Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1308
Title: | การสร้างมูลค่าและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลอดภัยของ ชุมชนตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | The Value Creation and Distribution Channels of Papai Safe Products, Sansai District, Chaing Mai |
Authors: | ปรีดา, ศรีนฤวรรณ |
Keywords: | การสร้างมูลค่า ช่องทางการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ตำบลป่าไผ่ Value Creation Distribution Channels Papai Safe Products |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Chiangmai: Maejo University |
Abstract: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม “Agri Eco” และกำหนดแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มและกำหนดช่องทางการจัด จำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลอดภัยของชุกลุ่ม “Agri Eco” ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การ ดำนเนินวิจัยที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยการร่วมประชุมกลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ เนื้อหา (Content Analysis) ทางกลุ่มเริ่มมีการรวมตัวกันภายใต้กลุ่มที่ชื่อว่า Agri-Eco หรือ เกษตรนิเวศสันทราย ที่มี แนวคิดหลักของกลุ่มคือ “เคารพธรรมชาติ ดินดี น้ำดี ชีวิตดี” และอยู่บนฐานของแนวความคิดที่ว่า “การ พัฒนาวิถีชีวิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความสมดุล บูรณาการการพัฒนาเกษตรเชิงนิเวศ ด้วยนวัตกรรม บนวิถีชีวิตคนสันทราย” จากแนวคิดและฐานความคิดดังกล่าว ทางกลุ่มต้องมีการระดมความคิดเพื่อหา ข้อสรุปแนวทางนโยบายของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับแนวคิดดังกล่าว โดย กําหนดเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าร่วมโครงการของกลุ่มจะต้องมีเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์สอดคล้อง กับแนวคิดและฐานแนวคิดดังกล่าว โดยผลิตภัณฑ์ทุกตัวควรมี นวัตกรรม เป็นตัวหลักในการสร้าง มูลค่าเพิ่ม ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนสันทราย ผลิตภัณฑ์นั้นต้องสร้างสมดุลและบูรณาการเกษตรเชิงนิเวศทั้งระบบห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ โดยการ นำเทคโนโลยีสมัยมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเพื่อให้เกิดความยั่งยืน สำหรับรูปแบบช่องทางการจัดจำหน่าย ทางกลุ่มต้องใช้ประโยชน์จากช่องทางการจัดจำหน่าย ของกลุ่มสมาชิกเดิมให้เป็นประโยชน์ และช่องทางการจัดจำหน่ายที่เลือกนั้นต้องเป็นการจัดจำหน่ายใน นามของกลุ่ม “Agri-Eco” เพื่อที่จะสามารถสร้างอำนาจต่อรองกับคนกลางทางการตลาดและ กลุ่มเป้าหมาย นอกจากนั้นควรคำนึงถึงต้นทุนการกระจายสินค้าให้เกิดต้นทุนต่ำสุดและยังคงทำให้คน กลางและผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจโดยวิธีการดึงคนกลางและผู้บริโภคเข้าร่วมเครือข่ายในรูปแบบ ของสมาชิกกลุ่ม |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1308 |
Appears in Collections: | RAE-Technical Report |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
preeda_srinaruwan.pdf | 31.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.