Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/182
Title: HOUSEHOLD PARTICIPATION IN COMMUNITY-BASED TOURISM MANAGEMENTIN NADUANG VILLAGE, VANGVIENG DISTRICT, VIENTIANE PROVINCE,LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC (LAO PDR)
การมีส่วนร่วมของครัวเรือนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาด้วง เมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทน์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Authors: Chitpasong Soulideth
Chitpasong Soulideth
Parnprae Chaoprayoon
ปานแพร เชาวน์ประยูร
Maejo University. School of Tourism Development
Keywords: Community-Based Tourism
Participation
Tourism Management
Issue Date: 2017
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this study were to investigate the following: 1) tourism context and situations of Naduang village; 2) household participation; 3) factors relating to household participation; and 4) recommend guidelines for household participation promotion in community-based tourism management in Naduang village, Vangvieng district, Vientiane province, Lao PDR. Households were unit of analysis in this study and respondents in this study consisted of 104 households in Naduang village, Vangvieng district, Vientiane province, Lao PDR. A set of questionnaires passing content validity and reliability test was used for data collection. The reliability values of the questionnaire on attitude of the head of household was 0.78 and on household participation in community-based tourism management was 0.92. Findings showed that Naduang Village, originated from Tai Pua moving from Huaphanh province, was funded by the Asian Development Bank (ADB) through the cooperation of the people in the village under the Sustainable Tourism Development Program. It officially opened on August 2555. Tourism Management was managed by the headman as the leader in management and groups were set up so that people in the village were involved in each group such as sites protection, homestay, cloth weaving, handicraft, baci ceremony, arts Performance, housekeeping/cooking, trekking and fund management group. Regarding household participation in community-based tourism management of Baan Naduang community, most of the respondents participated at a moderate level (X = 3.32). The two aspects were also found at a moderate level: 1) participation in tourism management in the community (X = 2.91) and 2) participation in assessment and benefit gaining (X = 3.34). However, participation in the community preparation process to accommodate tourism was found at a high level (X = 3.71). Significant factors that could predict the relationships towards household participation in community-based tourism management were two independent variables: the number of household members involved in tourism and the attitude of the head of household were correlated with the household participation in the management of community-based tourism at a moderate level (R = 0.449, P <0.05). This could explain the relationships between independent variables as mentioned and household participation in community-based tourism management with a statistical significance level of 20.20 percent. The following were suggestions in the policy level: 1) There should have meetings in the village so that some people who are not involved in tourism get to know the tourism, importance of tourism and benefits of tourism; 2) Provincial Information, Culture and Tourism Office of Vientiane Province should support and promote tourism marketing for Naduang village. And other suggestions were as follows: 1) There should be a mutually agreement upon sharing benefits to each individual household within the community as appropriately; 2) it should promote more people to be involved in community tourism; and 3) the training should be provided to educate people in the community about tourism management and should raise awareness about conservation of tourism resources in the community.
การศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของครัวเรือนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านนาด้วง เมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงบริบทและสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) การมีส่วนร่วมของครัวเรือนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของครัวเรือนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 4) เสนอแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครัวเรือนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาด้วง เมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัยที่สร้างครอบคลุมเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและผ่านการทดสอบความตรงในเนื้อหาและทดสอบความเชื่อมั่น ผลการทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวัดเจตคติของหัวหน้าครัวเรือนต่อการท่องเที่ยวมีค่าเท่ากับ 0.78 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวัดการมีส่วนร่วมของครัวเรือนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีค่าเท่ากับ 0.92 และหน่วยการวิเคราะห์คือครัวเรือนในบ้านน้าด้วง จำนวน 104 ครัวเรือน ผลการศึกษาบริบทและสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านนาด้วง เมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว พบว่า บ้านนาด้วงมีต้นกำเนิดมาจากเผ่าไทปัว ย้ายถิ่นฐานมาจากแขวงหัวพัน ได้รับการสนับสนุนทางด้านทุนจากธนาคารพัฒนาอาเซียน (ADB) โดยการร่วมมือของประชาชนภายในบ้าน ภายใต้โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เพื่อการพัฒนาให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยว และได้เริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555 การบริหารจัดการการท่องเที่ยวบ้านนาด้วงเป็นการบริหารโดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำในการบริหารจัดการ และมีการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ โดยให้ประชาชนภายในบ้านมีส่วนร่วมในแต่ละกลุ่ม เช่น กลุ่มคุ้มครองสถานที่ท่องเที่ยว กลุ่มบริการที่พักแบบสัมผัสวัฒนธรรมชนบท (homestay) กลุ่มทอผ้า กลุ่มติดฟางรูป กลุ่มบายศรีสู่ขวัญ กลุ่มแสดงศิลปะ กลุ่มแม่บ้าน/ทำอาหาร กลุ่มเดินป่า กลุ่มคุ้มครองเงินกองทุน ผลจากการศึกษาการมีส่วนร่วมของครัวเรือนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านนาด้วง เมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทน์ (สปป. ลาว) พบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.32 โดยการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดเตรียมชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.71 ส่วนการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.91 และการมีส่วนร่วมในการประเมินผลและได้รับผลประโยชน์จากการจัดกิจกรรมในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.34 ปัจจัยสำคัญที่สามารถทำนายความสัมพันธ์ที่มีต่อการมีส่วนร่วมของครัวเรือนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน พบว่า ตัวแปรอิสระ 2 ตัวแปร คือ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว และทัศนคติของหัวหน้าครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของครัวเรือนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับปานกลาง (R=0.449, P<0.05) สามารถอธิบายความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของครัวเรือนในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ร้อยละ 20.20 ข้อเสนอแนะในระดับนโยบายจากผลการศึกษาคือ ควรมีการประชุมร่วมกันในหมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนบางส่วนที่ไม่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว ได้รับรู้ถึงการท่องเที่ยว ความสำคัญของการท่องเที่ยว และประโยชน์ที่จะได้จากการท่องเที่ยว ควรสนับสนุน และส่งเสริมด้านการตลาดท่องเที่ยวให้กับชุมชนบ้านนาด้วงส่วนข้อเสนอแนะในระดับปฏิบัติคือ ควรมีการทำความตกลงร่วมกันในการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับประชาชนแต่ละครัวเรือนภายในชุมชนอย่างเท่าเทียมกันตามความเหมาะสม ควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวของชุมชนมากขึ้น ควรจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่คนในชุมชนเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวและควรปลูกจิตสำนึกและสร้างความรับรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยวในชุมชนบ้านนาด้วง ​
Description: Master of Arts (Master of Arts (Tourism Development))
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาการท่องเที่ยว))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/182
Appears in Collections:School of Tourism Development

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5809302010.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.