Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1287
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยการผลิตและต้นทุน - ผลตอบแทนของการผลิตเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือสายพันธุ์ MG2 ในแต่ละภูมิสังคม ระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดปราจีนบุรี |
Other Titles: | Comparison of Production Factors and Cost - Benefit of MG2 Lingzhi Mushroom (GanodermaLucidum (Fr.) Karst.) Production and Spores In Each Geo-social Context to Chiangmai, Khonkaen, and Prachinburi Provinces |
Authors: | อมรา, คำแหง |
Keywords: | ปัจจัยการผลิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้ -- วิทยานิพนธ์ ต้นทุน การส่งเสริมการเกษตร -- ไทย -- เชียงใหม่ ผลตอบแทน เห็ดหลินจือ |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Chiangmai: Maejo University |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทการผลิตเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือ สายพันธุ์ MG, ในแต่ละภูมิสังคม ระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดปราจีนบุรี ตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม และเปรียบเทียบปัจจัยการผลิตและต้นทุน-ผลตอบแทนของ การผลิตเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการผลิต โดยใช้แบบบันทึก ข้อมูล 1) ปัจจัยการผลิต ได้แก่ สภาพแวดล้อม (อุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์) ค่า pH ของน้ำ การบริหารจัดการตาม GAP และเทคนิคในกระบวนการผลิต 2) ต้นทุนการผลิต และผลตอบแทน การผลิต เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบในแต่ละพื้นที่ พบว่า อุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ รวมถึง การบริหารจัดการและเทคนิคในแต่ละพื้นที่ มีผลต่อผลผลิตที่ได้ของเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ด หลินจือสายพันธุ์ MG, คือทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นและได้คุณภาพ โดยจังหวัดเชียงใหม่ได้ผลดีกว่า จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดปราจีนบุรี ตามลำดับ เมื่อทำการเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทน การผลิตเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือสายพันธุ์ MG2 ในแต่ละภูมิสังคม ของจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดปราจีนบุรี โดยวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนต่อหน่วยการผลิต ผลการศศึกษาพบว่า ต้นทุนการผลิตเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือสายพันธุ์ MG, ของจังหวัดเชียงใหม่ ต่ากว่าจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดปราจีนบุรี คือมีต้นทุน 114,994.92 123,157.62 และ 138,095.50 บาทต่อโรงเรือนตามลำดับหรือ 23.00, 24.62 และ 27.61 บาท ต่อก้อนตามลำดับ ผลผลิตดอกเห็ดหลินจืออบแห้งของจังหวัดเชียงใหม่สูงกว่าจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดปราจีนบุรี คือ 69.00 68.63 และ 33.46 กิโลกรัมต่อโรงเรือนตามลำดับ และผลผลิต สปอร์เห็ดหลินจือ เท่ากับ 12.98 12.61 และ 8.74 กิโลกรัมต่อโรงเรือน ตามลำดับ โดยมีราคาขาย ดอกเห็ดอบแห้งหน้าฟาร์ม ราคากิโลกรัมละ 1,350 บาท สปอร์เห็ดหลินจือสายพันธุ์ MG2 เฉลี่ย 15,000 บาทต่อกิโลกรัม เท่ากันทุกจังหวัด ดังนั้นจึงมีรายได้จากการขายเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือ เท่ากับ 287,900 281,831.25 และ 176,236.88 บาทต่อโรงเรือน หรือ 57.58 56.37 และ 35.25 บาทต่อก้อน ตามลำดับ ส่งผลให้ผลตอบแทนจากการผลิตเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือ เท่ากับ 172,905.08, 158,673.64 และ 38,141.38 บาทต่อโรงเรือนตามลำดับ หรือ 34.58, 31.74 และ 7.63 บาทต่อก้อน ตามลำดับ ทั้งนี้เพราะจังหวัดปราจีนบุรีประสบปัญหาการระบาดของแมลง หวี่หัวแดงอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดเชื้อราเขียวระบาดอย่างรวดเร็วไม่สามารถควบคุมได้ จึงทำให้ผลผลิต ฤดูกาลที่ 1 เสียหายทั้งหมด ถ้าสามารถผลิตได้ 2 ฤดูกาลก็จะมีผลผลิตมากขึ้นและได้รับผลตอบแทน ในการผลิตมากขึ้น ฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้ในการผลิตเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือสายพันธุ์ MG, ในเชิงพาณิชย์ของทั้ง 3 จังหวัด |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1287 |
Appears in Collections: | SCI-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ummara_khamhaeng.pdf | 79.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.