Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1659
Title: CREATE ADDED VALUE FOR TEAK PRODUCT ENTERPRENEURS IN PHRAE
การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ไม้สักของผู้ประกอบการ จังหวัดแพร่ 
Authors: Aruchida Liangkoson
อรุชิดา เลี้ยงโกศล
Pusanisa Thechatakerng
ภูษณิศา เตชเถกิง
Maejo University
Pusanisa Thechatakerng
ภูษณิศา เตชเถกิง
sunny@mju.ac.th
sunny@mju.ac.th
Keywords: การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า
ผลิตภัณฑ์ไม้สักแปรรูป
ผู้ประกอบการ
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
Creating value-added products
Processed teak products
Entrepreneur
Product design and development
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The teak furniture industry is important in Phrae Province. From the changes from the COVID-19 situation and the change in consumer behavior, entrepreneurs in Phrae province have to cope. The purpose of this research is To study the creation of value-added teak products by entrepreneurs in Phrae Province. and to study factors affecting value added to teak products of entrepreneurs, Phrae Province. This research is mixed. The study was conducted by interviewing four furniture manufacturers in Phrae Province and using a questionnaire with 250 teak wood product users in Phrae Province. Findings of the general information section of the respondents Most of them are male, aged between 21 - 40 years old, single, with a bachelor's degree. Occupation Government service/State enterprise employees have an average monthly income of 10,001 – 20,000 baht From the analysis of purchasing behavior of teak products in Phrae Province, it was found that most respondents chose to buy teak furniture such as tables, cabinets, and beds for reasons of the beauty/design of the product. and products with unique and beautiful designs Consumers are informed about the product by receiving recommendations from acquaintances. The influential people in making product purchase decisions are the consumers themselves and will buy when the items in the house are damaged and want to change the new furniture. The best place to buy is a shop selling teak wood products in Phrae province. In addition, consumers think that the design process will help create added value for teak products. From hypothesis testing found that the demographic characteristics of the sample Affecting the creation of added value to teak products of entrepreneurs in Phrae Province, age, education level, occupation, income, and type of residence. It affects the creation of added value in 6 aspects, namely, the product aspect, raw material aspect, and design aspect. brand building Service side Production side.
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญของจังหวัดแพร่ จากการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์โควิด 19 และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคทำให้ผู้ประกอบการภายในจังหวัดแพร่ต้องมีการรับมือ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ ไม้สัก ของผู้ประกอบการจังหวัดแพร่ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ไม้สัก ของผู้ประกอบการ จังหวัดแพร่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ภายในจังหวัดแพร่ จำนวน 4 ท่าน และการใช้แบบสอบถามกับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ไม้สักภายในจังหวัดแพร่จำนวน 250 ราย ผลการศึกษาพบว่า ผลการวิจัยส่วนของข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่มีเพศชาย อายุระหว่าง 21 – 40 ปีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 10,001 – 20,000 บาท จากการวิเคราะห์ด้านพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไม้สัก จังหวัดแพร่ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไม้สักประเภทเฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง ด้วยเหตุผลเพราะว่าความสวยงาม/ดีไซน์ของผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบเป็นเอกลักษณ์สวยงาม ผู้บริโภครับทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ่านทางการได้รับคำแนะนำจากคนรู้จัก โดยผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์คือตัวของผู้บริโภคเองและจะเลือกซื้อเมื่อของในบ้านชำรุดต้องการเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์แบบใหม่ สถานที่จะในการเลือกซื้อคือร้านขายผลิตภัณฑ์ไม้สักภายในจังหวัดแพร่ อีกทั้งผู้บริโภคคิดว่ากระบวนการออกแบบจะช่วยให้การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ไม้สักได้ จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง ส่งผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ไม้สักของผู้ประกอบการ จังหวัดแพร่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ลักษณะที่อยู่อาศัย มีผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม 6 ด้านได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านวัตถุดิบ ด้านการออกแบบ ด้านการสร้างแบรนด์ ด้านการบริการ ด้านการผลิต  
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1659
Appears in Collections:Business Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6306401027.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.