Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1547
Title: | การใช้พันธุ์ข้าวจากประเทศมาเลเซียในการทำนาปรังของเกษตรกรตามทรรศนะของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในจังหวัดปัตตานี |
Other Titles: | THE USE OF MALAYSIAN RICE VARIETY FOR OFF-SEASON CULTIVATION AS VIEWED BY FARMERS AND AGRICULTURAL OFFICERS IN PATTANI PROVINCE, THAILAND |
Authors: | ชัยณรงค์ กาฬมณี |
Keywords: | เศรษฐกิจ เกษตรกร |
Issue Date: | 2015 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง (1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของ เกษตรกรที่ทำนาปรังโดยใช้พันธุ์ข้าวจากประเทศมาเลเซียในจังหวัดบัตตานี (2) ระดับทรรศนะของ เกษตรกรและ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการ เ กษตร ที่มีต่อคุณสมบัติซองพันธุ์ข้าวมาเลเซีย(3 ) ความสอดคล้องในทรรศนะของ เกษตรกรและ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่มีต่อคุณสมบัติ ของพันธุ์ข้าวมาเลเซีย ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้รวบรวมจากเกษตรกร ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างจำนวน 198 คน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของจังหวัดบัตตานีทั้งหมด 24 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 222 คน แบบสอบถามได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์ ข้อมูลนั้นได้วิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ โดยเฉลี่ย 4 ปี ทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลามและมีประสบการณ์ในการเช้ารับการฝึกอบรมโดยเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี ลักษณะทางเศรษฐกิจ พบว่าเกษตรกรมีร้ายได้โดยเฉลี่ย 24,258 บาทต่อปีต่อคนโดยมีรายจ่ายในการทำนาปรัง เฉลี่ย 1, 752 บาทต่อฤดูกาลปลูกและมีกำไรจากการทำนาปรัง โดยเฉลี่ย 7,458 บาทต่อฤดูกาลปลูก มีพื้นที่ประกอบอาชีพการเกษดรโดยเฉลี่ย 8 ไร่ต่อครอบครัว สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังของเกษตรกร เฉลี่ยเท่ากับ 6 ไร่ โดยมีจำนวนแรงงานโดยเฉลี่ย 3 คนต่อครอบครัว ลักษณะทางลังคม พบว่าเกษตรกร เกือบครึ่งหนึ่ง เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร และส่วนมากมีการเข้าร่วมกิจกรรมเกษตรกร เกือบทุกครั้ง สำหรับการรู้จักใช้ข้าวพันธุ์มะจานูนั้นพบว่า เกษตรกรเกือบทั้งหมดระบุว่าได้รู้จักการใช้ข้าวพันธุ์มะจานูจากเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นเกษตรกรบางส่วนนิยมออกไปรับจ้างที่ประเทศมาเลเซียลักษณะพฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร และความเกี่ยวข้องการใช้พันธุ์ข้าวกับประเพณี วัฒนธรรม พบว่าเกษตรกรมีการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเ กษตรโดยเฉลี่ย 2 ครั้ง ต่อเดือน ซึ่ง เป็นการที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเ กษตรไขเยี่ยมเกษตรกรที่บ้านหรือไร่นา แต่ก็มีเกษตรกรบางส่วนรายงานว่าได้เดินทางไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอสำหรับความเกี่ยวข้องของข้าวพันธุ์มะจานูกับประ เพณีวัฒนธรรมของ เ กษตรกรนั้นพบว่ามีเกษตรกร เพียงส่วนน้อยได้ระบูว่าข้าวมะจานูมีความ เกี่ยวข้องกับพิธีทำบุญทางศาสนาและการทำบุญกับโต๊ะ-อิหม่าม หรือผู้นำทางศาสนา ทรรศนะของ เ กษตรกรและ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่มีต่อคุณสมบัติของข้าวพันธุ์มะจานูพบว่าผู้ให้ข้อมูลทั้ง 2 กลุ่มมีทรรศนะในระดับที่ดีต่อคุณสมบัติของพันธุ์ข้าว 6 คุณสมบัติ คือคุณด้านผลผลิต ด้านรสชาติ ด้านความไม่มีผลกระทบต่อระบบการชลประทาน ด้านความต้านทานโรคแมลงศัตรูด้านความเหมาะสมกับสภานพื้นที่ ต้านการดูแลรักษา และมีทรรศนะในระดับที่ยังตัดสินใจไม่ได้ใน 2 คุณสมบัติคือ คุณสมบัติด้านตลาด ด้านราคา ในด้านความสอดคล้องเกี่ยวกับทรรศนะของ เกษตรกรและ เจ้าหน้าที่ส่ง เสริมการเกษตรนั้น พบว่าผู้ให้ข้อมูลทั้ง 2 กลุ่ม มีทรรศนะที่สอดคล้องกันเ พียงคุณสมบัติเดียว คือ คุณสมบัติด้านความด้านทาน โรคและแมลงศัตรูสำหรับทรรศนะที่ไม่สอดคล้องกันของผู้ให้ข้อมูลทั้ง 2 กลุ่ม คือคุณสมบัติด้านผลผลิต ด้านรสชาติด้านความไม่มีผลกระทขต่อระบบการชลประทาน ด้านความเหมาะสมกับสภานพื้นที่ ด้านตลาดด้านราคา และต้านการดูแลรักษา โดยเ กษตรกรมีทรรศนะต่อคุณสมบัติของข้ าวพันธุ์มะจานูทั้ง 7 คุณสมบัติดังกล่าวในระดับที่สูงกว่าเจ้าหน้าที่ส่ง เสริมการเกษตร |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1547 |
Appears in Collections: |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chainarong-kalamani.pdf | 83.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.