Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1650
Title: | COMMUNITY ENTERPRISE MANAGEMENT FOR UPGRADING TO SOCIAL ENTERPRISE OF TRADITIONAL THAI MASSAGE CLUB OF NONGPAKRANG SUB-DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE การบริหารจัดการวิสาหกิจชมรมนวดแผนไทย ตำบลหนองป่าครั่งจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยกระดับสู่การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม |
Authors: | Chutipa Malai ชุติภา มาลัย Thammaporn Tantar ธรรมพร ตันตรา Maejo University Thammaporn Tantar ธรรมพร ตันตรา thammaporn@mju.ac.th thammaporn@mju.ac.th |
Keywords: | วิสาหกิจชุมชน การนวดแผนไทย ชมรมนวดแผนไทยหนองป่าครั่ง บริการสุขภาพ community enterprise Thai massage Nong Pa Krang Thai Massage Club health service |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | This study was conducted to investigate: 1) historical background of Thai Massage Club Community Enterprise in Nong Pa Krang sub-district, Muang district, Chiang Mai province; 2) management of the Thai Massage Club Community enterprise; and 3) guideline for developing the Thai Massage Club Community enterprise. Data were collected through semi-structured interview schedule and focus group discussion. Key informants consisted of 62 persons who were representatives of the municipal executives, representatives of the municipal council, representatives of local government officials, representatives of community leaders, and people using services of the Thai Massage Club Community Enterprise.
Results of the study revealed that the Thai Massage Community Enterprise arised from the support and promotion by Nong Pa Krang Municipality. It aimed to train Thai massage for unemployed women to earn money to support themselves and their families. It had so first-generation trainers and was open to club members under appropriate regulations. It was a community business operation for people in the community and a social project. There was financial management initially supported by Nong Pa Krang Municipality such as stock entry and circulating capital. The management of human resource was not complicated since there were few personnel. This Thai Massage Club emphasized on equipment used in massage, massage (in and out of place) and sale of herbal medicines. Strategic plans had not yet been prepared and had not yet established on official network.
It would take many years to become a Thai Massage Club Community Enterprise. This was because the following were needed to be developed: management, service provision, public relations, human resource management, place and building, and information technology. Importantly, masseuses must have code of conduct and be able to use basic foreign languages such as English and Chinese. All of these were important to the development to be the Thai Massage Club Community Enterprise for the society. การวิจัย เรื่องการบริหารจัดการวิสาหกิจชมรมนวดแผนไทย ตำบลหนองป่าครั่ง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อยกระดับสู่การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการก่อเกิดประวัติความเปิดมาของวิสาหกิจชมรมนวดแผนไทย ตำบลหนองป่าครั่ง จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการและการจัดบริการของวิสาหกิจชมรมนวดแผนไทย ตำบลหนองป่าครั่ง จังหวัดเชียงใหม่ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชมรมนวดแผนไทย ตำบลหนองป่าครั่ง จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีความเข้มแข็ง และยกระดับสู่การเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม เป็นการวิจัยเชองคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยผู้แทนผู้บริหารเทศบาล ผู้แทนฝ่ายสภาเทศบาล ผู้แทนข้าราชการส่วนท้องถิ่น ผู้แทนผู้นำฝ่ายท้องที่ คณะกรรมการชมรมนวดแผนไทย ประชาชนทั่วไปที่ใช้บริการนวดแผนไทย รวมทั้งหมด 62 คน ผลการวิจัย เกี่ยวกับการก่อเกิดประวัติความเป็นมาของชมรมนวดแผนไทย พบว่า เกิดมาโดยการสนับสนุนส่งเสริมของเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการฝึกอาชีพ และประกอบอาชีพนวดแผนไทยให้กับประชาชนที่เป็นสตรีที่ว่างงาน และมีความสนใจให้มีอาชีพ มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว โดยมีผู้ฝึกอบรมในรุ่นแรกเป็นจำนวน 50 คน โดยมีกระบวนการจัดตั้งอย่างถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย มีการเปิดรับสมาชิกชมรม มีการจัดทำระเบียบข้อบังคับที่ไม่เข้มงวดมากมาย อีกทั้งมีการดำเนินการในเชิงธุรกิจชุมชนเพื่อคนในชุมชน รวมถึงมีการดำเนินกิจกรรมโครงการเพื่อสังคมภายในชุมชน ผลการวิจัยด้านการบริการจัดการ และการจัดบริการของวิสาหกิจชมรวมนวดแผนไทย พบว่ามีการบริหารจัดการด้านเงินทุน ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลเป็นเบื้องต้นทุนจากการเข้าหุ้นของสมาชิก และทุนจากค่าบริการนวด รวมไปถึงการขายวัสดุอุปกรณ์และยาสมุนไพร โดยมีทุนหมุนเวียนที่ไม่มากนัก การบริหารจัดการด้านบุคลากรก็ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อน เพราะจำนวนบุคลากรที่อยู่ในวิสาหกิจชุมชนนั้นมีจำนวนที่ไม่มากนัก จึงมีการจัดการง่ายในลักษณะการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่วนการบริหารจัดการด้านวัสดุอุปกรณ์ส่วนมากจะเน้นวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการนวด ไม่มีเทคโนโลยีขั้นสูงในสำนักงานใด ๆ การจัดบริการส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการนวดเป็นหลัก และการจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ยาแผนโบราณต่าง ๆ โดยการนวดมีการนวดทั้งในและนอกสถานที่ตามที่ผู้ให้บริการต้องการ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันวิสาหกิจชมรมนวดแผนไทยหนองป่าครั่ง ยังไม่มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และยังไม่มีการสร้างเครือข่ายที่เป็นทางการ มีเพียงการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการด้านต่าง ๆ กับสังคมชุมชน ผลการวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อยกระดับเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมในอนาคตนั้นต้องอาศัยระยะเวลาอีกหลายปี เพราะต้องสร้างวิสาหกิจชมรมเพื่อสังคมในอนาคตนั้นต้องอาศัยระยะเวลาอีกหลายปี เพราะต้องสร้างวิสาหกิจชมรมให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นกว่านี้ ทั้งการบริหารจัดการ การจัดบริการ การประชาสัมพันธ์ และการพัฒนาด้านบุคคล พัฒนาอาคารสถานที่ พัฒนาระบบบริการ และพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่อย่างไรก็ตามในขั้นต้นวิสาหกิจชมรมนวดแผนไทย ควรมีแนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร คือหมอนวดให้มีความชำนาญด้านการนวดอย่างถูกต้องถูกวิธี มีความสะอาด กิริยามารยาทที่ดี ประพฤติตัวเหมาะสม มีแรงจูงใจในการทำงาน รักงาน รักอาชีพของตนเอง มีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าที่มาใช้บริการ วิสาหกิจชมรมนวดแผนไทยควรมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการสื่อสารมาประยุกต์ใช้กับการบริการจัดการ การจตัดบริการและการประชาสัมพันธ์ควรมีการเพิ่มทุน เพิ่มจำนวนสมาชิกที่เป็นผู้ใช้บริการให้หลากหลาย และมีจำนวนเพิ่มขึ้น รวมไปถึงพัฒนาการใช้ภาษาต่างประเทศที่จำเป็น เช่น ภาษาอังกฤษและภาษาจีน ควรมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้เป็นเข็มทิศในการบริหารจัดการ และการพัฒนาวิสาหกิจชมรมนวดแผนไทยให้ก้าวสู่วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1650 |
Appears in Collections: | School of Administrative Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6305405011.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.