Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1381
Title: | การบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกร ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | The management of Pah pa agriculture Sansai District, Chiang Mai |
Authors: | กัญญ์พัสวี, กล่อมธงเจริญ |
Keywords: | การบริหารจัดการ กลุ่มเกษตรกร เกษตรนิเวศ สันทรายโมเดล |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการ กลุ่มเกษตกรตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการ บริหารจัดการกลุ่มเกษตกรตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อเสนอแนวทางการ บริหารจัดการกลุ่มเกษตกรตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่ม เกษตรนิเวศสันทราย (AgriEco) และเครือข่ายเกษตรกร ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัด เชียงใหม่ จำนวน 30 ราย เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประกอบการสัมภาษณ์ เชิงลึก การสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลของ การศึกษาโดยใช้วิธีการพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบความถูกต้องเชิงคุณภาพในแต่ ละด้าน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการกลุ่ม การรวมกลุ่มเกิดจากสมาชิกกลุ่มมี แนวคิดและอุดมการณ์เดียวกันจึงได้มารวมกลุ่มกัน และจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนร่วมกัน มีการ ขึ้นมาเพื่อวางแผนใน แต่งตั้งคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรนิเวศสันทราย (AgriEco) ขึ้นมาเพื่ การทำงานร่วมกัน มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามความรู้ความสามารถของสมาชิกแต่ละคนการบริหารจัดการกลุ่ม ได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการ การวางแผน โครงสร้างกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม การนำ (ผู้นำกลุ่ม, การบริหารความขัดแย้ง, การทำงานร่วมกันเป็นทีม, การติดต่อสื่อสาร) การ ติดตามและประเมินผล โดยการบริหารจัดการกลุ่ม มีการวางแผนการดำเนินงานในด้านต่างๆ มี คณะกรรมการกลุ่มที่ดำเนินการบริหารจัดการกลุ่ม ดำเนินการแก้ไขปัญหาของกลุ่ม อำนวยความ สะดวก การให้ความรู้ การกำกับติดตาม การรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก มีการแบ่งปัน ผลประโยชน์ให้แก่สมาชิก มีการรายงานผลการดำเนินงาน จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย รายงานงบ ทางการเงินทุกครั้งที่มีการประชุมประจำเดือน และมีกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางที่กำหนดไว้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวิสัยทัศน์ และ วัตถุประสงค์ของกลุ่มที่ได้กำหนดไว้ 2 ปัญหาและอุปสรรค ของกลุ่มคือปัญหาในเรื่องการบริหาร จัดการที่ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ปัญหาด้านการบริหารจัดการคน ปัญหาด้าน การตลาด เนื่องจากกลุ่มมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย การสร้างตราสินค้า และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ปัญหาด้านการผลิต ยังขาดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมในการผลิต ปัญหาด้านการเงิน ยังขาดสภาพคล่องทางการเงินต้องมีการระดมเงินทุนจากการขายหุ้น และมีรายได้จากการจำหน่าย สินค้าเข้ามาน้อย 3) แนวทางการบริหารจัดการกลุ่ม การบริหารจัดการกลุ่มจะต้องมีการพัฒนาการ บริหารจัดการกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงบทบาทของผู้นำกลุ่ม หรือ คณะกรรมการกลุ่ม การบริหารมีความเสียสละและอดทน การบริหารงานด้วยความโปร่งใส มี คุณธรรม มีกฎระเบียบข้อบังคับกลุ่ม หรือวัฒนธรรมกลุ่มที่มีความชัดเจน มีการประชุมสมาชิกอย่าง สม่ำเสมอ เพื่อเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม ในการวางแผนการดำเนินงานกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่องให้ทันสมัยเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเน้นศักยภาพของกลุ่ม ชุมชน ทรัพยากร ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น บูรณาการการพัฒนาเกษตรเชิงนิเวศ |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1381 |
Appears in Collections: | RAE-Technical Report |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kanphasawee_klomthongcharoen.pdf | 28.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.