Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1375
Title: คนจีนในเมืองเชียงใหม่กับการสร้างอัตลักษณ์ผ่านหนังสืองานศพ ตั้งแต่พ.ศ.2500 ถึง พ.ศ. 2557
Other Titles: Chinese People in Chiang Mai with Identity construction through cremation books from 1957 to 2014
Authors: กิตยุตน์, กิตติธรกุล
Keywords: การสร้างอัตลักษณ์
ลอดลายมังกร
การสร้างอัตลักษณ์
หนังสืองานศพ
Issue Date: 2016
Publisher: Maejo University
Abstract: งานวิจัยเรื่อง “คนจีน ในเมืองเชียงใหม่กับการสร้างอัตลักษณ์ผ่านหนังสืองานศพตั้งแต่ พ.ศ. 2500 - 2557” มุ่งอธิบายว่าภายใต้บริบทในช่วงพ.ศ.2500-2557 คนจีนเชียงใหม่สร้างอัตลักษณ์ของตนผ่านหนังสืองานศพอย่างไร ทั้งนี้โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นข้อมูลจาก หนังสืองานศพ รวมทั้งเอกสารต่างๆ นำมาตีความและวิเคราะห์โดยอาศัยวิธีคิดทางประวัติศาสตร์ ผลการศีกษาพบว่า ในช่วงพ.ศ. 2500 - พ.ศ.2535 คนจีนเชียงใหม่ไม่นิยมเผยความเป็นจีน ผ่านหนังสืองานศพ เพราะความเป็นจีนยังคงเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาของสังคมไทย ซึ่งเป็นผลมา จากการนิยามโดยชนชั้นสูงและรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ดังนั้นอัตลักษณ์ จีนที่พบในหนังสืองานศพของคนจีนเชียงใหม่ในช่วงเวลานี้คือ การกล่าวถึงชื่อบรรพบุรุษซึ่งเป็น ชื่อจีนและการใช้ แซ่ ส่วนอื่นๆของหนังสืองานศพก็แทบไม่ปรากฏความเป็นจีน แต่ทว่าหนังสือ งานศพของคนจีนเชียงใหม่ในยุคนี้กลับเน้นหนักในเรื่องของความเป็นไทยและความเป็นคนเมือง แทน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความรักต่อสถาบันหลักของชาติไทย การบริจาคเพื่อ สาธารณประโยชน์ และการส่งเสริมวัฒนธรรมล้านนา ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าคนจีนเชียงใหม่ จําเป็นต้องมีพื้นที่ทางสังคม เพื่อให้ได้การยอมรับ และส่งผลต่อความราบรื่นในการประกอบธุรกิจ หรือแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันก็ตามต่อมาในช่วง พ.ศ.2536 - 2557 คนจีนเชียงใหม่นิยมเผยความเป็นจีนผ่านหนังสืองานศพ มากขึ้น เพราะหลังปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมาความเป็นจีน ได้รับการยอมรับในสังคมไทยมากขึ้น เนื่องจากคนจีนในเมืองไทยประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ จนก้าวขึ้นมาเป็นชนชั้นนำในระบบราชการและชนชั้นนำทางการเมือง ประกอบกับการฉายละครลอดลายมังกรที่ให้ภาพด้านบวกกับคนจีนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในละครไทย คนจีน เชียงใหม่จึงเผยความเป็นจีนในหนังสืองานศพมากขึ้น โดยอัตลักษณ์จีนที่ปรากฏในหนังสืองานศพ คือ การเน้นประวัติของบรรพบุรุษที่เป็นคนจีนละเอียดมากขึ้น การใช้อักษรจีนภายในเล่ม การ เน้นอุปนิสัยเฉพาะของคนจีน การคงไว้ซึ่งความเป็นไทยและความเป็นคนเมือง รวมทั้งการใช้ รูปภาพประเพณีจีนมาประกอบภายในเล่ม ดังนั้นการเผยความเป็นจีนผ่านหนังสืองานศพใน ช่วงเวลานี้ ย่อมทำให้สถานะทางสังคมของคนจีนเชียงใหม่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งอาจใช้ต่อยอดในการดำเนินธุรกิจ การเล่นการเมือง หรือจรรโลงเครือข่ายคนจีนเชียงใหม่ด้วยกันเพื่อ ความอุ่นใจในการดำเนินชีวิต
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1375
Appears in Collections:RAE-Technical Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kityut_kittithornsakul.pdf29.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.