agricultural yields were sold. The model farmer were supported by the center and most of them had attended a training. Findings showed that the model farmers had a highest level of agricultural practice (X̅  = 4.27) and, as a whole, they had a highest level of opinions about the practice (X̅  = 4.48). this included the following: learning plot, learning curriculum, and learning station. Also, there was a highest level of practice in the center management (X̅  = 4.53), extending results into practice of the center (X̅  = 4.23) and network connection of the center (X̅  = 3.86). Factors contributing to the model farmers development consisted of internal and external factors. The farmers should be improved in terms of the training station (management) and operational planning (thinking the product to the market). The latter could be responsive to good promotion. The following were problem encountered: old basic structure and demonstration tool; lack of budgets repairing/rehabilitation; learning curriculum was not effective enough; lack of quality personnel; supporting staff had low educational attainment; and the specific academic enhancement of supporting staff was not so strong as it should be, For the model farmers, they lacked of production planning based on agricultural extension activities, processing, and market linkage. The following were suggestions: adding potential development in management and planning; strengthening effective working of personal/supporting staff; and uplifting the center to be a One - Stop Demo Center.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพบริบททั่วไปในการดำเนินงานของเกษตรกรต้นแบบภายใต้ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาเกษตรกรต้นแบบของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานทางการเกษตรของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาเกษตรกรต้นแบบของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มสมาชิกเกษตรกรต้นแบบของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว ทั้งหมด 2 อำเภอ คือ กลุ่มสมาชิกเกษตรกรต้นแบบที่อยู่พื้นที่อำเภอนาชายทอง จำนวน 78 ครอบครัว และอำเภอสังข์ทอง จำนวน 16 ครอบครัว รวมทั้งสิ้น 94 ครอบครัว ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ 2 ราย และสนทนากลุ่มเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว ทั้งสิ้น 30 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรต้นแบบของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุระหว่าง 41-50 ปี นับถือศาสนาพุทธ มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมีสถานภาพสมรส มีสมาชิกในครัวเรือน 4 คน มีประสบการณ์ทำอาชีพทางการเกษตรมากกว่า 15 ปีขึ้นไป เกษตรกรต้นแบบส่วนมากเป็นเจ้าของพื้นที่ดินน้อยกว่า 10 ไร่ มีแรงงานที่ช่วยทำอาชีพเกษตรกรรมอยู่ 2 คน ลักษณะรายได้ของครัวเรือนมีรายได้สม่ำเสมอเพียงพอเหลือเก็บ มีรายได้เฉลี่ยในครัวเรือน 50,001-100,000 บาท/ปี รายได้จากการเกษตรกรเฉลี่ย 50,001-100,000 บาท/ปี เกษตรกรต้นแบบส่วนมากไม่มีเงินออม แต่เกษตรกรต้นแบบส่วนมากไม่มีหนี้สิน แหล่งทุนที่ใช้ในการทำเกษตรคือทุนตัวเอง เกษตรกรต้นแบบส่วนใหญ่เป็นสมาชิกแปลงใหญ่ของศูนย์ และมีแปลงใหญ่เป็นของตัวเอง วัตถุประสงค์หลักในการทำการเกษตรเพื่อยังชีพส่วนหนึ่งที่เหลือนำไปเพื่อจำหน่าย ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการก็คือศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว และเคยได้รับการอบรมด้านการเกษตรมาแล้ว การดำเนินงานทางการเกษตรของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว พบว่า เกษตรกรต้นแบบมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.27) ในแต่ละด้านพบว่า การดำเนินงานด้านองค์ประกอบของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว โดยรวมเกษตรกรต้นแบบได้มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.48) โดยเฉพาะการดำเนินงานด้านเกษตรกรต้นแบบ ด้านแปลงเรียนรู้ ด้านหลักสูตการเรียนรู้ และด้านฐานเรียนรู้ ส่วนด้านการบริหารจัดการมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.53) ด้านการขยายผลสู่การปฏิบัติของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.23) ด้านการเชื่อมโยงเครือข่ายของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว คือมีการปฏิบัติอยู่ในระดับที่มาก (ค่าเฉลี่ย 3.86) ในส่วนปัจจัยเอื้อต่อการพัฒนาเกษตรกรต้นแบบของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ในแต่ละด้านเห็นว่ามีการส่งเสริมดีมากแต่ด้านที่เพิ่มการปรับปรุงส่งเสริมมากที่สุดคือ ฐานเรียนรู้ยังไม่สอดคล้องกับหลักสูตรยังไม่ส่งผลเอื้อต่อการพัฒนาเกษตรกร และเพิ่มการให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการ รวมถึงการวางแผนการดำเนินงานการผลิตสินค้าเชื่อมโยงสู่การตลาด ส่วนปัจจัยภายนอก ประกอบมี 2 ด้าน เห็นว่าในแต่ละด้านนั้นตอบสนองต่อส่งเสริมดีแล้ว  นอกจากนี้ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว พบปัญหาเกี่ยวกับฐานการเรียนรู้ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน และเครื่องมือสาธิต มีลักษณะเก่าแก่ เสื่อมโทรม ขาดงบประมาณในการบูรณะซ่อมแซม ส่วนหลักสูตรเรียนรู้ในด้านการเรียนการสอนยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้เข้มแข็งเท่าที่ควร เนื่องมาจากการขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ และพนักงานในศูนย์ยังมีระดับการศึกษาที่ต่ำ การยกระดับทางด้านทางด้านวิชาเฉพาะของพนักงานไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร ส่วนเกษตรกรต้นแบบพบปัญหาในการขาดความรู้ทางด้านเทคนิคเฉพาะด้านในการทำเกษตรกร ขาดแหล่งทุนงบประมาณ และแรงงานในการดำเนินกิจกรรมขยายผลทางการเกษตร และยังขาดการวางแผนในการผลิตที่ติดพันกับการปรุงแต่ง แปรรูป เชื่อมโยงสู่การตลาดได้ สำหรับแนวทางการพัฒนาพบว่า ควรเพิ่มการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรต้นแบบในกานวางแผน และบริหารจัดการผลิตทางการเกษตร รวมไปถึงการสร้างความเข้มแข็งในการทำงานของพนักงานอย่างมีคุณภาพ และยกระดับศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้วให้เป็นศูนย์สาธิตที่ครบวงจร
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1850
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6401535007.pdf8.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.