Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1620
Title: UTILIZATION OF UNROASTED BLACK SESAME SEED (Sesamum indicum L.) CAKE FOR LAYING HEN DIET ORDER GEOSOCIAL BASED DEVELOPMENT CONTEXT OF LAYER HEN FARMER GROUP IN BAN PONG, HANG DONG, CHIANG MAI, THAILAND
การใช้ประโยชน์กากงาดำเป็นส่วนผสมอาหารไก่ไข่ ตามการพัฒนา แบบภูมิสังคมของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Nucharin Pimpa
นุชจรินทร์ ปิมปา
Phanit Nakayan
ผานิตย์ นาขยัน
Maejo University
Phanit Nakayan
ผานิตย์ นาขยัน
phanit@mju.ac.th
phanit@mju.ac.th
Keywords: การพัฒนาแบบภูมิสังคม
กากงาดำหมัก
สูตรอาหารไก่ไข่
คุณภาพไข่ไก่
geosocial based development
black sesame seed cake
laying hen diet
egg quality
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The Objectives of this study were to: 1) investigate fermented black sesame seed cake mixed feed formula suitable for laying hens and analyze nutritional value of fermented black sesame seed cake; 2) Effects of fermented black sesame seed cake on egg production and egg quality in laboratory and farm levels and 3) assess the satisfaction of farmers at the farm level on egg production. Findings showed that moisture of the fermented black sesame seed cake was 4.87 percent.  The values of its protein, fat, fiber, and ash were 31.89, 28.73, 11.61 and 8.14 percent (dry ma matter), respectively.  Also, it was found that the fermented black sesame seed cake contained calcium (1.77%) and phosphorus (1.14%). The metabolizable energy of fermented black sesame cake was at 4,281.81 kcal/kg.  Regarding 4 formulae of fermented black sesame cake mixed feed suitable for laying hen (0.00, 2.50, 5.00 and 10.00%, respectively), that of 2.50 percent had an effect on the egg yield and quality which was equivalent to the normal formula of both the laboratory and the form levels of the 3 farmers. The egg production was at 93.57-98.21 percent which was good for laying hen farmers. This helped reduce by product from sesame seed oil extraction. The three farmers were satisfied with use of the fermented black sesame seed cake mixed feed instead of soybean meal and they wanted it as an ingredient for next time.
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสูตรอาหารผสมกากงาดำหมักที่เหมาะต่อการเลี้ยงไก่ไข่และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของกากงาดำหมัก 2) เพื่อศึกษาผลของกากงาดำหมักและคุณภาพของผลผลิตไข่ในระดับห้องทดลองและระดับฟาร์มเกษตรกร 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรในระดับฟาร์มต่อผลผลิตไข่ ผลการศึกษาพบว่าคุณค่าทางโภชนะของกากงาดำหมัก มีค่าความชื้นอยู่ที่ 4.87 เปอร์เซ็นต์ มีค่าโปรตีน ไขมัน เยื่อใย และเถ้า อยู่ที่ 31.89 28.73 11.61 และ 8.14 เปอร์เซ็นต์วัตถุแห้ง ตามลำดับ และพบว่าในกากงาดำหมักมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสอยู่ที่ 1.77 และ 1.14 เปอร์เซ็นต์วัตถุแห้ง พลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ของกากงาดำหมักอยู่ที่ 4,281.81 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม และศึกษาสูตรอาหารผสมกากงาดำหมักที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไก่ไข่ทั้งหมด 4 สูตร ที่อัตราส่วนการทดแทนกากงาดำหมักที่ 0.00, 2.50, 5.00 และ 10.00 เปอร์เซ็นต์ พบว่าการใช้กากงาดำหมักที่ระดับ 2.50 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร มีผลผลิตและคุณภาพไข่ไก่เทียบเท่าสูตรปกติทั้งในระดับโรงเรือนและในระดับฟาร์มของเกษตรกร 3 ราย โดยผลผลิตไข่อยู่ที่ 93.57 - 98.21 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ และยังเป็นการช่วยลดผลพลอยได้จากการสกัดน้ำงา เกษตรกรทั้ง 3 ราย มีความพึงพอใจในการใช้กากงาดำหมักแทนกากถั่วเหลือง และมีความต้องการใช้สูตรอาหารที่มีกากงาดำหมักเป็นส่วนประกอบต่อไป
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1620
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6301417004.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.