Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/152
Title: | SERVICE PRICE MODELING FOR MASTER BUSINESS SERVICE OF MAEJO UNIVERSITY BUSINESS INCUBATOR BY USING ACTIVITY-BASED COSTING METHOD การสร้างต้นแบบการกำหนดราคาการให้บริการของสถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้วิธีต้นทุนฐานกิจกรรม |
Authors: | Jankrajang Pintachua จันทร์กระจ่าง ปินตาเชื้อ Chaiyot Sumritsakun ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล Maejo University. Business Administration |
Keywords: | การสร้างต้นแบบ การกำหนดราคาการให้บริการ ต้นทุนฐานกิจกรรม establishing a prototype service price activity-based costing |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | The objective of this research study was to study the costs of the Incubator Institute of Maejo University using activity-based costs to establish a prototype for setting a service price. The data for the study were collected from financial documents in the fiscal years 2017-2018 and from interviews of relevant parties and executives. The Activity-Based Cost Theory was used as a tool to analyze the structure of an organization. After the data were collected, the researcher conducted the process of establishing a prototype for setting a service price for the Incubator Institute in 4 stages as follows: 1) Group activities and classify the costs for each activity; 2) Determine the cost drivers for each activity; 3) Gather information about resources used in activities to determine the level of performing working hours; and 4) Calculate activity costs based on work duration, and then use them to establish a prototype for setting a service price for the institute by using the information derived from the activity-based costs.
It was found that each activity had the following costs: 1) The unit cost for a project promotion was 517.44 baht; 2) The unit cost for a recruitment of project participants was 973.72 baht; 3) The unit cost for a selection of project participants was 1,495.91 baht; 4) The unit cost for planning and creating a business incubation plan was 896.79 baht; 5) The unit cost for incubation according to a business incubation plan was 19,125.09 baht; 6) The unit cost for training was 6,567.79 baht; 7) The unit cost for educating competitors before a competition was 856.03 baht; 8) The unit cost for traveling to a meeting/seminar/competition was 3,621.66 baht; 9) The unit cost for coordination was 2,157.88 baht; 10) The unit cost for a design service was 1,023.51 baht; 11) The unit cost for providing a service and giving advice was 544.63 baht; 12) The unit cost for a site visit was 4,094.06 baht; 13) The unit cost for modeling the products was 125.10 baht; 14) The unit cost for intellectual property management was 5,812.44 baht; 15) The unit cost for preparing a project proposal was 3,346.45 baht; 16) The unit cost for importing/updating a researcher database system was 12.60 baht; and 17) The unit cost for reporting of an operation was 343.94 baht.
Then, a formula was created from the direct costs based on the regulations of the institute and another formula was created from the indirect costs by multiplying the unit cost of each activity by the cost driver. To determine the price of services, both directly and indirectly, once the activity cost calculation formula was obtained, it was used to establish a prototype for setting a service price for the Incubator Institute. However, to make use of the prototype formula, a user should consider the direct and indirect costs of each project and substitute them into the formula. A number of participants and desired profit can also be used in the formula. การสร้างต้นแบบการกำหนดราคาการให้บริการของสถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้วิธีต้นทุนฐานกิจกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาต้นทุนของสถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ โดยใช้วิธีต้นทุนฐานกิจกรรม เพื่อสร้างต้นแบบการกำหนดราคาการให้บริการของสถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2561 จากเอกสารทางการเงิน การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้บริหาร การวิเคราะห์โครงสร้างองค์กร ใช้ทฤษฎีระบบต้นทุนฐานกิจกรรม เป็นเครื่องมือในการดำเนินการศึกษา ภายหลังจากการรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาดำเนินการคำนวณต้นทุนกิจกรรมโดย มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) แบ่งกลุ่มกิจกรรมและจำแนกต้นทุนแต่ละกิจกรรม 2) กำหนดตัวผลักดันต้นทุนของแต่ละกิจกรรม 3) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรที่ใช้ในการทำกิจกรรมเพื่อกำหนดระดับเวลาทำงานที่ปฏิบัติ และ 4) คำนวณต้นทุนกิจกรรมตามระยะเวลาที่ทำงาน แล้วจึงนำมาสร้างต้นแบบการกำหนดราคาการให้บริการของสถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการคำนวณต้นทุนฐานกิจกรรม ผลการวิจัย พบว่า แต่ละกิจกรรมมีต้นทุนดังนี้ 1) การประชาสัมพันธ์โครงการ ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 517.44 บาท 2) การรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 973.72 บาท 3) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 1,495.91 บาท 4) การวางแผนและจัดทำแผนการบ่มเพาะธุรกิจ ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 896.79 บาท 5) การบ่มเพาะตามแผนบ่มเพาะธุรกิจ ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 19,125.09 บาท 6) การจัดอบรม ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 6,567.79 บาท 7) การให้ความรู้ก่อนการแข่งขัน ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 856.03 บาท 8) การเดินทางไปประชุม/สัมมนา/แข่งขัน ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 3,621.66 บาท 9) การติดต่อประสานงาน ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 2,157.88 บาท 10) การให้บริการการออกแบบ ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 1,023.51 บาท 11) การให้บริการและดำเนินการให้คำปรึกษา ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 544.63 บาท 12) การเยี่ยมชม ดูงาน ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 4,094.06 บาท 13) การทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 125.10 บาท 14) การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 5,812.44 บาท 15) การจัดทำข้อเสนอโครงการ ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 3,346.45 บาท 16) การนำเข้า/ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลนักวิจัย ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 12.60 บาท และ 17) การรายงานผลการดำเนินงาน ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 343.94 บาท เมื่อได้ต้นทุนแต่ละกิจกรรมแล้ว จากนั้นสร้างสูตร จากต้นทุนทางตรง โดยอ้างอิงตามระเบียบของสถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ และสร้างสูตรจากต้นทุนทางอ้อม โดยนำตัวเลขจากต้นทุนแต่ละกิจกรรม มาคูณด้วย ตัวผลักดัน เมื่อได้สูตรการคำนวณต้นทุนกิจกรรม เพื่อกำหนดราคาการให้บริการ ทั้งทางตรงและทางอ้อมแล้ว จึงนำมาสร้างต้นแบบการกำหนดราคาการให้บริการของสถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ โดยดูว่าโครงการแต่ละโครงการ มีค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อมอะไรบ้าง แล้วนำมาแทนค่าในสูตร โดยสามารถใส่จำนวนคนเข้าร่วม และกำไรที่ต้องการได้ |
Description: | Master of Business Administration (Master of Business Administration (Business Administration)) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ)) |
URI: | http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/152 |
Appears in Collections: | Business Administration |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6006401005.pdf | 3.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.