Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1451
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
Other Titles: PARTICIPATION OF PEOPLE IN BENEFITS' WATER RE SOURCES AT NAM KIEN WATERSHED, PU PIANG DISTRICT, NAN PROVINCE
Authors: พันธ์ศักดิ์, สายเกียรติวงศ์
Keywords: การมีส่วนร่วม
การจัดการน้ำ
ลุ่มน้ำน่าน
Participation
Water Management
Nan watershed
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์น้ำ ปัจจัยที่ความสัมพันธ์ ต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการลุ่มน้ำน้ำเกี๋ยน และการศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อแสนอแนะ ในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการลุ่มน้ำน้ำเกี่ยน ตำบลฝายแก้วและตำบลน้ำเกี่ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามสภาพภูมิประเทศและความแตกต่างของรูปแบบการใช้น้ำใช้วิธีการเก็บแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มต้นน้ำ 95 ตัวอย่าง กลุ่มกลางน้ำ 20 ตัวอย่าง และกลุ่มปลายน้ำ 230 ตัวอย่าง รวมทั้งหมด 295 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับขั้นประถมศึกษา มีอายุเฉลี่ย 50 ปีขึ้นไป ประกอบอาชีพหลักคือ การเกษตร แต่ละกลุ่มมีรายได้เฉสี่ยระหว่าง 33,945.65 - 71,700.00 บาท/ปี แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ที่ กู้ยืมมาลงทุนในภาคการเกษตร คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รูปแบบการใช้ประโยชน์น้ำด้านการเกษตร คือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ส่วนด้านการอุปโภคและบริโภคส่วนใหญ่ใช้จากประปาหมู่บ้านและการซื้อน้ำดื่ม ด้านการมีส่วนร่วมทรัพยากรน้ำพบอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมการจัดการลุ่มน้ำเกี่ยน จำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ ปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการ การมีบทบาท หน้าที่และตำแหน่งสำคัญในองค์กรต่าง ๆ รายได้ อาชีพหลัก และปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม แสดงว่าอาชีพเกษตรกรต้องพึ่งพาทรัพยากรน้ำ สำหรับการผลิต ซึ่งเกษตรกรมีรายได้หลักจากการเกษตร อย่างไรก็ตาม เมื่อประสบปัญหาปริมาณน้ำ ที่ไม่เพียงพอ ทำให้เกษตรกรต้องมีการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ ด้วยการรวมกลุ่มในแต่ละชุมชน ส่งผลให้โฐรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ด้วยการสร้างกฎระเบียบ อนุรักษ์ ป้องกันและพัฒนาแหลง น้ำพื้นที่ การดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวควรได้วับการจัดตั้งกลุ่มภาคีเครือข่ายทั้งสามกลุ่มผู้ใช้น้ำ อย่างเป็นรูปธรรม การได้รับสนับสนุน บำรุง รักษาแหล่งน้ำอย่างสม่ำเสมอ และการใช้ทรัพยากรน้ำตามมาตราการอนุรักษ์ดินและน้ำ
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1451
Appears in Collections:SCI-Dissertation

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pansak_saikiatwong.pdf49.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.