Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/163
Title: | LIME VALUE CHAIN MANAGEMENT IN JAEHOM DISTRICT, LAMPANG PROVINCE การจัดการห่วงโซ่คุณค่าของมะนาว ในพื้นที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง |
Authors: | Jariya Wangsao จริยา วังเสาร์ Preeda Srinaruewan ปรีดา ศรีนฤวรรณ Maejo University. Business Administration |
Keywords: | การจัดการ ห่วงโซ่คุณค่า มะนาว management value chain lime |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | This study aimed to investigate lime value chain management and problems encountered in Jaehom district, Lampang province. Interview was conducted with 10 farmers growing lime and obtained data were analyzed on the basis of lime value chain.
Results of the study revealed that activities of lime value chain management comprised 5 main activities: 1) incoming logistics, 2) production steps, 3) outward logistics, 4) marketing and sales, 5) after sale service and 4 supporting activities: 1) infrastructure, 2) human resource management, 3) technological development, and 4) procurement. The following were problems encountered: 1) the informants lacked of the production body of knowledge; 2) the informants did not have negotiation power; 3) the informants did not know the actual cost because they did not make a record about incomes and expenses; 4) the informants did not form a group for raw material procurement; 5) lime was over supply and cheap during the rainy season.
According to results of the study, lime farmers should form a group for negotiation power when selling limes to the middleman and procurement of inexpensive raw materials. They should make a record of all production activities as well as incomes and expenses. In addition, they should bring limes to be processed for value added during the rainy season. การศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดการห่วงโซ่คุณค่าของมะนาว ในพื้นที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการห่วงโซ่คุณค่าของมะนาว ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการจัดการห่วงโซ่คุณค่าของมะนาว ในพื้นที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ปลูกมะนาว จำนวน 10 ราย เพื่อนำข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่พบในกิจกรรมหลัก คือ เกษตรกรไม่มีการรวมกลุ่มกันไปซื้อวัตถุดิบทำให้ได้ราคาวัตถุดิบที่สูง มะนาวเป็นโรคเพลี้ยไฟ โรคขี้กลาก โรคแคงเกอร์ และหนอนเจาะต้นทำให้ได้ผลผลิตไม่ตรงตามความต้องการของตลาด ไม่มีการรวมกลุ่ม หรือรวบรวมสินค้าไปขายทำให้ไม่มีอำนาจต่อรอง ในช่วงฤดูฝนมะนาวล้นตลาดทำให้ขายไม่ออก และราคาถูก ปัญหาที่พบในกิจกรรมสนับสนุน คือ ไม่มีการบันทึกรายรับรายจ่ายทำให้ไม่ทราบรายรับรายจ่ายที่แท้จริง เกษตรกรขาดองค์ความรู้ในการผลิต ไม่มีพื้นฐานในการใช้สื่อ Social Media ในการติดต่อซื้อ-ขาย และไม่มีการร่วมกลุ่มในการจัดซื้อวัตถุดิบทำให้วัตถุดิบที่ซื้อมามีราคาแพง จากประเด็นปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้เสนอรูปแบบการจัดการห่วงโซ่คุณค่าของมะนาว ในพื้นที่อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ดังนี้ กิจกรรมหลัก เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันไปซื้อวัตถุดิบเพื่อให้ได้วัตถุดิบในราคาที่ถูกลง ควรมีหน่วยงานหรือภาครัฐที่มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกมะนาว การดูแลรักษามะนาว มาสอนให้เกษตรกรให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้นแล้วนำไปปรับใช้กับความรู้ที่ตนเองมีอยู่ เกษตรกรมีการรวมกลุ่มในการขายมะนาวเพื่อสามารถต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลางเพื่อให้ได้ราคาที่ดีกว่าเดิม นำมะนาวมาแปรรูป เช่น มะนาวดอง มะนาวผง น้ำยาล้างจาน ผลิตภัณฑ์รักษาสิว หรือคั้นเป็นน้ำมะนาวขาย เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับมะนาวและเพื่อแก้ไขปัญหามะนาวล้นตลาด กิจกรรมสนับสนุน เกษตรกรมีการจดบันทึกรายรับรายจ่ายเพื่อให้ทราบรายรับรายจ่ายแท้จริง ควรมีหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความรู้ในการใช้สื่อ Social Media เกษตรกรมีการรวมกลุ่มในการซื้อสินค้าวัตถุดิบเพื่อที่จะได้ในราคาที่ถูกมากกว่าไปซื้อด้วยตนเอง |
Description: | Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration)) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/163 |
Appears in Collections: | Business Administration |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6006401033.pdf | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.